Rhetorical หลักการพูดจูงใจ

Rhetorical หลักการพูดที่นักสตาร์ทอัพควรรู้ มัดใจนักลงทุน

Digimusketeers, 21 July 2022

การมีวาทะศิลป์ หรือวาทศิลป์ เป็นหนึ่งในสกิลสำคัญที่นักสตาร์ทอัพควรมีมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ที่พึ่งเข้ามาสายนี้ หรือจะเป็นมือเก่าที่เดินทางสายนี้มานานก็ล้วนต้องมีศิลป์ในการพูด เพราะต้องสร้างความน่าเชื่อถือ น่าไว้ใจเวลาพูดกับบรรดากลุ่มนักลงทุนให้พวกเขาเชื่อใจและกล้าที่จะลงเงินระดมทุนสนับสนุนธุรกิจของคุณ วันนี้เราเลยเอาเรื่องที่ว่าด้วยหลักการพูดจูงใจอย่าง Rhetorical มาฝาก 

Rhetorical เป็นกุญแจสำคัญอีกหนึ่งดอกที่นักสตาร์ทอัพควรศึกษาเอาไว้มาก ๆ เพราะคุณจะต้องควักมันออกมาใช้แน่นอน พูดมาขนาดนี้แล้วก็ไปรู้จักกับ Rhetorical กันเถอะว่าคืออะไร มีต้นตอมาจากใครกัน

 

Rhetorical คืออะไร

รู้จัก Rhetorical

Rhetorical หรือที่มักเรียกในภาษาไทยกันว่า ‘วาทวิทยา’ มันคือหนึ่งในศาสตร์ของการพูดจูงใจที่ถูกคิดขึ้นมาโดย ‘อริสโตเติล’ นักวิทยาศาสตร์และนักปราชญ์กรีกโบราณ Rhetorical เป็นการพูดชักจูงใจ โน้มน้าวใจให้คนฟังรู้สึกคล้อยตาม ซึ่งศาสตร์นี้มีมาตั้งแต่ยุคสมัยกรีกโบราณเลยทีเดียว แล้วมีการสืบทอดศาสตร์นี้มาเรื่อย ๆ พร้อมกับมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมโรมันตามยุคสมัยจนมาถึงทุกวันนี้นั่นเอง 

รู้จักที่มาที่ไปของแนวคิดหรือหลักการพูดแบบ Rhetorical กันแล้วก็ถึงเวลาไปเข้าเนื้อเรื่องอย่างองค์ประกอบสำคัญของหลักการพูดแบบ Rhetorical กันต่อเลย

 

หลักการพูด Rhetorical

หลักการพูดแบบ Rhetorical

นักสตาร์ทอัพทั้งหลายจงตั้งใจอ่านในส่วนนี้ให้ดี เพราะองค์ประกอบของ Rhetorical เป็นพ้อยท์สำคัญที่จะทำให้คุณนำเอาแนวคิดหลักการนี้ไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจได้จริง ๆ และยังจะช่วยพัฒนาให้คุณเอาไปปรับใช้เพื่อพัฒนาวาทศิลป์ของคุณเก่งกาจด้วย

การเล่าเรื่องหรือการพูดตามหลัก Rhetorical จะประกอบไปด้วย 3 คีย์หลัก คือ Pathos, Logos และ Ethos นำมารวมกัน ไปดูกันว่าแต่ละคีย์หลักคืออะไร สำคัญอย่างไร

Pathos ความเข้าใจหรือจูงใจทางอารมณ์ผู้ฟัง

ถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจให้ลองนึกถึงคำว่า Emphaty ความเห็นใจเข้าใจคนอื่น นั่นแหละคล้าย ๆ กัน กุญแจดอกที่ 1 ของหลักการ Rhetorical มันคือการรู้จักผู้ฟัง หรือคนที่เรากำลังจะเข้าไปพูดคุย เจรจาด้วย เขาเป็นใคร คาดหวังอะไร ต้องการแบบไหน หรืออีกนัยหนึ่ง Rhetorical ก็คือการสร้างอารมณ์ร่วมเพื่อดึงความสนใจของผู้ฟัง เพราะมนุษย์เรานั้นมีความรู้สึก หรืออารมณ์ร่วมได้ดี มันจึงช่วยสร้างการจดจำ สร้างความประทับใจได้ดีนั่นเอง นอกจากการสร้างอารมณ์ร่วมแล้ว ทางกายภาพก็สำคัญ เช่น อายุ เพศ ภาษาที่ใช้พูดคุย ระดับการศึกษาก็มีส่วนนะ

ลองเริ่มต้นการพูดคุยด้วยการสร้างอารมณ์ร่วมกับผู้ฟัง (คู่เจรจานั่นแหละ) อาจจะเป็นเรื่องหรือประเด็นที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกอินง่าย ๆ แต่เวลาไปพูดกับนักลงทุนก็อย่างพรรณนาเวิ่นเว้อลากยาวไป คนฟังนาน ๆ ก็อาจจะรู้สึกเบื่อ

Logos สร้างหลักแห่งเหตุผลด้วยข้อมูล สถิติ

กุญแจดอกที่ 2 ของหลักการ Rhetorical คือ การสร้างหลักแห่งเหตุและผลที่เหมาะสม มองข้ามไม่ได้เลย เพราะนักลงทุนจะกล้าลงเงินสนับสนุนให้คุณก็ต่อเมื่อมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ สร้างความน่าไว้ใจ ซึ่งข้อมูลที่แสดงแหล่งอ้างอิง ผลวิจัย หรือตัวเลขสถิตินั้นถือเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ได้ ซึ่งการเล่าเรื่องที่แสดงถึงข้อมูลเหล่านั้น คุณสามารถเอาไปเล่าได้หลากหลายมาก ๆ แต่มีอยู่ไม่กี่อย่างที่เล่าแล้วคนฟังจะรู้สึกสนใจ ไม่เบื่อ 

 – การเล่าเรื่องตามระยะเวลา หรือ Timeline เหมาะกับข้อมูลที่ต้องพูดถึงระยะเวลา เช่น กระบวนการ ขั้นตอน หรือการพัฒนาสินค้า บริการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด รวมถึงแผนการในอนาคตที่คิดไว้ด้วย ถ้านำมาเล่าแบบไทม์ไลน์จะช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น 

 – การเล่าเรื่องแบบภาพ เป็นการแปลงข้อมูล สถิติต่าง ๆ ให้ออกมาเป็นภาพ มันดูน่าสนใจกว่าการเอาตัวเลขมากมายมาโยนกันดูแน่นอน ลองเอาข้อมูลเหล่านั้นมาทำเป็นภาพหรือวิดีโอดูสิ น่าดูกว่าเยอะเลย

 – การเล่าเรื่องเชิงเปรียบเทียบ ตามหลักความเป็นจริงมนุษย์เราชอบการเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเรื่องไหนก็มักจะสรรหาไปเปรียบเทียบกันอยู่เสมอ เพราะมันทำให้เห็นความต่างได้อย่างชัดเจน 

Ethos ความน่าเชื่อถือของข้อมูลและตัวผู้พูด

กุญแจดอกที่ 3 ของหลักการ Rhetorical ที่เหล่านักลงทุนนั้นให้ความสำคัญนั่นคือความน่าเชื่อถือของผู้พูด หรือกลุ่มผู้ก่อตั้ง เพื่อดูว่ามีศักยภาพในการขับเคลื่อนไอเดียให้เป็นจริงได้มากแค่ไหน รวมถึงข้อมูลที่ผู้พูดจะนำไปพูดเช่นกัน ซึ่งกุญแจดอกนี้สามารถเล่าได้หลากหลายแบบเช่นเดียวกับ Logos นั่นก็คือ

 – ประสบการณ์ที่ทีมงานเคยลงสนาม หากทีมงานคุณภาพของคุณเคยลงสนามในบริษัทดังมามากมาย คุณก็ควรจะนำประเด็นนี้ไปพูดด้วย

 – รางวัลที่คว้าชัยมาได้ หากทีมคุณผ่านการแข่งขันแบบโชกโชน คว้าชัยชนะมาได้เยอะ โดยเฉพาะงานแข่งขันใหญ่ ๆ ระดับประเทศการนำมาเล่าจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือของทีมได้แน่นอน

 – ผลงานด้านบริหาร เล่าผลงานที่ได้จากการบริหารงาน การได้คอนเนกชันมากมายจะช่วยให้นักลงทุนอาจมองเห็นว่าคุณมีโอกาสที่จะเติบโตไปตามเป้าหมายได้ในอนาคต

หลักการเล่าเรื่องแบบ Rhetorical นั้นมีประโยชน์มากสำหรับสตาร์ทอัพ แต่ก็สามารถเอาไปปรับใช้กับสายอื่นได้ด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียน หรืออื่น ๆ

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก