18 ข้อมูล Insights จาก Google Analytics ที่สามารถช่วยพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

Digimusketeers, 24 November 2021

Google Analytics เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุดสําหรับการวิเคราะห์เว็บไซต์ ลองมาศึกษาข้อมูลดูว่า เจ้า Google Analytics นี้ สามารถนำเสนอและแนะนำวิธีที่คุณสามารถใช้เพื่อปรับปรุงการทำการตลาดและ SEO ของคุณให้มีประสิทธิภาพให้ดีขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ลองมาทำความเข้าใจก่อนว่า Google Analytics คืออะไร?

Google Analytics เป็นเครื่องมือวิเคราะห์เว็บ ที่ออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งาน มีการจัดเรียงข้อมูลเป็นรายงานที่อ่านง่ายผ่านแดชบอร์ดที่ได้รับการปรับแต่งแล้ว

 

 

ทำไม Google Analytics จึงสำคัญต่อเว็บไซต์ของคุณ?

Google Analytics เป็นเครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถเข้าใจผู้ใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงเว็บไซต์และวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เหตุผลที่ Google Analytics สำคัญต่อเว็บไซต์ของคุณมีดังนี้

1. ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งาน

Google Analytics สามารถช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์เข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้งานได้อย่างลึกซึ้ง เช่น เพศ อายุ อุปกรณ์ที่ใช้เข้าเว็บไซต์ ระยะเวลาที่อยู่บนเว็บไซต์ หน้าเพจที่เยี่ยมชม เนื้อหาที่สนใจ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น

2. ช่วยให้วัดผลประสิทธิภาพของเว็บไซต์

Google Analytics สามารถช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์วัดผลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนหน้าที่ดูต่อผู้เข้าชม อัตราตีกลับ (Bounce Rate) อัตราเปลี่ยน (Conversion Rate) เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถตรวจสอบได้ว่าเว็บไซต์ของตนมีประสิทธิภาพหรือไม่ และหากมีจุดใดที่ควรปรับปรุง

3. ช่วยให้วางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Google Analytics สามารถช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์วางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น วิเคราะห์ช่องทางการเข้าชมเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อใช้ในการโฆษณา วิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของผู้ใช้งาน เพื่อใช้ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น

4. ใช้งานง่ายและฟรี

Google Analytics เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและฟรี ช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีความรู้ด้านเทคนิคใด ๆ

Google Analytics ทำงานอย่างไร

Google Analytics ทำงานโดยใช้ แท็กติดตาม (Tracking Tag) ซึ่งเป็นโค้ด JavaScript ที่ฝังอยู่ในเว็บไซต์ เมื่อผู้ใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ แท็กติดตามจะทำงานและส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งานไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ Google Analytics ข้อมูลเหล่านี้รวมถึง

  1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้งาน เช่น ที่อยู่ IP, เบราว์เซอร์, ระบบปฏิบัติการ, อุปกรณ์
  2. ข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้งาน เช่น หน้าเพจที่เยี่ยมชม, เวลาที่ใช้บนเว็บไซต์, ลิงก์ที่คลิก
  3. ข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ เช่น แหล่งที่มาของการเข้าชม, แคมเปญโฆษณา, กิจกรรมทางการตลาด

 

 

Google Analytics มีเกณฑ์ชี้วัดอะไรบ้าง?

ใน Google Analytics เมตริกเป็นข้อมูลเดี่ยวที่ใช้ชี้วัด โดยเมตริกสามารถปรากฏในรูปแบบผลรวมหรืออัตราส่วนก็ได้ ซึ่งโดยทั่วๆ ไปเช่น การบอกเมตริกหน้ารวมต่อเซสชั่น, การดูหน้าจอ, อัตรา Bounce rate (เวลาของการเด้งออกจากหน้าจอ), และเวลาที่ใช้บนหน้าเว็บ เป็นต้น

 

 

ชนิดของข้อมูลเชิงลึก ของ Google Analytics

ชนิดของข้อมูลเชิงลึกของ Google Analytics ที่ช่วยในการตรวจเช็คเว็บไซต์ของคุณได้มีอะไรบ้างมาดูกัน

 

 

#1 ข้อมูลเชิงลึกของ Active User บนเว็บไซต์

เมตริกนี้จะระบุจํานวนผู้ใช้ ที่ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ของคุณแบบเรียลไทม์ โดยคุณสามารถใช้เกณฑ์ชี้วัดนี้เพื่อตรวจสอบอีกครั้งว่าคุณตั้งค่า Google Analytics อย่างถูกต้องบนเว็บไซต์ของคุณหรือไม่

#2 ข้อมูลเชิงลึกของหน้าเพจที่ติดอันดับ Top

ใช้เมตริกนี้เพื่อติดตามหน้าเว็บที่ใช้งานมากที่สุดบนเว็บไซต์ของคุณแบบเรียลไทม์ หากคุณลงโพสต์ใหม่และคุณได้ทำการทำผ่านช่องทางการตลาด เมตริกตัวนี้สามารถระบุได้ว่าเนื้อหาใหม่ของคุณชิ้นนั้นสามารถดึงดูดการเข้าชมของผู้ใช้งานได้มากแค่ไหน และมีโพสต์ไหนที่อยู่ลำดับ Top บ้าง

#3 ใช้ตรวสอบ Conversions

เมตริกการแปลงเป้าหมายจะช่วยคุณติดตามคอนเวอร์ชั่นบนเว็บไซต์ของคุณ คุณยังสามารถใช้รายงานนี้เพื่อตรวจทานปุ่ม แบบฟอร์ม หรือธุรกรรมใดๆ ที่ใช้ในการทํา Conversion ให้เสร็จสมบูรณ์ได้ แต่ที่สำคัญคือ คุณจะต้องกำหนดเป้าหมายใน Google Analytics ก่อนจึงจะเห็นข้อมูลนี้ เมื่อทำแล้ว Google ถึงจะเริ่มนับว่าเป็น Conversion ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้เมตริกนี้เพื่อตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถติดตาม Conversion ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ แต่ต้องไม่ลืมว่า เมตริกนี้จะติดตามเฉพาะ Conversion ที่เสร็จสมบูรณ์ในช่วง 30 นาทีที่ผ่านมาเท่า

#4 ข้อมูลเชิงลึกของผู้เข้าชม : อายุ เพศ โลเคชั่น

Google Analytics เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้คุณเข้าใจว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณเป็นใคร ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอายุเท่าไหร่ เพศอะไร และอยู่ที่ไหนกันบ้าง เรียกว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อนักการตลาดและคนทำคอนเทนต์ เพื่อให้เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของเขาเป็นใคร เพื่อให้การสื่อสารตรงเป้าตรงกลุ่มที่สุด

#5 ข้อมูลเชิงลึก “ผู้เข้าใหม่” กับ “ผู้กลับเข้ามา”

ข้อมูลหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เครื่องมือนี้ยังช่วยแบ่งผู้เข้าชมเว็บไซต์เราเป็น “ผู้เข้าใหม่” (New Visitor) กับ “ผู้กลับเข้ามา” (Return Visitor) โดยผู้เข้าชมที่กลับมา คือผู้เข้าชมที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณมากกว่าหนึ่งครั้งในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งการไหลเข้ามาของ “ผู้เข้าใหม่” จะบอกได้ว่าเว็บของคุณหรือแคมเปญการตลาดที่คุณทำไว้ประสบความสำเร็จ มีเนื้อหาที่เป็นที่นิยม และสามารถสร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้ดี ส่วนข้อมูลของ “ผู้กลับเข้ามา” สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้ายอดนิยมบนเว็บไซต์ของคุณ หรือเนื้อหาที่มีคุณค่าที่คุณสามารถต่อยอดนำมาใช้ใหม่ได้ รวมไปถึงคุณยังสามารถกําหนดเป้าหมายผู้ใช้ที่กลับมาได้ด้วยการมอบรางวัลความภักดี หรือเพิ่ม CTA ให้น่าดึงดูดยิ่งขึ้น

#6 ข้อมูลดีไวซ์ผู้เข้าชม : Desktop หรือ Mobile

Google Analytics ช่วยให้เรารู้และแบ่งอุปกรณ์การเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ และสามารถเปรียบเทียบสัดส่วนให้เห็นด้วยว่า ผู้เข้าชมใช้อุปกรณ์อะไรเปิดผ่านมือถือหรือบน Desktop

#7 ข้อมูลเชิงลึกให้รู้วการเข้า-ออกของผู้เข้าชม

เมตริกนี้จะแสดงให้เห็นการเดินทางของผู้ใช้บนเว็บไซต์ของคุณ ทำให้รู้ได้ว่าเว็บไซต์ใดที่นําผู้เข้าชมมาหาคุณ และเว็บไซต์ที่พวกเขาเยี่ยมชมหลังจากออกจากเว็บไซต์ของคุณไปแล้ว สิ่งนี้จะช่วยให้รู้ถึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายของคุณได้

#8 ข้อมูลเชิงลึกด้านสื่อที่เข้าถึงมากที่สุด

เป็นเครื่องมือที่สามารถบอกได้ว่า ช่องทางใดที่พาคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บของคุณ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นพลังของทราฟฟิกที่มา ซึ่งจะบอกได้ว่าเว็บหรือแคมเปญของคุณมันเวิร์คไหม

#9 ข้อมูลของ Bounce Rate

Bounce Rate คือการคิดเปอร์เซ็นต์ของ การเข้าชมหน้าเดียวหรือเซสชันที่ผู้ใช้ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์ หรือจะหมายถึงการเข้ามาแล้วเด้งออกจากเพจหรือเว็บ ซึ่งหากมีอัตราการตีกลับสูงอาจจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีว่าเว็บของคุณไม่น่าสนใจพอ ดังนั้น ต้องรีบปรับปรุงเว็บเป็นการด่วน

 

 

#10 ข้อมูลเชิงลึกของคอนเทนต์

Google Analytics ยังทำให้คุณเห็นว่าหน้าไหนบนเว็บไซต์ที่ผู้คนให้ความสนใจมากที่สุด ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงอัตราการเข้าชมในหน้านั้น เพื่อให้คุณได้ทราบว่า หน้านั้นสามารถจับความสนใจของผู้ชมได้

#11 ข้อมูลเชิงลึกของพฤติกรรมผู้เข้ามาเว็บไซต์

เมตริกนี้จะแสดงให้เห็นว่าถึงปริมาณการการเข้าชมของผู้ใช้จากในแต่ละโลเคชั่น อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการเข้าชมจะสามารถระบุได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาได้เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณ มันถึงจะแสดงให้คุณรู้ถึงลำดับในแต่ละหน้าที่ผู้ใช้ได้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ และเวลาที่ใช้ในแต่ละหน้าด้วย รวมไปถึงยังบอกด้วยว่าผู้ที่เข้ามาชมหน้าเว็บไซต์คุณนั้นได้ไปยังหน้าเพจอื่นๆ อีกหรือไม่ รวมไปถึงไปจบที่หน้าของตะกร้าซื้อของด้วยหรือไม่ (หรือแม้แต่หน้าสุดท้ายที่คุณต้องการเช่น ลงทะเบียน หรือสมัครเข้าใช้งาน เป็นต้น)

#12 เช็คการออกจากหน้าเว็บ

นอกจากจะใช้เพื่อตรวจดูว่าการเข้าออกในเว็บไซต์ของผู้ใช้งานเป็นอย่างไร ก็ยังแสดงให้เห็นว่าว่ามีคนออกจากเว็บไซต์ของคุณอย่างไรด้วย โดยวิตเจ็ตนี้ก็เพื่อทำให้ตรวจสอบว่าที่หน้าเว็บของคุณนั้นมีปัญหารือไม่ เช่น มีการกระตุ้น Call to action ที่ไม่ดี หรือมีลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้ เป็นต้น

#13 ตรวจสอบค่าเฉลี่ยในการโหลดหน้าเพจ

เกณฑ์ชี้วัดนี้เหมาะสําหรับ Core Web Vitals เนื่องจากความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สําคัญในการจัดอันดับหน้าเว็บของ Google ดังนั้น ปัญหาที่มีผลต่อความเร็วในการโหลดหน้าเว็บจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าพบปัญหาก็ต้องรีบต้องรีบแก้ไข เช่น อาจเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ช้า หรือการบีบอัดภาพการโหลดนานมากไป หรือการเลื่อนเค้าโครงหน้าช้าไป เป็นต้น

#14 ค่าเฉลี่ยต่อออร์เดอร์

ข้อมูลเชิงลึกนี้ดีมากสำหรับเว็บไซต์เพื่ออีคอมเมิร์ซ เพราะมันทำให้เรารู้สค่าเฉลี่ยเงินบาทต่อคำสั่งซื้อบนเว็บไซต์ของคุณ มันจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของ ROI สำหรับแคมเปญการตลาดที่คุณทำไป และสามารถให้ไอเดียในเรื่องการกำหนดราคาสินค้าและบริการของคุณได้อีกด้วย

#15 แสดงข้อมูลการเช็คเอาท์ของลูกค้า

เมตริกนี้จะแสดงให้คุณเห็นว่ามีลูกค้าเช็คเอาท์และชำระค่าสินค้า หรือออกจากหน้าตระกร้าอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีรถเข็นถูกทิ้งร้าง รวมไปถึงทำให้เข้าใจถึง Customer Journey ของลูกค้าด้วย

#16 ข้อมูล Multi-Channel Conversions

ด้วยข้อมูลเชิงลึกนี้คุณสามารถตรวจสอบว่าช่องทางใดที่ให้ Conversion มากที่สุดบนเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งคุณสามารถรวมช่องต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของจำนวน Conversion ได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งเมตริกนี้จะช่วยให้คุณกำหนดทิศทางในการลงทุนงบประมาณการตลาดที่มีประสิทธิภาพที่ดีส่งผลต่อ ROI ที่ดีขึ้นด้วย

#17 ช่วยให้รู้กลุ่มตลาด

ด้วยข้อมูลเชิงลึกนี้ คุณสามารถตรวจสอบตําแหน่งที่ Google วางผู้ใช้ของคุณว่าอยู่ใน “กลุ่มในตลาด” ใด หรือ Segment ไหนของตลาด เป็นการวิเคราะห์แบบเดียวกับที่ Google Ads ใช้ ซึ่งผู้ใช้เหล่านี้คือผู้ที่กําลังมองหาผลิตภัณฑ์และบริการของคุณอย่างจริงจัง Google จะจัดกลุ่มพวกเขาตามเจตนาในการค้นหา

#18 ข้อมูลบนการ Search

หากเว็บไซต์ของคุณมีฟังก์ชันการค้นหา ฉะนั้น Insight นี้ จะบอกคุณว่าผู้คนค้นหาอะไร เมื่อพวกเขาเข้ามาที่เว็บไซต์ของคุณ สิ่งนี้ช่วยให้คุณสามารถใส่ทรัพยากรเพิ่มเติมไปยังหมวดหมู่หรือผลิตภัณฑ์ที่พวกเขากําลังค้นหาได้ ผ่านการสร้างช่องทางโดยตรงไปยังหน้าต่างๆ ซึ่งคุณทำมาร์เก็ตติ้งไว้หรือทำลิงก์ย้อนหลังเอาไว้ นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงให้คุณเห็นว่าพวกเขากําลังค้นหาหน้าใด หากมีปัญหาเนื้อหาเช่นคําอธิบายที่ทําให้เข้าใจผิดหรือไม่ชัดเจนเพียงพอสําหรับผู้ใช้งาน

อย่างไรก็ตามข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ คุณสามารถรวมบัญชี Google Analytics ของคุณเข้ากับแดชบอร์ด SEO ของคุณได้ เพื่อดูข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ไม่จําเป็นต้องสลับหน้าจอและคัดลอกข้อมูลจากหน้าหนึ่งหรือแดชบอร์ดหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง คุณสามารถดูตัวชี้วัดและข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เปรียบเทียบกับคําหลักและการตลาดของคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันมีแพล็ตฟอร์มในการช่วยเหลืองานจุดนี้

 

Google Analytics ข้อดี

 

และทั้งหมดนี้ ยิ่งคุณรู้จักลูกค้ามากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งพัฒนาเนื้อหาของคุณเพื่อให้บริการพวกเขาได้ดียิ่งขึ้นเพื่อธุรกิจที่เติบโตได้ด้วยการปรับแต่งข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกค้า พฤติกรรม โปรไฟล์และอื่นๆ โดยศึกษาจากข้อมูลเชิงลึกผ่าน Google Analytics แล้วคุณจะพบว่ามันช่วยได้ดีทีเดียว.

 

 

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก:

https://anga.co.th/seo/what-is-google-analytics/

https://thewhitemarketing.com/google-analytics/

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก