Asynchronous Work

Asynchronous Work การทำงานรูปแบบใหม่ ทำที่ไหน ตอนไหนก็ได้

Digimusketeers, 30 March 2022

ปัจจุบันนี้ระบบการทำงานของพนักงานออฟฟิศในไทยนั้นยังคงแบ่งเป็นหลายแบบ เช่น เข้าออฟฟิศทุกวัน เข้าออฟฟิศและทำงานที่บ้านสลับกัน หรือ WFH ทำงานจากที่บ้าน 100% ซึ่งก็แล้วแต่การกำหนดของแต่ละบริษัท และต้องยอมรับว่าบางบริษัทที่ให้พนักงานทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Working) นั้นถูกจริตกับพนักงานเป็นส่วนใหญ่ และยังมีผลวิจัยที่ออกมาบอกว่าการทำงานแบบนี้ช่วยให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น คุณภาพของงานออกมาดีขึ้น 

พอมาถึงในช่วงปี 2022 หลังจากที่เราได้เผชิญกับสถารการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่จบไม่สิ้น นอกจากเทรนด์การทำงานแบบไฮบริดแล้วก็มีเทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่เกิดขึ้น นั่นก็คือ ‘Asynchronous Work’ ที่จะมาตอบโจทย์ในเรื่องของการจัดระบบการทำงานที่ถูกใจชาวออฟฟิศมากขึ้น

 

Asynchronous Work อีกหนึ่งทางเลือกของรูปแบบการทำงาน

Asynchronous Work

Asynchronous Work คือการทำงานที่ไม่ใช่การโต้ตอบสื่อสารแบบทันทีหรือไม่เรียลไทม์นั่นเอง แต่จะเป็นการทำงาน สื่อสารในช่วงเวลาของตัวเอง กำหนดเวลาเองได้ โดยไม่คาดหวังให้เพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้าจะโต้ตอบทันที เป็นรูปแบบการทำงานที่ไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องตอบสนองพร้อมกันในทันที หรือการนัดประชุมงานทุกวัน โดยไม่สนใจไทม์โซนของพนักงานแต่ละคน 

ตัวอย่างขององค์กรที่นำเอา  มาใช้ในระบบการทำงาน คือ Matt Mullenweg CEO บริษัท Automattic ชายที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน WordPress.com ด้วยความที่เขาต้องสื่อสารกับพนักงานตามสาขาในประเทศต่าง ๆ มากมาย ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของเวลาการสื่อสาร เพราะอยู่คนละไทม์โซน จึงเกิดไอเดียเรื่องความยืดหยุ่นมาแก้ปัญหาและถือเป็นประเด็นหลักในการดูแลพนักงาน ตั้งแต่ปี 2005 เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการทำงานอีกต่อไป พนักงานของเขาสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ในช่วงเวลาใดก็ได้ตามหลักการทำงานแบบ Asynchronous Work 

 

ข้อดี-ข้อเสียของการทำงานแบบ Asynchronous Work

Asynchronous Work

ข้อดี – ของการทำงานแบบ Asynchronous Work ก็คือการที่พนักงานออฟฟิศทั้งหลายจะได้ทำงานแบบอิสระขึ้น แต่ก็ยังต้องอยู่ในกรอบของการมีความรับผิดชอบต่องานของตัวเอง ต้องเสร็จตามเวลาที่กำหนด จากที่ต้องประชุมกันทุกวันก็อาจจะลดลงเหลือสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง โดยแจกแจงงานและกำหนดไทม์ไลน์ของการทำงานให้เอียดชัดเจน

ข้อเสีย – การทำงานแบบ อาจทำให้คุณเสียการเสียงาน หรือแปลว่าทำงานไม่เป็นเวลาได้นั่นเอง หากตัวคุณไม่จัดการบริหารเวลาให้ดี รวมถึงงานที่ต้องร่วมกันใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นทีมก็อาจจะดูยากสักหน่อย อาจจะทำได้ไม่ดีเท่าตอนที่ได้คุยกันต่อหน้า 

สุดท้ายการทำงานรูปแบบ Asynchronous Work จะเหมาะแก่การทำงานระยะไกลมากที่สุด แต่พนักงานก็ไม่ควรทำงานแบบ Asynchronous Work มากจนเกินไป เพราะก็ยังมีงานบางส่วนที่ต้องทำเป็นทีมอยู่ รูปแบบการทำงานที่ติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์ก็ยังคงต้องมีอยู่บ้าง เพื่อให้งานนั้นเดินไปอย่างไม่สะดุด

 

Asynchronous Work เหมาะกับใคร ?

Asynchronous Work

การทำงานในรูปแบบ Asynchronous Work อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกองค์กรเสมอไป หรือกับทุกคน ด้วยความที่คุณต้องกำหนดเวลาทำงานด้วยตัวเอง โฟกัสกับงานตอนที่ทำอยู่ได้ ซึ่งสายงานที่เหมาะก็จะเป็นพวก ศิลปิน นักวาดรูป หรือนักเขียน ล้วนแต่เป็นงานที่ต้องใช้สมาธิและความคิดสร้างสรรค์ เลยอาจจะเป็นงานที่แต่ละคนเลือกช่วงเวลาไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าใครชอบทำเวลาไหน และเหมาะกับองค์กรที่ต้องติดต่อสื่อสารกับพนักงานที่ทำงานกันคนละไทม์โซน 

ผลสำรวจจากบริษัทให้คำปรึกษาด้านการจัดการ McKinsey&Company พบว่า ชาวออฟฟิศต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่าความยืดหยุ่นในสถานที่เสียอีก แม้ว่าพวกเขาจะดูสุขใจกับการทำงานแบบ Remote Work ทำงานที่บ้าน แต่สุดท้ายก็ยังต้องการความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลามากขึ้นด้วยอยู่ดี เพราะบางคนทำงานอยู่บ้านก็จริง แต่ก็มีภาระที่คอยต้องจัดการ เช่น เช้าทำงาน บ่ายต้องเลี้ยงลูก แล้วค่อยกลับมาทำต่อตอนเย็นก็กลายเป็นการทำงานที่ไม่เป็นเวลาเท่าไหร่ ดังนั้นความยืดหยุ่นในสถานที่คงไม่พออีกต่อไป

 

Asynchronous Work นั้นจะทำให้คุณสามารถกำหนกเวลาทำงานของตัวเองได้ก็จริง แต่มันก็ขึ้นอยู่กับเนื้องาน สายงานที่ทำอยู่ วัฒนธรรมองค์กรที่คุณอยู่ว่าจะเหมาะกับรูปแบบการทำงานนี้จริงหรือไม่ หรือสามารถนำเอาไปปรับในการทำงานบางส่วนได้ ให้เหมาะสมและได้ประสิทธิภาพกับการทำงานมากที่สุด

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก