ดันแบรนด์ให้ดังเป็นไวรัลได้ไม่ยาก ต้องลอง 4 แคมเปญนี้

Digimusketeers, 15 March 2022

ไอเดียในการสร้างแคมเปญ 1 ชิ้นของคุณมาจากอะไรกันบ้าง ? บางคนอาจหา Inspiration มาจากต่างประเทศ บางคนอาจได้มาจากนักสร้างแคมเปญในไทยแล้วนำมาปรับใช้ และอีกมากมาย แต่สุดท้ายแล้วการจะสร้างการแคมเปญการตลาดเจ๋ง ๆ สักชิ้นที่ถูกใจผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นไวรัลนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย 

แต่ด้วยพฤติกรรมความสนใจของผู้บริโภคนั้นแปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่ง นักการตลาดจึงต้องใช้ความสร้างสรรค์ในการทำแคมเปญตลาดที่เหมาะกับคนยุคนี้อีกด้วย หากสามารถทำให้เป็นไวรัลดังได้ก็จะช่วยทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มยอดขายและยังเป็นการสร้างจุดเชื่อมโยงให้กับกลยุทธ์ต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งว่า Viral Marketing นั้นคืออะไร มีแบบไหนบ้าง แล้วทำแคมเปญแบบไหนจะดันให้แบรนด์เป็นไวรัลได้ดีที่สุด

 

รู้จัก Viral Marketing คืออะไร ?

แคมเปญ Viral Marketing

ไวรัลมาร์เก็ตติ้ง หรือ ไวรัล คือการผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายจนมีการพูดต่อกัน หรือเกิดการแชร์ต่ออย่างมากมายในเวลาอันรวดเร็ว จุดประสงค์ก็เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ทำให้รู้สึกอยากมีส่วนร่วมกับสื่อนั้น เพื่อหวังผลไปยังการเพิ่มยอดขายได้ในที่สุด ถือเป็นการท้าทายที่ดีเลยทีเดียวสำหรับนักการตลาดทุกคนที่จะสร้างแคมเปญให้กลายเป็นไวรัลดังได้สักครั้งหนึ่ง ซึ่งรูปแบบของไวรัลมาร์เก็จติ้งที่ว่านี้ก็มีทั้งรูปภาพ วิดีโอ เกม E-Books หรือแม้แต่ประโยคสั้น ๆ ที่โดนใจก็ถือเป็นไวรัลได้เช่นกัน 

 

4 แคมเปญที่ได้ผลดีที่สุดในการดันแบรนด์

4 แคมเปญการตลาด

นี่คือแคมเปญการตลาดที่ทำแล้วได้ผลดีกับแบรนด์สุด ๆ ในยุคนี้เลยนะ ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

แคมเปญการตลาดแบบคลิปวิดีโอ

ผู้บริโภคสมัยนี้ขี้เกียจอ่านอะไรยืดยาวกันแล้ว และหันมาดูภาพหรือวิดีโอมากกว่า บวกกับการทำแคมเปญแบบวิดีโอนั้นสามารถเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าภาพนิ่งอยู่แล้ว ดึงดูดความสนใจผู้เห็น และยังกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกได้ดีด้วย

ยกตัวอย่างแคมเปญสุดเจ๋งจาก IKEA ‘Buy With Your Time’ สาขาประเทศดูไบที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม หลังจากมีแคมเปญนี้ มันช่วยเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น โดยมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 32% และกลายเป็นไวรัลที่ถูกพูดถึงกันอย่างรวดเร็วตามสื่อต่าง ๆ มากมาย คิดเป็นมูลค้าค่าโฆษณากว่า 14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้วยังได้รับรางวัลด้านการตลาดไปหลายรางวัล ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรางวัลของ Clio ที่เป็นรางวัลเกี่ยวกับความเป็นเลิศด้านความคิดสร้างสรรค์ในการโฆษณาการออกแบบและสื่อสารที่มีการตัดสินโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านโฆษณาระดับโลก

ซึ่งในคลิปวิดีโอของแคมเปญนี้มีต้องการให้ผู้คนเข้ามาช้อปที่สาขามากขึ้น เพราะสาขาของ IKEA ส่วนใหญ่นั้นจะตั้งอยู่แถบชานเมือง ทำให้การเดินทางมาซื้อสินค้าที่สาขาใช้เวลานานหลายชั่วโมง จนทำลูกค้าบางคนตัดใจเพราะเหนื่อยกับการเดินทาง พวกเขาจึงทำแคมเปญนี้ให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้ด้วยเวลาที่ต้องเสียไปในการเดินทาง หรือก็คือเอาเวลาเดินทางของคุณมาแลกสินค้าของเราสิ! ยิ่งนานก็ยิ่งซื้อได้มากขึ้น แค่แสดงข้อมูลการเดินทางใน Google Maps ให้พนักงานดู

โดยสินค้าทุกชิ้นจะมีสกุลเงินที่เป็นเวลาติดอยู่ที่ป้าย คิดเป็นราคาราว ๆ 28 เหรียญสหรัฐ หรือ 900 ต่อหนึ่งชั่วโมง ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเวลาในการเดินทางของพวกเขาไม่เสียเปล่า แต่ได้เอามาใช้อย่างคุ้มค่าสุด ๆ นั่นก็คือได้เป็นของใช้กลับมานั่นเอง ถือเป็นแคมเปญที่สุดยอดจริง ๆ 

แคมเปญการตลาดสุดสร้างสรรค์

แน่นอนว่าแคมเปญการตลาดสุดสร้างสรรค์นั้นโดนใจชาวโซเชียลได้ ได้ทั้งสร้างความประทับใจ สร้างการรับรู้และสร้างการจดจำ หากกลายเป็นไวรัลที่ถูกแชร์ต่อกันอย่างมากมายจะช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้โดยไม่ต้องใช้การโฆษณาเพื่อเข้าถึงผู้คนเลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นแคมเปญเจ๋งอันนี้

‘The Awareness Traffic Light’ แคมเปญสุดแสบของ Honda จากประเทศอาร์เจนติน่าที่ต้องการให้คนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้หมวกนิรภัย โดย Almacen Buenos Aires ด้วยสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในวัยรุ่นของประเทศนี้ที่มีถึง 44% รวมถึง 4 ใน 10 นั้นไม่สวมหมวกนิรภัย ความเจ๋งนั้นอยู่ที่มันไม่ใช่แค่การเตือน แต่เป็นการบังคับให้คุณหยิบหมวกนิรภัยมาใส่เดี๋ยวนี้!

ซึ่งมีวิธีการเด็ดนั่นก็คือการใช้กล้องที่มีเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าติดไว้กลางสี่แยกไฟแดง แล้วเชื่อมต่อกับสัญญาณไฟจราจร เมื่อไหร่ก็ตามที่ไฟแดง แล้วมีคนขับรถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยจอดรออยู่ กล้องจะโฟกัสไปที่คุณทันที พร้อมกับขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้คนอื่นเห็นหน้าได้ชัด ๆ แล้วแจ้งว่า “สัญญาณไฟจะเขียวก็ต่อเมื่อผู้ขับขี่จะสวมหมวกนิรภัย” เจอแบบนี้ใครจะอยากขายหน้า หรือเป็นตัวปัญหากันล่ะ..

แคมเปญนี้ได้เป็นไวรัลทันทีที่ออกวันแรก ซึ่งมีผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งได้ถ่ายคลิปวิดีโอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงลงในช่องของตนเอง เรียกยอดวิวได้ถึงสิบกว่าล้านภายในเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นบรรดาสื่อโซเชียลทั้งหลาย สำนักข่าว ต่างก็พากันพูดถึงกันอย่างมากมาย โดยที่แบรนด์ไม่ได้เสียเงินซื้อโฆษณาเลย ได้ยอดวิวแบบออร์แกนิกไป 60 ล้านวิว กับยอดแชร์ 230,000 แชร์ น่าทึ่งมาก ๆ แคมเปญเชิงสร้างสรรค์นั้นไม่มีกรอบที่บอกว่าผิดหรือไม่ผิด เป็นการใช้ความครีเอทีฟได้อย่างอิสระ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่าสื่อสารออกมาแล้วผู้บริโภคเข้าใจและถูกใจด้วย เพราะถ้าสร้างสรรค์แล้วแต่พวกเขาไม่เข้าใจที่ทำไปก็ไม่มีประโยชน์

แคมเปญการตลาดบนโทรศัพท์

นักการตลาดหลายคนพยายามสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดบนโทรศัพท์กันมากมาย เพราะอิงจากพฤติกรรมการติดโทรศัพท์ของผู้บริโภค มีข้อมูลเดือนมกราคม ปี 64 จาก Statista มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 4.66 พันล้านคนทั่วโลก จากจำนวนนี้มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์มือถือกว่า 92.6% นั่นแปลว่าหากทำแคมเปญช่องทางนี้จะช่วยให้เข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคได้ง่ายอีกด้วย 

4 แคมเปญการตลาด

ยกตัวอย่างแคมเปญครีเอทของ Apple ปี 2021 ที่สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ได้อย่างท่วมท้น และยังได้แสดงศักยภาพของกล้องตัวเองอีกด้วย โดยถ่ายภาพจากกล้อง iPhone13 ใช้โหมดภาพยนตร์ ถ่ายวิดีโอ เพราะมันทำให้สาวก Iphone13 ต่างพากันแชะภาพอวดกันใน #shotoniphone หากมีภาพไหนที่โดนใจ Apple ก็จะถูกนำภาพไปลงในแอคเคานต์ของ Apple โดยเฉพาะ เป็นการสื่อว่าถ้าใช้กล้อง iPhone ใครก็สามารถถ่ายภาพแบบมืออาชีพได้

หรืออีกตัวอย่างของแคมเปญสุดครีเอทบนมือถือคือ ‘Burn That Ad’ ปี 2019 ของ Burger King ที่ใช้เทคโนโลยี AR บนมือถือเข้ามาช่วยให้ผู้บริโภคเผาโฆษณาคู่แข่งบองแบรนด์ โดยต้องดาวน์โหลดแอปฯ เบอร์เกอร์คิงในการค้นหาโฆษณาคู่แข่ง เพื่อแลกกับการรับ Whopper ฟรี เป็นไอเดียการทำแคมเปญบนมือถือที่เยี่ยมมาก ๆ เลยก็ว่าได้ ได้ทั้งสร้างการรับรู้ สร้างความประทับใจให้ลูกค้า เพิ่มยอดดาวน์โหลดแอปฯ แถมจิกคู่แข่งเบา ๆ ที่ใช้อุปกรณ์แค่มือถืออย่างเดียวเท่านั้นเอง ยิ่งในยุคนี้ที่โทรศัพท์เป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ของผู้บริโภคไปแล้ว ยิ่งง่ายต่อการแคมเปญทำเหลือเกิน

แคมเปญการตลาดบนสื่อนอกบ้าน

แคมเปญสื่อนอกบ้านยุคนี้จะแตกต่างจากเมื่อก่อนแบบสิ้นเชิง เพราะจะเน้นไปที่การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้พบเห็นให้เกิดการพูดถึงหรือแชร์ต่อบนโลกออนไลน์ ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำแคมเปญแนวนี้แล้วบูม สร้างกระแสได้ทุกครั้งคงต้องยกให้ Netflix เลย ไม่ว่าจะโปรโมทหนัง หรือชวนให้คนไปใช้ Netflix ก็กลายเป็นไวรัลตลอด 

ถ้าจะยกตัวอย่างเราขอยกเอาแคมเปญที่ทางแบรนด์ได้ทำขึ้นเพื่อโปรโมทภาพยนตร์เรื่อง ‘The Haunting of Hill House’ ซีรีส์สุดหลอน เมื่อปี 2018 โดยการจำลองบ้านผีสิงบนดาดฟ้าที่ตึกย่านศาลาแดง ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS โดยใช้เทคนิคการยิงโฮโลแกรมให้เห็นภาพผีที่มีความยาวทั้งหมด 2 นาทีต่อหนึ่งครั้ง 

หลังจากมีการแคมเปญออนนี้เพียงไม่กี่ชั่วโมงก็กลายเป็นไวรัลไปทันที เรียกความสนใจจากผู้คนที่พบเห็นได้อย่างมหาศาล จนเกิดการบอกต่อ แชร์ต่อไปยังโลกออนไลน์ ทั้งผู้บริโภคและสื่อต่าง ๆ ก็พูดถึงกันไม่หยุด เรียกได้ว่าพอเห็นแล้วต้องเกิดความรู้สึกอยากไปดูซีรีส์สุดหลอนเรื่องนี้ขึ้นมาเลยทีเดียว

 

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์และนักการตลาดที่อยากนำไปปรับใช้ในการสร้างแคมเปญดี ๆ ให้ผู้บริโภคพูดถึงและแชร์ต่อ แต่ก็อย่าลืมว่าต้องอิงจากกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ในการทำแคมเปญแต่ละครั้งด้วยนะ

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก