เทรนด์ผู้บริโภคปี 2022 เปลี่ยนไป นักการตลาดต้องปรับตัวอย่างไร

Digimusketeers, 9 March 2022

หลังจากที่เราได้เผชิญกับภาวะที่โลกต้องเจอกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19, กระแสสังคมการเมือง, ภาวะโลกร้อน, เศรษฐกิจที่ถดถอยจนส่งผลให้เทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไปตลอดกาล จากที่นักการตลาดคาดการณ์กันไว้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะกลับมาเป็นแบบเดิมหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น แต่ความเป็นจริงนั้นกลับตรงกันข้ามนั่นก็เพราะโควิด-19 อยู่กับเรามาเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้คนคุ้นชินกับพฤติกรรมที่เป็นอยู่และมีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ชีวิตให้เข้ากับสิ่งเหล่านี้มากขึ้น

เราได้เอาข้อมูลมาจากงาน ‘Looking Ahead of 2022’ จัดขึ้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ของ Mindshare เอเจนซี่ไทย โดยคุณ ณัฐา ปิยะวิโรจร์เสถียร Head od Strategy และ คุณมทินา แรงกล้า Head of Data intelligence ที่จะมาสรุปแนวโน้มเทรนด์ผู้บริโภคที่จะมีผลต่อการตลาดออนไลน์ในปี 2022 เป็นประเด็นที่แบรนด์และนักการตลาดควรรู้เอาไว้จะมีอะไรบ้างไปดูคำตอบพร้อมกัน

 

เมื่อเทรนด์ผู้บริโภคปี 2022 เปลี่ยนไป

เทรนด์ผู้บริโภค

 

1. กลับมาใช้ชีวิตโหมดเกือบปกติ ปรับตัวและระวังมากขึ้น (Mindful Togetherness)

ในปี 2022 นี้ถือเป็นช่วง Post-pandemic หรือก็คือช่วงที่ทั่วโลกนั้นสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แล้ว หลายประเทศที่ได้รับผลกระทบเริ่มฟื้นตัว ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตที่เกือบจะเป็นปกติมากขึ้น และด้วยที่ทุกคนเผชิญกับสภาวะของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มายาวนาน พวกเขาเริ่มปรับตัวได้ไวขึ้นและระมัดระวังตัวเองมากขึ้นไปด้วย

ซึ่งก็ดูเหมือนว่าสถานการณ์จะเริ่มกลับมาได้เกือบปกติแล้ว แม้จะยังไม่ 100% ก็ตาม แต่ผู้คนก็เริ่มปรับตัวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดีขึ้น เช่น การช้อปออนไลน์ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ และยังเป็นเทรนด์ผู้บริโภคแบบนี้ต่อไปในอนาคต

 Phygital Community : แบรนด์สามารถสร้างช่องทางการขายทั้งฝั่งออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ (Physical + Digital) จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภค และยังตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Hygienic Safety) ได้ ต่อไปหน้าร้านไม่ได้มีแค่ช่องทางไหนช่องทางหนึ่งเท่านั้น แต่จะที่มีทั้ง 2 ช่องทางร่วมกันที่ลูกค้าสามารถเลือกความสะดวกได้ เช่น Starbucks ซีแอตเทิล ร่วมกับ Amazon สร้างไฮบริดสโตร์แบบ Seamless Payment ให้สั่งเมนูออนไลน์แล้วรับออเดอร์ที่เคาน์เตอร์ได้ เป็นต้น

 Contactless Connection : ใครที่ช่วงนี้ไปห้างบ่อย ๆ จะสังเกตเห็นว่าปุ่มกดลิฟท์ หรือ ตู้รับบัตรที่จอดรถจะเปลี่ยนเป็นแบบไร้การสัมผัสกันหมดแล้ว ในอนาคตหลายแบรนด์จะพยายามนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสินค้ามากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในเรื่องของความสะอาดปลอดภัย และมันจะกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการออกแบบสินค้าต่าง ๆ ของแบรนด์อีกด้วย 

 Omnichannel Retail : ถ้าพูดถึงกลยุทธ์ Omnichannel ก็คือการสื่อสารทุกช่องทาง ดังนั้นความหมายของปัจจัยนร่ก็คือการที่แบรนด์ให้ความสำคัญกับการเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคได้ครบทุกช่องทาง ทั้งการให้ข้อมูล การบริการ หรือการจับจ่ายใช้สอย สร้าง Touchpoint ต่าง ๆ ให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายได้ทุกช่องทางนั่นเอง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ผู้บริโภคในปี 2022 เช่น แบรนด์ Costo ที่อเมริกาติดตั้งล็อคเกอร์ 200 สาขาทั่วประเทศ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามารับสินค้าที่สาขาได้ด้วยตัวเองหลังจากซื้อสินค้าทางออนไลน์แล้ว

 

2. ใช้เวลาอยู่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ(Homebody Economy)

ช่วงเวลาที่ผู้คนต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลานาน ทำให้พวกเขาคุ้นเคยกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในบ้านมากขึ้น และรู้สึกว่าการทำกิจกรรมเหล่านั้นสามารถทำได้ที่บ้าน ไม่ว่าจะทำงาน เรียน ช้อป หรืิอกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ ในปี 2022 นี้ทำให้ผู้บริโภคมองหาสิ่งที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกให้พวกเขาสามารถทำกิจกรรมได้หลากหลายแม้จะอยู่บ้านและได้ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 Hometainment : ด้วยเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในทิศทางนี้ ถือเป็นความท้าทายใหม่ของแบรนด์ที่จะต่อยอดอย่างไร เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ทำให้รู้สึกว่าสินค้าหรือบริการนี้จะสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ทำให้การอยู่บ้านนั้นได้รับทั้งความสนุกและปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชดเชยช่วงที่พวกเขาไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ เช่น ที่ประเทศญี่ปุ่นมีแบรนด์หนึ่งได้พัฒนาจอทีวีให้สามารถลิ้มรสอาหารได้ 

 Statement of Place and Space : การที่แบรนด์จะต้องให้ความสำคัญในการสร้างคุณค่าและประสบการณ์ที่ดีในด้านสถานที่ให้กับผู้บริโภค รวมถึงการทำให้สถานที่เหล่านี้มีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าเดิม เช่น การเปลี่ยนให้ห้อง ๆ หนึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะใช้ทำงาน ใช้ออกกำลังกาย หรืออีกมากมาย โดยนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

 Survive or Alive : ตลอดช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้บริโภคมองหาการได้ใช้ชีวิตที่ปกติแต่ปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นวิธีการสื่อสารเดิม ๆ ของแบรนด์อาจจะไม่ตอบโจทย์อีกแล้ว พวกเขากำลังต้องการความหวัง หรือการสื่อสารเชิงบวกจากแบรนด์มากขึ้น

 

3. โหยหาความสุขในอดีต (Nostalgia Reminiscing)

เทรนด์ผู้บริโภคที่โหยหาความสุขในความทรงจำจะกลับมามากกว่าเดิม เพราะความเคยชินในยุคนี้นั้นทุกอย่างไปไวมาไว จบไปไว ผู้บริโภคจึงมักมองหาสิ่งที่เรียกว่า อะนาล็อก ที่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจสร้างมันขึ้นมา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่หายากในยุคนี้ จึงไม่แปลกที่พวกเขาจะโหยหาสิ่งเหล่านั้น ความวินเทจ ความเก่ากลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่พวกเขามองหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคน Gen Y และ Gen C

 Down the Memory Lane : เพราะพวกเขาโหยหาเรื่องราวในอดีต แบรนด์จะต้องสร้างจุดเชื่อมโยงนั้นให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ สินค้า หรือบริการ เพื่อดึงดูดใจพวกเขา เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อในยุคนี้ทุกอย่างผ่านไปไวเหลือเกิน แต่ความทรงจำต่าง ๆ ในอดีตนั้นมีเรื่องราวของมันอยู่เสมอ เช่น แบรนด์น้ำอัดลมอย่าง Pepsi ที่จับมือกับ Polaroid แบรนด์กล้องที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอดีต 

 

4. ยุคของโลกเสมือนจริง (Live More Than One Life)

เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ผู้บริโภคที่มาแรงมาก ๆ ในตอนนี้ก็คือ Metaverse ที่ผู้บริโภคกำลังตื่นเต้นและให้ความสนใจมาก ๆ ซึ่งโลกเสมือนนี้จะมีส่วนร่วมกับชีวิตของผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต พวกเขาสามารถสร้างตัวตนในแบบที่ต้องการได้ในอีกโลก และยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่คล้ายกับโลกจริงได้ด้วย เพราะหลายธุรกิจจะค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปในโลกของ Metaverse 

 Mega Metaverse : แบรนด์สามารถใช้เทคโนโลยีอย่าง VR หรือ AR ทำให้ผู้บริโภคได้เข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงได้ จะช่วยสร้าง engage ต่อผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ยังถือเป็นการก้าวข้ามข้อกำจัดต่าง ๆ ที่อาจจะไม่สามารถทำไ้ด้ในโลกจริง

 No More Middle Man : หลังจากการมาของ Blockchain ทำให้เกิดการกระจายอำนาจ ซึ่งส่งผลให้การกระจายอำนาจด้านการเงินอย่างวงการ Cryptocurrency นั้นขยายวงกว้างขึ้น เช่น เข้าไปยังวงการศิลปะ หรือวงการเกมนั่นเอง

 

5. ให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว (Brighter, Bolder, Better Build Back)

เทรนด์ผู้บริโภคในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าผู้บริโภคใส่ใจกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น และไม่ใช่แค่กับตัวเองเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงคนใกล้ตัวอย่างครอบครัว เพื่อนและคนรัก ซึ่งพวกเขามีความพยายามที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นในทุก ๆ เรื่อง แสดงความคิดเห็นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อม หรือการใช้ชีวิต

 Play a Part : แบรนด์อาจจะลองสร้างสรรค์แคมเปญที่ทำให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งก็ได้ 

 Well-Balanced Wellness : การใส่ใจสุขภาพกายและใจก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภมองหาเช่นกัน แนะนำให้แบรนด์ลองสร้างสรรค์คอนเทนต์ สินค้า บริการ หรือแคมเปญที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย

 

 6. เทคโนโลยีอยู่รอบตัว (Interactive Future)

เป็นยุคทองของเทคโนโลยีเลยจริง ๆ ไม่ว่าจะหันมองไปทางไหนก็อยู่รอบตัวไปหมด ซึ่งมันจะเข้ามาเติมเต็มประสบการณ์ให้ผู้บริโภครู้สึกดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการช้อป การกิน เที่ยว หรือกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ ทำให้ทุกอย่างนั้นง่ายและสะดวกสบายไปหมด 

 Voice, Visual, Video และ Virtual Assistant : ตั้งแต่ปี 2022 และในอนาคต ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น เพื่อสนองในความต้องการนี้ เทคโนโลยีจะเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งในส่วนของภาพ เสียงหรือวิดีโอจะมีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้นแน่นอน 

 Shoppable Media : มีเดียจะไม่ใช่แค่ช่องทางที่สร้างการรับรู้หรือมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคอีกต่อไป จากสถิติคนไทยปี 2021 ใช้เวลา 1 ใน 3 ของวันอยู่บนโลกออนไลน์ ไม่แน่ว่าอีกหน่อยอาจมีการพัฒนาให้ทีวีเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้บริโภคช้อปออนไลน์ได้ 

 In Control & On Demand : เทคโนโลยีต่าง ๆ จะเข้ามาเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคในการจัดการเวลา หรือความต้องการที่จะเข้าถึงได้ในแบบที่ถูกใจ

 

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก