กลยุทธ์เด็ดทำ 2 อีคอมเมิร์ซ Shopee Lazada โตอย่างต่อเนื่อง

Digimusketeers, 1 December 2021

จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยขยายตัวกว่า 7 เท่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2020 ขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอยู่ที่ประมาณ 3 แสนล้านบาท หรือ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตเฉลี่ย 42% ต่อปีในระหว่างปี 2015-2019 ก่อนถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 และมาเร่งตัวขึ้นในปี 2020 จนขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 80% จากปีก่อนหน้า สวนทางกับร้านค้าปลีกทางหน้าร้านที่หดตัวลงถึง 11%

ภายใต้ข้อจำกัดของการล็อกดาวน์ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป การแข่งขันในแวดวงอุตสาหกรรมของอีคอมเมิร์ซเริ่มดุเดือดขึ้นทุกวัน ยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคใช้ช่องทางนี้ในการช้อปมากขึ้นจนตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นช่องทางการซื้อขายหลักไปแล้ว ทำให้ตลาดออนไลน์ขยายตัวหลายเท่า ไปดูกันว่าอีคอมเมิร์ซ 2 ค่ายยักษ์นี้ใช้กลยุทธ์เด็ดไหนมัดใจผู้บริโภคให้แบรนด์เติบโตไวอย่างต่อเนื่องขนาดนี้

ส่องกลยุทธ์เด็ด 2 อีคอมเมิร์ซ SHOPEE, LAZADA

อีคอมเมิร์ซ

ช้อปตอนไหนก็เจอแต่ของโดนใจ

เพราะว่าทางแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee และ Lazada ใช้เทคนิค ‘Personalization’ ที่ถือว่าเป็นเทคนิคการทำการตลาดแห่งยุคนี้เลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะทำการตลาดแพลตฟอร์มไหน ช่องทางอะไร ใช้กับเทคนิคนี้จะได้ผลตอบรับดีเสมอ ยิ่งใช้กับตลาดอีคอมเมิร์ซก็ยิ่งช่วยผลักดันให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นั่นก็คือการนำเสนอสินค้าที่เราชอบ หรือที่เราสนใจมาให้เพียบ 

ซึ่งการใช้กลยุทธ์ Personalization นั้นเริ่มตั้งแต่ที่เราสร้างบัญชี แล้วระบบจะคอยติดตามทุกกิจกรรมที่คุณทำในแอปพลิเคชันช้อปิ้ง เช่น การค้นหาสินค้า การเพิ่มสินค้าในรถเข็น และการซื้อสินค้า จากนั้นระบบจะนำข้อมูลมาประมวลผลความสนใจของผู้ใช้แล้วนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือที่ใกล้เคียงกับสิ่งเหล่านั้นมาให้เราเลือกช้อปไม่อั้น

สินค้าอะไรก็หาเจอตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ

เป็นข้อดีที่เกื้อหนุนกันระหว่างร้านค้าทั้งหลายกับทางอีคอมเมิร์ซ Shopee และ lazada เลยก็ว่าได้ เพราะการเอาร้านเข้ามาในแพลตฟอร์มนี้จะถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับร้านค้าได้อีกหนึ่งทาง ซึ่งก็จะสะดวกกับผู้ใช้งานที่ไม่ว่าอยากได้สินค้าอะไร แบบไหนแค่เข้ามาเสิชใน Shopee และ lazada ก็จะเจอแน่นอน ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ ไม่ต้องเสียเวลาไปเสิชหาร้้านเองในกูเกิลที่ก็ไม่รู้ว่าจะเจอร้านหรือไม่นั่นเอง 

โปรโมชันจัดให้ทุกเดือน

อีกกลยุทธ์เด็ดที่ผู้บริโภคต่างตั้งหน้าตั้งตารอคอยก็คือโปรโมชันลดกระหน่ำที่ทางอีคอมเมิร์ซ Shopee, Lazada มีมาให้ทุกเดือน ทุกโอกาส ทุกเทศกาล ยกตัวอย่างเช่น Shopping Day ตั้งแต่ 1.1-12.12 ที่พอถึงวันก็จะมีคอนเทนต์ฮา ๆ จากผู้บริโภคมาให้เห็นทั้งวันว่า ‘เสียกันไปเท่าไหร่กับคำว่า 11.11’ 

ซึ่งความพิเศษของกลยุทธ์นี้คือพอจัดทุกเดือน ทำให้คนรู้สึกว่ามันกลายเป็นเทศกาลที่ต้องมีทุกเดือน และต้องเข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้ผู้บริโภคเข้ามาเลือกชมสินค้า หรือทำ Wish list ไว้ก่อน นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ดั้งเดิมอย่าง FOMO (Fear of Missing Out) การกลัวที่จะพลาดโอกาสไปอย่างการให้โปรโมชัน Flash Sales แบบจำกัดจำนวน หรือนับเวลาภอยหลังที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น

เล่นเกมสะสมแต้มได้ล่วนลดไปช้อป

เป็นทริคหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้งานได้ทั้งความสนุกและประโยชน์จากการเล่นเกม เช่น Shopee จะมีมินิเกมให้ผู้ใช้งานเข้าไปเล่นเพื่อเก็บเหรียญสะสมแต้ม หรือใช้แลกเป็นส่วนลดในการช้อปสินค้าได้ และ Lazada ก็มีเกมหมุนวงล้อเพื่อลุ้นรับส่วนลด หรือได้สินค้าที่เข้าร่วมราบการฟรี 

มีทั้งโปรโชมันและมินิเกมสนุก ๆ ที่ช่วยดึงใจผู้บริโภคได้อย่างเหนียวแน่น และยังมีองค์ประกอบสำคัญอย่างการ ‘ความคาดเดาไม่ได้ของเกม’ ที่ไม่รู้ว่าวันต่อไปจะมีโปรโมชันอะไร หรือของรางวัลอะไรใหม่ ๆ ในเกม ทำให้ผู้ใช้ต้องคอยติดตามเข้าไปเช็กอยู่ตลอด เพราะกลัวพลาดอะไรดี ๆ ไปนั่นเอง

สร้างความน่าเชื่อถือให้ร้านค้าในแพลตฟอร์ม

อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้เกิดการซื้อขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee, Lazada ก็คือ Social Proof ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าอย่างระบบการรีวิว หรือการให้ Rating จากผูบริโภคเอง เป็นสิ่งที่แบรนด์หรือร้านค้าไม่สามารถทำเองได้ 

ต่างกับการไปช้อปในเว็บไซต์ทั่วไปที่ไม่เห็นคะแนน หรือรีวิวที่ไม่รู้ว่าจะจริงหรือหลอก แม้ว่าในแพลตฟอร์มคอมเมิร์ซ Shopee, Lazada จะมีการซื้อริวิวก็ตาม ในจำนวนรีวิวและเรตติ้งเยอะจะช่วยเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือของร้านค้านั้นได้อย่างแน่นอน ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ Marketplace ควรมี 

ช้อปเพลินได้ไม่มีหยุด

เชื่อว่านักช้อปหลายคนต้องเป็นอยู่แน่นอน ตั้งใจว่าจะเข้ามาซื้อของแค่ชิ้นเดียว แต่นั่งไถไปมาสุดท้ายก็กดซื้อไป 4-5 ชิ้น สิ่งเหล่านี้เกิดจากกลไกในการออกแบบของแอปฯ และกลไกการตลาดพวกนี้

 Related Product : การเอาสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงที่เราสนใจมานำเสนอให้เห็นเยอะไปหมด

 Shopping Cart : ในหน้าของ shopping Cart เอง ด้านล่างระบบก็จะลิสต์ของที่เกี่ยวข้อง จำนวนที่เพิ่มได้

 Retargeting : ถ้ากลยุทธ์ทั้ง 2 ข้างบนใช้ไม่ได้ผล ตัวแอปฯ จะทำการ Remarketing ส่งโฆษณาแบะดีลสินค้าที่น่าสนใจมาตามเราในโซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก