เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของปี ก่อนจะทำตลาดหรือวางแผนการตลาดในปีหน้า เรามาทำความรู้จักกับ 4 ลักษณะของกลุ่มผู้บริโภคที่นักการตลาดและแบรนด์ทุกคนต้องเจอในปี 2023 ที่รวบรวมโดย รายงานเรื่อง เจาะเทรนด์โลก จัดทำโดย TCDC
มาดูกันว่าผู้บริโภคทั้ง 4 กลุ่มมีอะไรบ้าง พร้อมแนวทางการทำตลาดกับคนแต่ละกลุ่ม
-
ช้อปเพื่อจุดประกายความสุข
เมื่อสารตั้งต้นของการชอปปิงคือ ความสุข ผู้บริโภคกำลังมองหาสินค้าที่ตอบสนองความต้องการ ปรนเปรอและจุดประกายความสุขให้ตัวเอง เพื่อต่อสู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
ผู้บริโภคกลุ่มนี้คุ้นเคยกับความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเพียงแค่คลิกเดียวและรอ 1-2 วันสินค้าก็มาส่งถึงหน้าบ้าน ดังนั้น แบรนด์จึงต้องควรเพิ่มช่องทางความพึงพอใจในการซื้อสินค้าแบบ Real Time เช่น มีโปรโมชันแบบจำกัดเวลา หรือโปรโมทสินค้าที่ราคาไม่สูงเกินไป เน้นสินค้าที่ไม่ต้องใช้เวลาคิดเยอะ เห็นแล้วพร้อมจ่ายได้เลย และขั้นตอนการจ่ายเงินต้องง่าย ชัดเจน และไร้รอยต่อมากที่สุด
นอกจากนี้ แบรนด์อาจต้องพิจารณาตัวเลือกการชำระเงินแบบ Buy Now Pay Later (BNPL) หรือซื้อก่อนจ่ายทีหลัง แทนการลดราคาในช่วงเทศกาลชอปปิงครั้งใหญ่ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคได้ดี
-
จิตดี พร้อมมีคอมมิวนิตี้บำรุงใจ
การระบาดครั้งใหญ่ทำให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักว่าอะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิต อาจเป็นครอบครัว เพื่อนฝูง ตลอดจนการสร้างคอมมูนิตี้ ในปี 2023 คนกลุ่มนี้จะเข้าสู่สเกลระดับโลก เนื่องจากการกลับมาเป็น ปกติหลังจากการระบาดใหญ่ รวมทั้งความต้องการพื้นที่ที่มากขึ้นและไลฟ์สไตล์ที่เข้าถึงได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ซึ่งทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของความต้องการด้านจิตใจ
แบรนด์สามารถหยิบยื่นประสบการณ์ที่ดีในลักษณะของการเป็นพื้นที่ปลอดภัย หรือพื้นที่การปฏิเสธการทำงานอย่างหนักในช่วง Work from Home ภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย เช่น Uniqlo Singapore เปิดตัวร้าน Uniqlo Town แนวคิดร้านค้าปลีกที่ให้ประสบการณ์จริงแก่นักช้อป ตั้งแต่เรื่องความยั่งยืน งานฝีมือ รวมถึงศิลปะ และวัฒนธรรมท้องถิ่น
การที่แบรนด์ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะด้านอารมณ์และจิตใจ เป็นเสมือนหนึ่งในพื้นที่ปลอดภัย หรือกูรูที่ช่วยแก้ปัญหาและดีลกับความเครียด ความวิตกกังวลที่ต้องเจอ
-
กำหมัดช้อป เมื่อทุกการซื้อคือ การปฏิวัติ
จากรายงานปัจจัยที่ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในปี 2023 โดย WGSN แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่กำลังตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างของสังคม โดยเกิดกระแสการผลักดันให้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ มีการปลุกระดมมวลชนเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน การดำเนินธุรกิจอย่างไร้จริยธรรม รวมถึงการกีดกันคนกลุ่มน้อยออกจากการปฏิบัติงาน ผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การซื้อสินค้าเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
ในทุกการใช้จ่ายของผู้บริโภค จะมอบให้กับแบรนด์ที่ดำเนินงานอย่างโปร่งใส่ กล้าแสดงจุดยืน บริหารบุคลากรด้วยการให้ความสำคัญเรื่องความหลากหลาย มุ่งเน้นเรื่องการจัดระเบียบและสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชน รวมถึงการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของชุมชนและผลักดันให้เกิดการสนับสนุน และการมีส่วนร่วมในธุรกิจท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
รายงานจาก CompareCards ระบุุว่า 38% ของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็น Gen Z และมิลเลนเนียล กำลังคว่ำบาตรบริษัทอย่างน้อย 1 แห่ง เนื่องจากขาดความหลากหลายในการดำเนินธุรกิจตลาดซื้อขายตรงสู่ผู้บริโภค (D2C) เปิดโอกาสให้นักช้อปจับจ่ายได้โดยตรงในธุรกิจกำลังเกิดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจขนาดเล็กสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ โอกาสการลงทุุนเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับธุรกิจที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระยะยาวได้โดยตรง ทั้งในระดับท้องถิ่นและทั่วโลก
-
นักช้อปพันมือ เอฟแล้วพร้อมโอนในทุกแพลตฟอร์ม
กลุ่มผู้บริโภคได้พัฒนาทักษะการทำงานหลายอย่าง (Multitasking Skills) มากขึ้น หลัังจาก 2 ปีที่เผชิญกับวิกฤตที่บังคับให้หลายคนต้องอัปเดตทักษะของตนเองทั้งเรื่องการทำงานไปจนถึงการใช้ชีวิต ส่งผลให้มีความสามารถในการทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ “ประสบการณ์ใหม่” จึงเป็นจุุดหมายปลายทางที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้โหยหาและต้องการไปให้ถึงอยู่เสมอ
ตัวขับเคลื่อนหลักคือ Passion Economy ที่แน่นอนว่าไม่ใช่กระแสเศรษฐกิจใหม่เพราะเหล่าบล็อกเกอร์ Influencer และ Content Creator ทำสิ่งนี้มาตั้งแต่ปี 2000 จากเดิมที่ต้องออกนอกสถานที่เพื่อทำคอนเทนต์ ก็ปรับมาสู่ออนไลน์ จนกลายเป็นเรื่องปกติ เช่น Influencer ที่ใช้ช่องทางออนไลน์ทำคอนเทนต์เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ซื้อสินค้า หรือร่วมมือกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไลฟ์สตรีมในแคมเปญต่างๆ
สิ่งที่แบรนด์ต้องทำเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงคือ การเปิดรับการชำเงินทางดิจิทัลและช่องทาง Omni-Channel เพื่อสร้างประสบการณ์ชอปปิงแบบไร้รอยต่อ
ข้อมูลจาก
รายงานเจาะเทรนด์โลก จาก TCDC