Super App

ทำไมใครๆ ก็อยากเป็น Super App

Digimusketeers, 3 November 2021
ช่วงนี้ใครต่อใครต่างพัฒนาแอปฯ หรือแพลตฟอร์ม เพื่อก้าวสู่เป้าหมายการเป็น Super App ซึ่งไม่ใช่แค่มีฟีเจอร์เยอะแล้วจะเป็น Super App ได้ ต้องมีองค์ประกอบหลายส่วนทีเดียว
.

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Super App คืออะไร

Super App ถูกนิยามขึ้นมาครั้งแรกในปี 2010 โดย Mike Lazaridis ผู้ก่อตั้ง BlackBerry นั่นเอง โดย Mike นิยามว่า Super App คือ แอปฯ ที่มี Ecosystem ภายในตัวเอง หรือมีฟีเจอร์มากมายภายในแอปฯ ทำให้ User สามารถเข้ามาใช้ได้ทุกวัน และเป็นส่วนของหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องใช้แอปฯ อื่น หรือสลับแอปฯ ไปมาให้ยุ่งยาก ไม่ว่าจะป็นการสั่งอาหาร ช้อปปิ้ง ส่งของ หรือเรียกรถ เป็นต้น นับเป็นข้อดีสำหรับผู้ใช้ ที่ไม่ต้องโหลดหลายแอปฯ แค่มีแอปฯ เดียวก็ตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง
.
หากพูดถึง Super App ที่ได้รับความนิยมจากฝั่งจีน ชื่อของ WeChat ต้องมาเป็นอันดับแรกอย่างแน่นอน WeChat ได้ก้าวข้ามการเป็น Super App สู่การเป็น Everyday App ไปแล้ว โดยมีบริการทั้งแชท ช้อป จ่ายค่าสาธารณูปโภค จองตั๋วหนังและตั๋วอื่นๆ เล่นเกม รวมถึงการเชื่อมต่อกับบริการจากรัฐ ทำให้ WeChat เป็นต้นแบบการพัฒนาแอปฯ ไปทั่วโลก ทำให้ในเวลานี้ใครๆ ก็อยากเป็น Super App กันทั้งนั้น เนื่องจากมีคนเข้าใช้งานอยู่ตลอดเวลา และยังสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
.
สำหรับในไทย Super App ตัวจริงต้องยกให้ LINE ที่มีบริการตอบสนองใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนได้มาก ทั้งการแชท โทร วิดีโอคอล LINE Today, LINE Wallet, LINE Shop, LINE TV, LINE Man, LINE Pay, LINE Camera, LINE BK ฯลฯ แม้จะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ก็ถือว่าเป็นแอปฯ ที่มีบริการหลากหลายที่สุดแอปฯ หนึ่ง ซึ่งขณะนี้ LINE ไม่ได้หยุดพัฒนา และพยายามปูทางให้ตนเองกลายเป็น Super App เต็มตัว
.
ปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มในไทยที่พัฒนาสู่การเป็น Super App ทั้ง “Robinhood” ที่ทุ่มเงินกว่า 5,000 ล้านบาทพัฒนา Super App ให้สำเร็จภายในปี 2023 ต่อยอดจากบริการส่งอาหาร สู่การจองโรงแรม, ซื้อสินค้า และส่งพัสดุ พร้อมขยายไปต่างจังหวัด และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมี “AirAsia Food” Super App จาก AirAsia ที่มาในรูปแบบแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ ครอบคลุมด้านการเดินทาง และไลฟ์สไตล์ โดยมีเป้าหมายใหญ่คือเป็น Super App ชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน
.

ใครๆ ก็อยากเป็น Super App เพราะ?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นว่าแพลตฟอร์มส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วย Food Delivery หากว่ากันตามจริงเวลานี้การแข่งขันในบ้านเราก็สูงพอสมควร ทั้ง LINE Man, Grab, Food Panda, Robinhood, AirAsia Food เป็นต้น ซึ่งแอปฯ ฟู้ดเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่มีความถี่ในการเข้าใช้งานสูง โดยเฉพาะช่วง Work From Home ที่คนส่วนใหญ่ต้องใช้บริการไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อวัน เมื่อแอปฯ มีผู้ใช้มากขึ้น ความถี่สูงขึ้น ถือว่าสำเร็จไปแล้วขั้นหนึ่ง เมื่อเฟสแรกประสบความสำเร็จ เฟสต่อไปจึงค่อยๆ เพิ่มบริการในด้านอื่นๆ เพื่อต่อยอดสู่ Super App ด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลาย และพึ่งพาแอปฯ ภายนอกให้น้อยที่สุด
.
เรามองว่าข้อดีของการมี Super App อยู่ที่จำนวนผู้ใช้งานและ Data ต่างๆ ลองคิดดูว่าหากคุณอยากเปิดตัวแอปฯ หรือบริการใหม่ การจะโน้มน้าวให้ผู้บริโภคดาวน์โหลดแอปฯ เป็นเรื่องยาก ทั้งในเรื่องข้อจำกัดของพื้นที่มือถือ ความยุ่งยากในการ Register หรือซิงก์ข้อมูลระหว่างแอปฯ หากคุณแอปฯ อยู่แล้ว แค่ต่อยอดจากสิ่งที่มี คุณก็ไม่ต้องลุ้นว่าพวกเขาจะยอมดาวน์โหลดไหม แถมยังได้ประโยชน์จากการใช้ Data เดิมอีกด้วย
.
หากมองในมุม consumer journey ที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการใดก็ตาม ถ้าต้องออกจากแอปฯ เพื่อไปชำระเงินในแพลตฟอร์มอื่น ระหว่างนั้นก็อยากทำให้พวกเขาเปลี่ยนใจได้ สิ่งที่คาดหวังว่าในอนาคตเราจะได้เห็นจากผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสร้าง Super App ที่พร้อมให้บริการอย่างครอบคลุม ตลอดจนผสานบริการต่างๆ ได้อย่างลงตัวภายในแอปฯ เดียว
.
ข้อมูลจาก https://agiletech.vn/super-apps-examples-review-2021/

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก