แนวโน้มเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้บริโภคปี 2022

Digimusketeers, 29 December 2021

เนื่องจากตอนนี้อยู่ในช่วงสิ้นปีของปี 2021 กันแล้ว อีกไม่กี่วันก็จะเข้าช่วงปีใหม่ หรือต้นปี 2022 ทางเราเลยขอเอาสาระดี ๆ มาแบ่งปันให้นักธุรกิจและผู้ประกอบการทั้งหลายกัน เป็นแนวโน้มเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ปี 2022 ที่พูดถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้นทางช่องทางออนไลน์ในปีหน้าจะประเด็นไหนที่ผู้ประกอบการควรสนใจบ้าง พฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหนบ้าง หรือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในโลกแห่งการตลาดออนไลน์ในอนาคต

เราได้เอาข้อมูลการวิจัยผ่านการใช้ Social Listening ที่สรุปภาพรวมตั้งแต่ช่วงที่เริ่มมีการแพร่ระบาดโควิด-19 พร้อมวิเคราะห์จาก Google Trend เพื่อหา Insight หรือเทรนด์ของผู้บริโภคมาให้นักการตลาดไทยได้เอาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองกัน เพราะผลกระทบจากโควิด-19 ที่เรายังคงต้องเจออยู่ รวมถึงการแพร่ระบาดของสายพันธ์ุใหม่อย่างโอไมครอนที่อาจทำให้เศรษฐกิจต้องชะงักอีกครั้ง เพื่อการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมเตรียมรับมือกับการระบาดเหล่านี้ที่ยังคงไม่หมดไป ไปดูกันว่าเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ปีหน้านักการตลาดทั้งหลายควรปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง

 4 เทรนด์ช้อปปิ้งออนไลน์ปี 2022

เทรนด์ช้อปปิ้งออนไลน์

 

ทำให้การกดซื้อของเป็นเรื่องขึ้นง่ายสิ!

อย่างที่รู้กันดีว่าในช่วงนี้หลายคนยังใช้หลักการทำงานแบบ WFH อยู่ แม้อาจจะมีบางวันที่ต้องเข้าไปทำงานออฟฟิศ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าอยู่ในช่วงที่กลับเข้ามาทำงานออฟฟิศแบบปกติ 100% ผู้บริโภคก็คุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น ตอนนี้ก็คงเรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติกันไปแล้ว เพราะความง่าย สะดวก ไม่ต้องออกไปเสี่ยงนอกบ้าน 

ซึ่งในฝั่งการนักการตลาดต่างประเทศ ได้พยายามพัฒนากลยุทธ์ช้อปปิ้งออนไลน์การแบบ Virtual try-ons shopping เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกว่าการซื้อของออนไลน์นั้นสะดวกมากกว่าเดิม หากนักการตลาดคิดกลยุทธ์ที่ทำให้การกดซื้อของนั้นง่ายขึ้นกว่าเดิมจะส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อของมากกว่าเดิมหรือไม่ ? 

คำตอบนั้นอาจจะใช่ก็ได้ เพราะด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป พวกเขาชอบความสะดวกสบายมากขึ้น มีความอดทนในการรอน้อยลง ผู้บริโภคย่อมคาดหวังให้ตลาดอีคอมเมิร์ซพัฒนาให้การช้อปปิ้งออนไลน์นั้นดีขึ้น สะดวกและปลอดภัย ซึ่งการเสพติดการช้อปปิ้งออนไลน์ แรงกระตุ้นที่ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกตื่นเต้นรอที่จะได้รับสินค้า และอยากสั่งแม้จะยังไม่รู้ว่าจะได้เมื่อไหร่ ความอ่อนไหวทางอารมณ์ทำให้นักการตลาดจูงใจลูกค้าได้ง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาขาองทางการซื้อให้มีความ User-Friendly จะช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้นแน่นอน

ระบบ Pre-Order ที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า

ร้านค้าประเภทพรีออเดอร์ก็เป็นเทรนด์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เพราะผู้บริโภคหลายคนมักถูกใจกับการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้ามากกว่าการไปเข้าคิวต่อแถวกันหน้าร้านที่ต้องไปตั้งแต่เช้าตรู่ แถมยังต้องเบียดเสียดกับคนเยอะ นั่นแปลว่าต้องรอนานและไม่ปลอดภัยกับสถานการณ์ในช่วงนี้ หรือลูกค้าบางคนที่ชอบซื้อสินค้าของต่างประเทศพี่ไทยบ้านเราไม่มีขายนั่นเอง ซึ่งการซื้อสินค้าประเภทนี้ทางแบรนด์ หรือร้านค้าก็ต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองด้วย ให้ลูกค้ารู้สึกว่าสั่งสินค้าพรีออเดอร์จากร้านนี้ได้สินค้าแน่นอน คุณภาพตรงตามหน้าปก เพื่อป้องกันฟีดแบกแรง ๆ หรือคอมเมนต์ลบ ๆ จากลูกค้าที่ทำให้แบรนด์เสียชื่อได้

เพิ่มสินค้าในรถเข็น แต่ยังไม่ซื้อ

ปัญหานี้ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซแบรนด์ไหนก็ล้วนต้องเจอกันทั้งนั้น กับลูกค้าส่วนมากที่กดเพิ่มสินค้าเข้าในตะกร้ารถเข็น แต่ก็ยังไม่ซื้อสักที ทำให้ร้านค้าหลายร้านไม่สามารถปิดการขาย และ Complete Order ได้ จนเสียโอกาสในการทำยอดขายไปจำนวนมาก

เมื่อเดือนธันวาคมปี 2020 สถาบัน Baymard เผยว่ามีตะกร้าสินค้ามากกว่า 5.60-84.27% ที่เริ่มดองสินค้าและไม่กลับมาชำระ คาดว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทาง Brandwatch ได้สรุปสาเหตุที่ลูกค้าดองสินค้าไว้ในรถเข็นอยู่ 3 ประเด็นมาให้นักการตลาดทำความเข้าใจ นั่นก็คือ

 – เซฟเงินไว้ก่อน : อยากเก็บเงินไว้ก่อน เผื่อฉุกเฉิน หรืออาจจมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางธุรกรรมการเงินร่วมด้วย

 – พรุ่งนี้ค่อยซื้อ : เรื่องผัดวันประกันพรุ่งดูเป็นเรื่องปกติ นอกจากทำให้ลืมแล้ว ยังทำให้เปลี่ยนใจได้ง่าย ๆ อีกด้วย นักการตลาดอาจจะลองเพิ่มเวลาหมดอายุในการเก็บสินค้าไว้ในรถเข็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ

 – ยังไม่อยากได้ตอนนี้ เผื่อไว้ในอนาคต : อาจเป็นสินค้าที่อยากได้ แต่ยังไม่สามารถซื้อได้ในตอนนี้ หรือเป็นสินค้าที่อาจจะซื้อในอนาคต หากเป็นแบบนี้นักการตลาดลองเพิ่มรูปแบบในการชำระเงินดูก็ได้ เช่น โปรโมชันลด หรือผ่อนได้

ความคาดหวังที่จะรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่ในวงการช้อปปิ้งออนไลน์

จากข้อมูลของ Google Trends พบว่ามีการเสิร์ชคำที่เกี่ยวกับ virtual try-on เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2020 อาจเพราะผู้บริโภคชอบสิ่งที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นมากกว่าเดิม ทำให้บริษัทต่าง ๆ คิดค้นและสำรวจเทคโนโลยีใหม่ ๆ การทำความเข้าใจว่าผู้บริโภคคาดหวังอะไรสำหรับแบรนด์ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก รวมไปถึงบริษัทอีคอมเมิร์ซที่เป็นตัวกลางสำหรับเทรนด์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่ยังไปต่อได้ไกลกว่านี้

โอกาสในนักการตลาดทั้งหลายควรหยิบเทคโนโลยี virtual try-on นั้นเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของตัวเอง พร้อมกับสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ให้พวกเขารู้สึกตื่นเต้นไปกับมัน

ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวโน้มเทรนด์ช้อปปิ้งออนไลน์จากการคาดการณ์ของข้อมูลในปีก่อน ๆ เท่านั้น ไม่ว่าอย่างไรนักการตลาดควรติดตามและอัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้รับปรับตัวให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก