รู้จัก Startup “Mr Yum” ผู้สร้างเมนูดิจิทัลดังไปทั่วโลก

Digimusketeers, 29 June 2022

เคยไหม? เดินเข้าร้านอาหาร อ่านชื่อเมนู แต่ก็ยังนึกไม่ออกว่าเมนูนี้มีหน้าตาอย่างไร แม้ทางร้านจะเขียนรายละเอียดไว้แล้วก็ตาม สุดท้ายเวลานั้นคุณอาจเสิร์จกูเกิ้ล หรือมองอาหารจากโต๊ะอื่นๆ แทน

เมื่อเจอปัญหาเหล่านี้ ทำให้ Kim Teo ก่อตั้งแพลตฟอร์ม Mr Yum ขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนเมนูจากตัวอักษรให้เป็นภาพ โดยใช้ QR Code มาเป็นสื่อกลาง เพียงแค่ผู้ใช้โหลดแอปฯ Mr Yum แล้วสแกน QR Code เพื่อดูภาพเมนูอาหาร

Kim Teo และผู้ก่อตั้ง

ทั้งนี้ Mr Yum เป็นแพลตฟอร์มการสั่งซื้อและชำระเงิน ที่ก่อตั้งในปี 2561 โดย Kim Teo และหุ้นส่วนอีก 3 คน ที่เริ่มต้นการนำ Pain Point ที่เจอมาต่อยอดเป็นธุรกิจที่ทำเมนูดิจิทัลให้ผับ บาร์ คาเฟ่ เพื่อแปลงข้อความให้เป็นภาพ เพียงแค่ลูกค้าสแกน QR Code ก็สั่งอาหารได้ โดยไม่ต้องสั่งกับพนักงาน 

ช่วงแรกของการเปิดตัวแอปฯ ในเมืองซิดนีย์ และเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ร้านอาหารหลายแห่งมองว่ายังไม่จำเป็น และการใช้แอปฯ จะทำให้การสื่อสารระหว่างร้านกับลูกค้าน้อยลง แต่จริงๆ แล้วจะช่วยลดเวลาในการสั่งอาหารมากกว่า เมื่อเปิดใช้งานสักพักร้านต่างๆ ในเมืองก็เข้าใจ และทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น

ก่อนเกิดการแพร่ระบาด ผู้ใช้แอปฯ ต้องเดินทางมาสแกนที่ร้านเท่านั้น ทว่า การมาเยือนของโควิดเป็นปฏิกิริยาในการเร่งปรับตัว เมื่อแบรนด์เกิดวิกฤต ผู้คนไม่สามารถใช้ชีวิตนอกบ้านได้ ทางแพลตฟอร์มจึงต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด ด้วยการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ เปิดให้ลูกค้าสั่งอาหารผ่านเว็บไซต์ได้ แม้จะต้องกักตัวอยู่ในบ้าน โดยชำระค่าอาหารผ่านการสแกน QR Code และเลือกได้ว่าจะรับเองที่บ้าน หรือใช้เดลิเวอรี

อย่างไรก็ดี Mr Yum จะหักค่าธรรมเนียมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น และในปี 2564 Mr Yumได้รับเงินลงทุนเพิ่มขึ้นอีก 11 ล้านดอลลาร์ ทำให้แบรนด์รุกตลาดต่างประเทศได้ ทั้งสหรัฐฯ และอังกฤษ แอฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์

Kim Teo ผู้ก่อตั้ง Mr Yum เผยว่า Mr Yum ถูกสร้างขึ้นมาด้วยแนวคิดง่ายๆ เพื่อให้เมนูอาหารเหล่านี้มีชีวิตชีวามากขึ้น ด้วยภาพถ่ายอาหารทุกจาน เมื่อแอปฯ มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เป้าหมายของเราในเวลานี้จึงต่อยอดเป็นการสร้าง Shopify สำหรับร้านอาหาร

ปัจจุบัน Mr Yum มีร้านค้าเข้าร่วม 1,500 มีผู้ใช้งาน 13 ล้านคน โดยในช่วง 2 ปี Mr Yum เติบโตอย่างรวดเร็ว จากพนักงาน 12 คน เพิ่มเป็น 120 กว่าคน กระจายไปยังสำนักงานในประเทศต่างๆ ทั้งลอสแองเจลิส ลอนดอน ซิดนีย์ บริสเบน และสำนักงานใหญ่ในเมลเบิร์น สำหรับในกลุ่มร้านอาหาร ก็ผลักดันให้มีการใช้แอปฯ ในสนามบิน สนามกีฬา และศูนย์การค้า

หนทางสู่ Shopify 

ไม่ใช่แค่สแกนแล้วดูภาพอาหาร Mr Yum ได้ขยายไปสู่การสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มผ่านแอปฯ และการดูแลระบบคำสั่งซื้อ การประมวลผลชำระเงิน การแยกบิล และการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า

หลังจากผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับแอปฯ แล้ว ทำให้มูลค่าการซื้อต่อครั้งเพิ่มขึ้น 40-50% (จากเดิม 20%) เลยทีเดียว ซึ่งไม่ใช่แค่รายได้ของร้านอาหารจะเพิ่มขึ้น แต่รายได้ของ Mr Yum ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมาจากค่าคอมมิชชั่นในแต่ละคำสั่งซื้อ 

สิ่งที่ทำให้ Mr Yum แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ อยู่ที่การผสมผสานการทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายราย อาทิ Impact Data และ Mailchimp ในส่วนของการชำระเงินก็มีพันธมิตรอย่าง Afterpay และพันธมิตรด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และการตลาดอย่าง Square และ MyGuestlist

 

ข้อมูลจาก

https://www.smethailandclub.com/podcast/9951.html

https://www.mryum.com/

https://techcrunch.com/2021/11/29/melbourne-based-mobile-ordering-platform-mr-yum-lands-65m-led-by-tiger-global/

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก