PDPA คืออะไร

PDPA คืออะไร วงการตลาดยุคใหม่จะปรับกลยุทธ์อย่างไร

Digimusketeers, 4 July 2022

นักการตลาดมือใหม่ หรือนักการตลาดบางคนที่ยังไม่รู้ว่า PDPA คืออะไร มันส่งผลต่อการตลาดออนไลน์ตรงส่วนไหน แล้วตั้งแต่มีการประกาศให้บังคับใช้ PDPA เหล่านักการตลาดจะต้องปรับกลยุทธ์ไปทิศทางไหน มีเรื่องไหนที่นักการตลาด หรือผู้ประกอบการควรรู้ก่อนปรับกลยุทธ์หรือไม่ ไปดูกันเลย

 

 PDPA คืออะไร ?

PDPA คืออะไร

ชื่อเต็มของ PDPA คือ Personal Data Protection Act เป็น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่เคยมีการประกาศบังคับใช้วันที่ 27 พฤษภาคม ปี 63 แล้วมีการเลื่อนบังคับใช้ไป 1 ปี จนกระทั่งมีการประกาศบังคับใช้อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลส่วนตัวก็คือพวก การศึกษา ประวัติการทำงาน ประวัติสุขภาพ เงินเดือน อายุ วันเกิด ที่อยู่ รวมถึงพวกลายนิ้วมือ การบันทึกเสียง หรือข้อมูลในบัตรประชาชน 

ข้อมูลเหล่านี้แหละที่เป็น Data สำคัญที่นักการตลาดต้องการเพื่อเอาไปใช้ในการวิเคราะห์กลยุทธ์ของแบรนด์ให้ตรงความสนใจกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำคอนเทนต์ ทำ Ads การผลิตสินค้า แพ็กแกจสินค้าและอีกมากมาย

 

นักการตลาดทำความเข้าใจเรื่องไหน ?

PDPA คืออะไร นักการตลาดต้องทำความเข้าใจเรื่องไหน

หลัก PDPA ที่นักการตลาดควรรู้ในการนำข้อมูลไปใช้

เป็น 2 หลักการของ PDPA สำคัญสำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดต้องรู้ไว้ในการนำข้อมูลของใครต่อใครไปใช้ว่าควรใช้อย่างไร

1. ใช้เท่าที่จำเป็น

ข้อมูลที่จะเอามาใช้ ควรเอามาใช้แค่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าใช้เกินจำเป็น จำไว้ว่ายิ่งเอามาใช้เยอะ ความเสี่ยงก็เยอะตาม ความรับผิดชอบก็จะมากตามมาด้วยนะ แบรนด์หรือนักการตลาดยอมรับความเสี่ยงในจุดนี้ได้มากแค่ไหน

2. แจ้งเจ้าของให้ทราบ

เราเอาข้อมูลของใครมาใช้ก็แจ้งเจ้าของข้อมูลให้เค้าทราบก่อนว่าเราไปเอาข้อมูลนั้นมาจากไหน ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร รับต่อจากใคร ใช้ข้อมูลตามเท่าที่ตกลงกันไว้หรือไม่ 

คำและความหมายที่นักการตลาดควรรู้ไว้

นอกจากคำว่า PDPA ที่เราพอจะทราบกันแล้วว่าคืออะไร ยังมีคำอื่นนอกเหนือจากนี้ ซึ่งเป็นคำที่ควรรู้ด้วย คือคำเหล่านี้

DP : Data Processor ผู้ประมวลผลส่วนบุคคล

DS : Data Subject เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

DC : Data Controller ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

PDPC : Personal Data Protection Committee คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PII : Personal Identifiable Information ข้อมูลส่วนบุคคล

Sensitive PII : Sensitive Personal Identifiable Information ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว หรือสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในแบบที่ไม่ถูกต้อง เช่น ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ พฤติกรรมทางเพศ ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า หรืออื่น ๆ 

Data แบบไหนที่เอามาใช้แล้วต้องขอ Consent ก่อน

การเอาข้อมูลของคนอื่นจะต้องมีการขอ Consent เจ้าของข้อมูลก่อน คือ การเอาข้อมูลเชิงลึกมา เช่น การทำการตลาดแบบ Targeting ที่ระบุตัวตนผู้รับ แต่ถ้าเป็นการเอาข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างการทำ Data Analytics แบบไม่ต้องระบุตัวตนว่าเป็นใคร เป็นภาพรวม สถิติต่าง ๆ ก็ยังไม่จำเป็นถึงขั้นต้องขออนุญาติจ้า

แจ้งจับปรับ 5 ล้าน เจ้าของข้อมูลได้เงินส่วนนี้หรือไม่ ?

หากแบรนด์หรือเจ้าของข้อมูลอยากไปไล่เช็กว่าใครเอาข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้ แล้วบังเอิญเจอคนขโมย Personal Data ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ อยากจะแจ้งเรื่องก็ย่อมได้ มีโทษปรับสูงถึง 5 ล้านบาทเลยล่ะ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็น Sensitive PII แต่…เงินส่วนนี้ทางเจ้าข้องข้ลมูลจะไม่ได้เงินไปนะ คนที่ได้ค่าปรับคือรัฐบาล 

 

นักการตลาดจะปรับตัวอย่างไร 

นักการตลาดปรับตัวอย่างไรกับ PDPA

ปี 2023 Google แบน Third-Party Cookies บน Chrome

กลายเป็นข่าวใหญ่ทันที เมื่อ Google ประกาศว่าจะแบน Third-Party Cookies บน Chrome เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้งานยุคใหม่ที่เห็นเรื่อง Privacy เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งที่ตัวเองก็มีรายได้หลักมาจากการขายโฆษณาที่ได้ Data จากผู้ใช้งานฟรี ๆ แล้วเอา Data ไปขายให้กับนักการตลาดเพื่อความแม่นยำในการยิง Ads ไปหากลุ่มเป้าหมาย นั่นแปลว่าความแม่นยำนี้จะลดลงไปหรือเปล่า ? แถมยังส่งผลกระทบเป็นคลื่นลูกใหญ่ให้บริษัทมากมายทั้งเล็กและใหญ่ โดยเฉพาะสายเกมที่ให้เล่นฟรีเพื่อแลกกับการเก็บ Data ผู้ใช้

ทำให้ตอนนี้หลายบริษัทรีบเก็บ First-Party Cookies ของตัวเองทันที แม้จะยังไม่รู้ว่าจะเก็บไปแล้วทำอะไรต่อ จำเป็นต้องเก็บขนาดไหนแต่ก็เก็บไว้ก่อน 

Data Strategy

ในขณะที่หลายบริษัทเริ่มเก็บ Data กันเองแล้ว แต่ในองค์กรเองก็ยังไม่ได้ใช้ Data กันแบบเชิงลึกขนาดนั้น แต่มีสิ่งสำคัญที่คุณข้ามขั้นตอนไปหรือเปล่า ? นั่นก็คือคุณต้องตั้งเป้าให้ได้ก่อนว่าจะเก็บ Data ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ไปเพื่ออะไร แล้วค่อยไปคิดกลยุทธ์ที่จะสอดคล้องกับ PDPA ว่าจะเข้าถึงแบบปลอดภัยได้อย่างไรให้ได้ในสิ่งที่ต้องการครบถ้วนและได้ประโยชน์ที่สุด

Contextual Marketing อาจกลับมา

ผู้บริโภคหวงความเป็นส่วนตัวบวกกับ PDPA อาจทำให้กลยุทธ์ Contextual Marketing ในอดีตที่เคยใช้กันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เพราะอาจเวิร์กกว่า! มันคือกลยุทธ์ที่ใส่ใจทุกอย่างรอบตัวของกลุ่มเป้าหมายแบบเรียลไทม์เพื่อเอามาเสิร์ฟสิ่งที่ใช่และตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยที่ยังคงความเป็นส่วนตัวของลูกค้าอยู่เช่นเดิม ไม่ต้องระบุตัวตนว่าเป็นใคร แต่พยายามรู้ใจว่าพวกเขาชอบอะไร แบบไหน ใช้การสื่อสารแบบไหนถึงจะเหมาะ

 

หวังว่าทุกคนจะเข้าใจมากขึ้นว่า PDPA คืออะไร นักการตลาดจะต้องรู้เรื่องไหนเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ในวงการนี้ที่เรื่องของความเป็นส่วนตัวนั้นเข้าถึงยากขึ้น

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก