ธุรกิจท่องเที่ยวต้องรู้ให้ทัน เทรนด์ท่องเที่ยวไทย ปี 2022

Digimusketeers, 2 December 2021

ในช่วงที่ประเทศไทยมีการล็อกดาวน์ ส่งผลกระทบให้ตลาดการท่องเที่ยวไทยแย่ลงจนน่าตกใจ และยังมีผลกระทบไปยังตลาดอื่น ๆ เช่น ร้านอาหาร หรือผับบาร์อีกด้วย ไปดูกันดีกว่าว่าเทรนด์การท่องเที่ยวในช่วงหลังยุคโควิด-19 หรือในปี 2022 จะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง พฤติกรรมของผู้บริโภคในมุมมองของการท่องเที่ยวเป็นอย่างไร 

จากผลสำรวจ ‘เทรนด์การท่องเที่ยวเมื่อการเดินทางกลับมาอีกครั้ง’ ของแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวอย่าง อโกด้า เผยว่า คนไทยยังมองการท่องเที่ยวภายในประเทศในแง่ดี และมีความต้องการที่จะออกไปเที่ยวอีกครั้งเมื่อเป็นไปได้ จนเมื่อข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยวถูกยกเลิก คลายล็อกดาวน์ และการเดินทางปลอดภัยขึ้น

ท่องเที่ยวไทย

คนไทยยังอยากท่องเที่ยวภายในประเทศ 

คนไทยมองว่าสถานการท่องเที่ยวไทยภายใน 6 เดือนข้างหน้าจะเป็นไปในทางบวก และยังคาดหวังว่าจะกลับมาเที่ยวเป็นปกติได้อีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ โดยคิดเป็น 38% มองว่าอยากท่องเที่ยวแบบไม่มีข้อจำกัด ส่วนอีก 23% มองว่าท่องเที่ยวได้แต่จะยังคงมีข้อกำจัดอยู่ หรือต้องท่องเที่ยวผ่าน travel bubble หรือ travel corridor เท่านั้น 

จากผู้ตอบแบบสำรวจ เพศชาย 63% มีแน้วโน้มที่คิดว่าการเดินทางท่องเที่ยวจะกลับมาอีกครั้งภายใน 6 เดือนข้างหน้า มากกว่าเพศหญิง 59% เช่นเดียวกับความอยากท่องเที่ยวในคน Gen X 70% มีแนวโน้มที่คิดว่าการเดินทางท่องเที่ยวจะกลับมาอีกครั้งภายใน 6 เดือนข้างหน้ามากที่สุด ตามมาด้วย Gen Y 60%, Baby Boomer 56% และ Gen Z 54%

พฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป

หลังจากเจอสถานการณ์โควิด-19 เข้าไป คนไทยเริ่มมีการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่ไม่รู้จักมากขึ้น การไปท่องเที่ยวในสถานที่ใหม่ ๆ ไม่ค่อยมีคนรู้จักแทนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่คนมักไปกันเยอะ อาจเพราะเป็นกังวลในเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น โดยมีมุมมองใหม่คือ ประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวตั้งแต่มีสถานการณ์โควิด-19 การสนับสนุนโรงแรมอิสระ ธุรกิจในท้องถิ่น และการจองแพ็คเกจท่องเที่ยวพิเศษที่มีอาหารและเครื่องดื่ม โปรโมชันสปา

นอกจากนี้ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านสถานที่ท่องเที่ยว เพราะทุกคนต้องทำงานแบบ WFH มายาวนาน เกิดความรู้สึกเบื่อบ้าน ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้คนไทยหันไปท่องเที่ยวแนวป่าไม้ ภูเขาและชนบท มากกว่าการไปท่องเที่ยวในเมืองหรือชาญเมือง

ประเด็นไหนที่ธุรกิจสายเที่ยวต้องให้ความสำคัญ

ท่องเที่ยวไทย

ข้อมูลจาก วิทยาลัยจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู ได้รายงานแนวทางการพลิกธุรกิจการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 จากงานวิจัย ‘NEO TOURISM’ ท่องเที่ยวมิติใหม่ ได้เจาะลึกอินไซต์นักเดินทางพบว่า การท่องเที่ยวไทยไม่อาจจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้อีกต่อไป โดยปี 2565 นับเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวครั้งใหญ่เลยก็ว่าได้ ใครที่ทำธุรกิจสายนี้ต้องปรับตัวให้ทัน 

ได้มีการเจาะกลุ่มสำรวจเป้าหมายตัวอย่างจำนวน 1,098 คน ซึ่งจะเป็นกลุ่มนักเดินทางหลักหลังได้รับการฉีควัคซีนแล้ว 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุ 18-35 ปี ยังไม่มีบุตร เป็นกลุ่มแรกที่ออกเดินทางที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญและปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการเพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มนี้ และกลุ่มครอบครัว อายุ 27-45 ปีขึ้นไป ที่มีสมาชิกมากกว่า 2 Gen ขึ้นไป เป็นกลุ่มคนที่มีบุตรแล้ว นับเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทยในปัจจุบัน และมีค่าใช้จ่ายต่อทริปสูงกว่ากลุ่มอื่น โดยพบข้อมูลดังต่อไปนี้

ความพร้อมในการออกเดินทาง

จากข้อมูลพบว่ากลุ่มที่พร้อมออกเดินทางหลังได้รับวัคซีนทันทีคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ และกลุ่มครอบครัว โดยการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจะได้รับความนิยมสูงสุด จังหวัดที่ได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวประเภทนี้ในกลุ่มคนรุ่นใหม่คือ เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี ส่วนกลุ่มครอบครัว คือ เชียงใหม่ ประจวบคีริชันธ์ และชลบุรี ในส่วนของงบประมาณ กลุ่มคนรุ่นใหม่จะเลือกวางแผนการเที่ยวที่ 3-4 วัน ในงบที่มากที่สุดถึง 5,000 บาท ในขณะที่กลุ่มครอบครัวมีงบประมาณลดลงที่ 3,000 – 5,000 บาทต่อครอบครัว 

*ข้อแนะนำสำหรับธุรกิจสายท่องเที่ยว มีอยู่ 3 ข้อที่ต้องให้ความสำคัญคือ ผู้บริโภคเน้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ, พิจารณาความสะอาด และเงื่อนไขการให้บริการต้องมีความยืดหยุ่น

 ปัจจัยที่ทำให้อยากท่องเที่ยวอีกครั้ง

ปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวอยากออกเดินทางอีกครั้ง มีอยู่ 3 อันดับคือ 1. ยอดผู้ติดเชื้อลดลงน้อยกว่า 500 คนต่อวัน โดยทั้งสองกลุ่มเห็นตรงกัน 48% 2. สัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนแล้วมีมากกว่า 70% ทั่วประเทศ และ 3. ตนเองได้รับวัคซีนที่มั่นใจ ขณะที่การพิจารณาสถิติความต้องการในการท่องเที่ยวพบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ 45.8% และกลุ่มครอบครัว 52.2% ยังรู้สึกกังวล โดยรอสถานการณ์คลี่คลายก่อน รองลงมากลุ่มคนรุ่นใหม่ 43.8% และกลุ่มครอบครัว 28.3% ต้องการออกท่องเที่ยวให้เร็วที่สุด ส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ 10.4% และกลุ่มครอบครัว 19.6% เที่ยวก็ได้ ไม่เที่ยวก็ได้

ช่องทางในการค้นหาข้อมูลก่อนเดินทาง

กลุ่มคนรุ่นใหม่ 70.7% และกลุ่มครอบครัว 65.5% เห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ โดยใช้ช่องทางออนไลน์ในการหาข้อมูลก่อนเดินทาง ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่นิยมหาข้อมูลผ่าน Facebook 31.1%, Goole 29.4% และ YouTube 21.9% ส่วนกลุ่มครอบครัว นิยมดูข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Google 38.6%, Facebook 29.8% และ YouTube 19.8% 

นอกจากนี้ยังมีการค้นหาข้อมูลอื่นเพิ่มเติมก่อนออกเดินทางอย่าง มาตรการป้องกันโควิด-19 ของสถานที่ จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่ และข้อมูลการให้บริการ

เงื่อนไขการจองที่ถูกใจนักท่องเที่ยว

นักเดินทางเลือกติดต่อกับโรงแรมโดยตรงเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น 2% และกลุ่มครอบครัวเพิ่มขึ้น 6% ในขณะที่การจองห้องพักผ่าน Online Travel Agent เช่น Booking.com, Agoda ลดน้อยลง ในส่วนของเงื่อนไขการจอง คนทั้งสองกลุ่มเห็นตรงกันว่ายอมจ่ายแพงเพื่อให้ยกเลิกการจองได้ ดีกว่าการของถูกแต่ยกเลิกไม่ได้ นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มยังมีความกังวลในการเดินทางโดยเครื่องบิน แต่การเดินทางโดยรถสาธารณะ กลุ่มคนรุ่นใหม่กังวลน้อยกว่า ส่วนกลุ่มครอบครัวกังวลมากกว่า และมองว่าการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวปลอดภัยกว่า

Workcation เที่ยวไปทำงานไป เทรนด์ฮิตในไทย

ท่องเที่ยวไทย

อีกหนึ่งเทรนด์ท่องเที่ยวไทยที่กำลังมาแรงในช่วงโควิด-19 ก็คือการ Workcation เที่ยวไปทำงานไปด้วย โดยล่าสุดจากการจัดอันดับของ Holidu เว็บไซต์จองสถานที่พักร้อนยอดนิยมสัญชาติอังกฤษ ได้เผยผลสำรวจ Workcation Index 2021 หรือเมืองที่เหมาะกับการ Workcation มากที่สุดในโลกในปี 2021 คือกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นเมืองที่คนทำงานอยากมา Workcation มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดภูเก็ต ยังติดอยู่ในอันดับ top 10 ในชาร์ตการจัดอันดับนี้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าข้อดีของเทรนด์ Workcation ช่วยลดความตึงเครียดจากการทำงานที่สำนักงาน หรือบ้านเป็นเวลานานได้ และการทำงานระหว่างการท่องเที่ยวยังช่วยเพิ่มระยะเวลาการท่องเที่ยวของคุณให้นานยิ่งขึ้น

 

ประเด็นเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญที่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงมากที่สุด หากอยากให้ธรุกิจการท่องเที่ยวของคุณไปได้ดีในปี 2022 สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ได้เลย

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก