ทฤษฎี Google E-A-T สำคัญต่อการจัดอันดับบน Google Search หรือไม่?

Digimusketeers, 5 December 2021

เราเรียนรู้มาแล้วว่า Google Search มีพลังและมีอิทธิพลต่อการค้นหาบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งถ้าอยากทำคอนเทนต์ออนไลน์หรือทำธุรกิจออนไลน์ ถ้าอยากจะให้อัลกอริทึ่มของ Google จัดอันดับคอนเทนต์ของเราอยู่ลำดับบนๆ ได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

มีทฤษฏีของเทคนิคที่เรียกว่าการสร้าง E-A-T ซึ่งว่ากันว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ Google ใช้เพื่อกำหนดว่า บทความหรือเว็บไซต์ต่างๆ มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดให้ลำดับค้นหาใน Google  ที่จะมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลง

แต่ก่อนที่เราจะไปวิเคราะห์กันว่า “E-A-T” นั่นช่วยการจัดอันดับใน Google Search ได้จริงหรือไม่ เรามาทำความรู้จักก่อนว่า “E-A-T” คืออะไร

 

 

“Google E-A-T” คืออะไร ?

 

Google E-A-T คืออะไร

 

แน่นอนว่ามันคงไม่ได้แปลตรงๆ ว่า “กิน” แต่มันเป็นการรวมกันของคำย่อ ที่มาจากคำว่า

  •       E (Expertise) ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ
  •       A (Authoritativeness) ความเป็นเจ้าของผลงาน
  •       T (Trustworthiness) ความน่าเชื่อถือของผลงาน

E (Expertise) ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ

ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องทำอาหาร เทคโนโลยีไอที การทำสวน ฯลฯ มันคือความรู้ความเชี่ยวชาญที่เรามี ซึ่งจะดึงดูดความสนใจของคนที่ชอบในเรื่องเดียวกันเข้ามายังคอนเทนต์ของคุณหรือบนเว็บไซต์ของคุณได้ และการที่ Google จะบอกได้ว่าคุณเป็นคนมีความรู้ หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ หรือไม่ มันก็จะสะท้อนผ่านงานที่ผลิตออกมา รวมไปถึงเนื้อหา ข้อมูลที่คุณใช้อ้างอิงหรือนำเสนอ โดยผลงานที่ผ่านมามีการเสนอเรื่องราวที่คุณชำนาญอย่างต่อเนื่องด้วย ก็จะทำให้เสิร์ชเอ็นจิ้นนั้นจดจำได้ว่าคุณมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องอะไร แบบไหน เมื่อมีการเสิร์ชถึงเรื่องนั้น คอนเทนต์ของคุณก็จะปรากฎขึ้นมาทันที

A (Authoritativeness) ความเป็นเจ้าของผลงาน

เป็นอีกเรื่องสำคัญของการเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ ก็คือคุณจะต้องเป็นเจ้าของงานเขียนชิ้นนั้นด้วย ซึ่งสาเหตุของการที่เสิร์ชเอ็นจิ้นอย่าง Google ให้ความสำคัญ ก็เพราะว่าในโลกออนไลน์ เกิดปัญหาเรื่องของการทำคอนเทนต์ลอกเลียนแบบจำนวนมาก ดังนั้น เว็บไหนที่มีการนำคอนเทนต์ของคนอื่นมาจับวางบ่อยๆ จะถูก Google ปรับ Algorithm ให้อันดับร่วงต่ำลง (และว่ากันว่าแม้แต่เจ้าของผลงานชิ้นแรกก็จะถูกดึงอันดับลงด้วยเช่นกัน)

T (Trustworthiness) ความน่าเชื่อถือของผลงาน

สำหรับตัวสุดท้ายคือ T ซึ่งหมายถึงความน่าเชื่อถือในผลงานที่คุณผลิต ซึ่งจะสะท้อนผ่านคอนเทนต์องคุณ หลังจากที่คุณแสดงตัวตนว่ามีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ แล้ว คุณเป็นผู้ผลิตเนื้อหาและผลงานนั้นจริงๆ สุดท้ายก็เป็นเรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็น การที่ไม่ลอกเลียนผลงานใคร ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเสพย์คอนเทนต์ของคุณยอมรับ เมื่อคุณผ่านเกณฑ์นี้ได้ Google ก็จะเริ่มจัดอันดับขึ้นให้อยู่ลำดับบนๆ

นี่คือหลักการคร่าวๆ ที่คนพูดถึง “E-A-T” แล้วก็มาถึงสิ่งที่เรากำลังมุ่งเป้าไป นั่นก็คือแล้วมันมีความสำคัญต่อการจัดอันดับบน Google Search จริงหรือไม่

 

 

“E-A-T” มีผลต่อการจัดอันดับจริงหรือไม่?

 

E-A-T คืออะไร

 

อ่านมาถึงตรงนี้ถ้าบอกว่า E-A-T ไม่ใช่ปัจจัยการจัดอันดับโดยตรงของ Google ก็อาจจะรู้สึกผลิดหวัง แต่อันที่จริงแล้ว มันก็มีสัญญาณอื่นๆ ที่บอกได้ว่า การที่เรามีทั้ง Expertise, Authority, และ Trust ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการช่วยผลักดันการจัดอันดับบน Google

ทั้งนี้ มีหลักฐานที่อ้างอิงว่า Google ให้ความสำคัญถึงหลักการของ E-A-T โดยในปี 2019 ทาง  Google ได้ออกเอกสารไวท์เปเปอร์ ในชื่อว่า “วิธีที่ Google ต่อสู้กับการบิดเบือนข้อมูล” (How Google Fights Disinformation) ซึ่งหนึ่งในท่อนสำคัญมีการระบุถึงเรื่อง E-A-T ถึง 137 ครั้ง ในหลักเกณฑ์การจัดอันดับคุณภาพการค้นหา ดังนั้น สิ่งนี้ก็อาจยืนยันถึงความสำคัญของหลักคิดสำคัญของ E-A-T ได้

อย่างไรก็ตาม ไม่มีเกณฑ์ชี้วัดเดียวในการวัดคะแนน E-A-T ของ Google แต่จะประเมินปัจจัยอื่นๆ ที่วัดได้ ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพของผู้เขียนหน้าเว็บ บนเว็บไซต์ และแพล็ตฟอร์มออนไลน์ของแบรนด์

ทําไม E-A-T จึงมีความสําคัญ ต่อกลยุทธ์ SEO ของคุณ

หากติดตามการทำงานของ Google จะพบว่ามีการปรับอัลกอริทึ่มอยู่หลายครั้ง และมีหลายครั้งทีเดียวที่มีการลดอันดับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ไม่น่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง หรือบางเนื้อหาที่มีการเข้าข่ายสแปมก็จะถูกลดค่าลง เพราะต้องการทำให้การใช้งานของผู้ใช้ปลอดภัยต่อการใช้งานมากที่สุด

แนวทางการทำเว็บให้ผ่านเกณฑ์ E-A-T

 

E-A-T มีแนวทางการทำงานอย่างไร

 

แนวทางทำเว็บให้ผ่านเกณฑ์ Expertise (ความเชียวชาญ)

  • เขียนบทความให้ละเอียดและครอบคลุม บทความควรมีความยาวอย่างน้อย 1,000 คำขึ้นไป เพื่อให้ผู้อ่านได้ข้อมูลครบถ้วน เข้าใจลึกซึ้ง
  • ปรับ On page SEO ทุกหน้า บทความควรได้รับการปรับแต่ง SEO เพื่อให้ Google เข้าใจว่าบทความนั้นเกี่ยวข้องกับหัวข้อใด และจัดอันดับเว็บไซต์ให้สูงขึ้น
  • เขียนบทความให้อ่านรู้เรื่องและน่าสนใจ บทความควรมีการแบ่งหัวข้อย่อย เรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายและเพลิดเพลิน

แนวทางทำเว็บให้ผ่านเกณณ์ Authoritativeness (อำนาจ)

  • ห้ามคัดลอกเนื้อหาจากเว็บอื่นมาใส่เว็บเรา เนื้อหาที่คัดลอกมามักจะมีคุณภาพต่ำ และอาจทำให้เว็บของเราถูกมองว่าไม่น่าเชื่อถือ
  • เนื้อหาควรเขียนเอง แบบสดใหม่คือดีที่สุด เนื้อหาที่เขียนเองจะช่วยให้เว็บของเรามีความโดดเด่น และน่าเชื่อถือมากกว่า
  • ถ้ามีการคัดลอกเนื้อหา ต้องมีการดัดแปลงเนื้อหาให้ดีขึ้นด้วยเสมอ การดัดแปลงเนื้อหาจะช่วยให้เว็บของเรามีเนื้อหาที่มีคุณภาพมากขึ้น
  • ทำเว็บให้เป็นศูนย์กลางของเรื่องๆ นั้น เว็บควรเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ควรเขียนบทความจับฉ่าย
  • ห้ามเขียนบทความจับฉ่าย บทความจับฉ่ายมักจะไม่ลึกซึ้ง และอาจทำให้เว็บของเราดูไม่น่าเชื่อถือ
  • หากเราเป็นเว็บเล็กๆ จะสู้กับเว็บใหญ่ๆ ได้ เราต้องเป็น Expert แค่เรื่องเดียวเท่านั้น เว็บเล็ก ๆ ควรเน้นความเชี่ยวชาญในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับเว็บ
  • มีหน้าเว็บหรือบทความอย่างน้อย 20 หน้าขึ้นไป เว็บควรมีเนื้อหาที่เพียงพอ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาข้อมูลอย่างครบถ้วน
  • วางโครงสร้างคอนเทนต์ให้มีลักษณะเป็น Content Hub Content Hub จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น

แนวทางการทำเว็บให้ผ่านเกณฑ์  Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ)

  • เนื้อหาของบทความต้องเกี่ยวข้องกับคำที่เป็น keyword หลักของธุรกิจคุณเสมอ เนื้อหาควรมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจของคุณ เพื่อให้ผู้ค้นหาสามารถพบเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้น
  • มีบทความใหม่ๆ หรือมีการอัพเดทเนื้อหาบนเว็บให้ดีขึ้นอยุ่เป็นประจำ เนื้อหาควรมีความสดใหม่และทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลล่าสุด
  • การเชื่อมโยงลิงค์ต่างๆ บนเว็บของเรา Google จะเข้าใจเนื้อหาบนเว็บของเราผ่านลิงค์ที่เชื่อมโยงกันไปมา ทั้งลิงค์ภายในและลิงค์ภายนอก

คอนเทนต์แบบไหนที่ไม่เข้าเกณฑ์ E-A-T?

  • คอนเทนต์ที่ไม่คำนึงถึงความเชี่ยวชาญ คอนเทนต์ควรเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ หรือมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ คอนเทนต์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ เช่น บทความเกี่ยวกับการรักษาโรคโดยแพทย์ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ
  • เนื้อหาในส่วนสำคัญมีคุณภาพต่ำ ตัวอย่างเช่น บทความที่มีความยาวเพียงไม่กี่ย่อหน้า บทความที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้อง หรือบทความที่มีภาษาใช้ไม่เหมาะสม
  • คอนเทนต์ที่ไม่เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ คอนเทนต์ควรมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ คอนเทนต์ที่ไม่เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว แต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาหาร
  • มีเนื้อหาหรือโฆษณาเกินจริง สร้างความตื่นตระหนกแก่ผู้อ่าน หรือลิงก์ที่หลอกให้กดคลิก (Clickbait) ตัวอย่างเช่น บทความที่มีหัวข้อว่า “วิธีลดน้ำหนัก 10 กิโลกรัมใน 1 วัน” หรือลิงก์ที่มีข้อความว่า “คุณจะไม่เชื่อเลยว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น”
  • ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไม่มีตัวตนผู้เขียน ตัวอย่างเช่น บทความที่ไม่มีข้อมูลอ้างอิงใด ๆ หรือบทความที่เขียนโดยบุคคลที่ไม่ระบุตัวตน
  • คอนเทนต์ไม่มีตัวตนผู้เขียน คอนเทนต์ควรระบุตัวตนผู้เขียนเพื่อให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้
  • มีเนื้อหาที่กล่าวหา ดูหมิ่น หรือโจมตีผู้อื่นในเชิงลบ ตัวอย่างเช่น บทความที่กล่าวหาว่าบุคคลหรือองค์กรใด ๆ กระทำผิดกฎหมายโดยไม่มีหลักฐาน

 

E-A-T มีหลักการอย่างไร

 

ดังนั้น แล้วหลักการของ E-A-T จากที่เราอธิบายไว้ข้างต้น ก็ไม่ค่อยแตกต่างจากการทำ SEO ซึ่งสากลให้การยอมรับ และเป็นวิธีที่ Google ผลักดันคอนเทนต์ของคุณให้อยู่ลำดับต้นๆ อีกด้วย

ที่สำคัญ E-A-T ก็ยังมีหนึ่งในหลักการที่ Google ให้ความสำคัญยิ่ง นั่นก็คือ ความน่าชื่อถือซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของการสร้างเนื้อหาคอนเทนต์บนเว็บไซต์ ซึ่งตรงกับหลักการที่ Google ต้องการให้บริการหน้าเว็บนั้นมีค่ามากที่สุด เมื่อเทียบกับคําค้นหาที่เฉพาะเจาะจงเพราะนั่นคือวิธีที่ทําให้ผู้คนกลับมาเข้าเว็บของคุณเรื่อยๆ หรือเกิดทราฟฟิกในเว็บอย่างต่อเนื่อง

เพราะฉะนั้น หากคุณต้องการเพิ่มประสิทธิภาพกับกลไกค้นหา (SEO) เพราะหวังผลในความสำเร็จของ Digital Marketing ดังนั้น ทั้ง E-A-T  และ  SEO ก็ควรเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม

 

 

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก:

https://padveewebschool.com/eat-seo-factor/

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก