เปิดสู่โลก NFT และ Metaverse โอกาสใหม่และช่องทางธุรกิจ

Digimusketeers, 18 December 2021

นาทีนี้ถ้าไม่คุยกันถึงเรื่อง Metaverse หรือ NFT ก็คงเป็นคนที่ตกยุคไปแล้ว แต่ถ้ามองในมุมของแบรนด์และมาร์เก็ตเตอร์แล้ว จะสร้างโอกาสด้อย่าง? ทั้งนี้ เชื่อว่าหลายคนคงจะเกิดคำถามว่า Metaverse หรือ NFT จะสามารถสร้างโอกาสใหม่ให้ได้จริงหรือไม่ และถ้าใช่จะเริ่มต้นอย่างไร

ดังนั้น บทความนี้จะพาคุณไปพบกับเคล็ดลับ ตัวอย่าง และแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณพัฒนากลยุทธ์การตลาดแบบ Metaverse องคุณเอง

 

Metaverse คืออะไร?

อันที่จริงแล้วคำจำกัดความของมันนั้น อาจจะขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาว่าใครเป็นคนนิยาม เพราะมันค่อนข้างมีหลายความเห็นและค่อนข้างหลากหลาย เช่น ถ้ามองจาก คำนิยามของ พจนานุกรม Oxford ก็จะระบุว่าเป็น “พื้นที่เสมือนจริงที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นและตอบโต้กับผู้ใช้รายอื่นได้”

ในขณะที่ Mark Zuckerberg กล่าวในงาน Connect 2021 ว่า Metaverse เป็น “โครงสร้างเสมือนจริงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแทนที่อินเทอร์เน็ต ผสานชีวิตเสมือนจริงกับชีวิตจริง และสร้างสนามเด็กเล่นใหม่ที่ไม่มีที่สิ้นสุดสําหรับทุกคน คุณจะสามารถทําเกือบทุกอย่างที่คุณจินตนาการได้”

NFT คืออะไร?

NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Token สินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีตัวตน ซึ่งมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ คลิปวิดีโอ ไอเท็มเกมส์ หรือแม้แต่ข้อความบนทวิตเตอร์ ฯลฯ ซึ่งสินทรัพย์เสมือนเหล่านี้ มาพร้อมกับใบรับรองที่แสดงความเป็นเจ้าของและมีอิทธิพลต่อการเติบโตของ Metaverse โดย NFT สามารถถูกซื้อและขายได้ด้วยเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin

Brand เข้าสู่ Metaverse อย่างไร?

อาจจะย้อนไปตั้งแต่ เทรนด์ของการใช้ VR และ AR  ซึ่งเป็นการตลาดดิจิทัลใหม่ และแบรนด์เริ่มที่จะสร้าง Vstores (Virtual Showroom) หรือ โชว์รูมเสมือนจริง ที่ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมและช้อปปิ้งได้ มี Interact ได้ กับโปรดักส์ 3D ไม่ว่าจะเป็น รถ จิวเวอรี่ รองเท้า แจ๊คเก็ต หรือสินทรัพย์ดิจิทัล ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีหลายแบรนด์ที่สร้างงาน Virtual ที่ให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านแว่นตา หรือการแต่งหน้าก็ดี รวมไปถึงการทดลองวางเฟอร์นิเจอร์บนพื้นที่ในบ้าน หรือแม้แต่การจัดอีเวนต์ คอนเสิร์ต เทศกาลศิลปะ เรียกว่าเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยใช้ในโลกจริงไปสู่โลกดิจิทัลได้

ตอนนี้มีหลายแบรนด์ทั้งไทยและต่างประเทศทำกันมากแล้ว ไม่ว่ะจะเป็น  Gucci, Nike, Dior, Balenciaga เป็นต้น ล้วนนําเสนอสินค้าดิจิทัลที่อนุญาตให้ ปรับแต่งเฉพาะตัว หรือปรับแต่งอวตารได้ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋ารองเท้าหมวกหรือแว่นตากันแดด เนื่องจากอวตารที่คุณเล่นในโลกเสมือน ก็ต้องการการเปลี่ยนแปลงตู้เสื้อผ้าตามเหตุการณ์ฤดูกาลและอารมณ์ด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่าง Louis Vuitton สร้างวิดีโอเกมเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอายุน้อย และเล่นเกมด้วยการสะสม NFT ที่ติดแบรนด์ของตัวเอง หรือ NIKE ใช้เทคโนโลยี 3D เพื่อให้ผู้ใช้งาน สามารถสร้างสรรค์และดีไซน์ออกแบบรองเท้า NIKI ในแบบของคุณเองได้เลย

Virtual pop-ups หรือ ร้านป๊อปอัปแบบเสมือนจริง สร้างเอ็นเกจเมนต์ได้

การใช้ประโยชน์จาก Virtual Worlds และการจัดวางแบรนด์สร้างโอกาสที่สร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนไปตามโอกาส โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังการระบาดใหญ่ ซึ่งทำให้เห็นการเข้ามาทำเรื่องนี้ของแบรนด์ต่างๆ มากขึ้น ที่สำคัญยังทำให้เกิดความร่วมมือ Collaboration กันมากมาย

เช่นความร่วมมือระหว่างแบรนด์แฟชั่นกับวงการศิลปะ เช่น Coach, Disney, และ Keith Haring (ศิลปินชื่อดัง) ทั้ง 3 แบรนด์นี้สร้าง Virtual pop-up เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ไปเข้าชม และเลือกซื้อของขวัญในเวอร์ชั่นฟิสิคัล (จับต้องได้) รวมไปถึงของขวัญที่เป็นดิจิทัลกิฟท์

ร้านค้าดิจิทัลจัดแสดงสินค้าที่จะซื้อ เช่น หูของมิกกี้  เสื้อสเวตเตอร์ที่พิมพ์ด้วยงานศิลปะ ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Keith Haring รวมถึงตัวกรอง AR และเพลย์ลิสต์ Spotify ตามความต้องการ

สร้างโอกาสและดึงผู้หญิงเข้าสู่โลกเทคโนโลยีมากขึ้น

อาจจะเป็นแก๊บทางเพศสำหรับกลุ่มเทคโนโลยี ที่มีผู้หญิงอยู่น้อยนิด ทั้งในกลุ่มการตลาดแบบ Metaverse และ NFT ซึ่งพบว่า ในช่วง 21 เดือนที่ผ่านมา มีศิลปินหญิงในวงการ NFT เพียง 5% เท่านั้น จากยอดขายงานศิลปะ NFT ทั้งหมด

ทั้งนี้ ข้อมูลอินไซต์ของ LinkedIn Talent Insights Analysis พบว่าในการประชุม NFT เมื่อเร็วๆ นี้มีเพียง สปีกเกอร์เป็นผู้หญิง 18%  และมีผู้สนับสนุนหญิง 30% เท่านั้น

แต่ก็ใช่ว่าจะสิ้นดาวเด่น ศิลปินหญิงที่โดดเด่นในวงการ NFT ในปีนี้ เธอชื่อ Yam Karkai ซึ่งเปิดตัว NFT คอลเลคชั่นล่าสุด และได้รับความนิยมอย่างสูง พร้อมกับที่เธอถูกยกย่องให้เป็น World of Women เมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา สำหรับคอลเลคชั่นที่เธอปล่อยออกมานั้นมีถึง 10,000 ชิ้น และเป็นตัวแทนของงาน NFT ที่สะท้อนความหลากหลายและความแข็งแกร่งของผู้หญิง โดยมีมูลค่าราว 51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีคนดังผู้หญิงมากมายที่ให้การส่งเสริมผู้หญิงสู่วงการ NFT อาทิ Reese Witherspoon และ Gary Vaynerchuk เป็นต้น

เป็นโอกาสของศิลปิน นักเขียน และอีเวนท์ และช่องทางธุรกิจอื่น

NFT ไม่ได้มีไว้สําหรับศิลปินเท่านั้น ผู้สร้างเนื้อหา Content Creators รวมถึงผู้เขียนผู้สร้างหลักสูตรโค้ช การอบรมสัมมนา และแม้แต่ผู้ผลิตจัดงานอีเวนท์ต่างๆ สามารถร่วมแจมในพลังของ NFT ได้ และสามารถสร้างรายได้จากสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้เขียนสามารถสร้างหนังสือรุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่น ได้ผ่าน NFT และให้โบนัสหรือมูลค่าเพิ่มต่างๆ แก่ผู้อ่านได้เช่นกัน

ผู้ประกอบการนักกลยุทธ์ทางธุรกิจและผู้ก่อตั้ง JVology อย่าง Jay Fiset เริ่มลงทุนใน Bitcoin ในปี 2013 ในฐานะอะแดปเตอร์แรก เขาตระหนักถึงศักยภาพของ NFT และสิ่งที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจของเขาได้ วันนี้ Fiset ทุ่มเทเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนผู้ประกอบการ เกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงพลังของ NFT เพื่อสร้างความแตกต่างและก้าวไปข้างหน้าของเส้นโค้งเทคโนโลยีที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เมื่อเร็ว ๆ นี้เขาเป็นเจ้าภาพ NFT Fridays เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกผู้ประกอบการเกี่ยวกับกระบวนการซื้อและขาย NFTs ที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมหลักสูตรและเนื้อหาพิเศษในรูปแบบอื่น ๆ

ดังนั้น เรียกได้ว่า Metaverse  และ NFT คือพลังขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ หรือเป็นช่องทางใหม่ให้กับธุรกิจได้เลย เพียงแค่คุณมองหามันให้เป็นเท่านั้นเอง.

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก