อยากช่วยโลก แต่ค่าครองชีพแพง กลุ่ม Eco Actives ลดลงเป็นปีแรก

Digimusketeers, 18 October 2022

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทรนด์รักษ์โลกถือว่ามาแรงสุดๆ ผู้บริโภคทั่วโลกต่างหันมาใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากระแสเพื่อไม่ให้ตกเทรนด์ดังกล่าว แต่เมื่อโลกต้องเผชิญกับโรคระบาด หรือภัยพิบัติต่างๆ ทำให้ข้าวของราคาแพงขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้

จากรายงานของ Kantar เรื่อง Who Cares? Who Does? ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 99,000 คน พบว่า ในปี 2022 ผู้บริโภคในกลุ่มที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมีจำนวนลดลง เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น ทุกคนต้องประหยัดและใช้เงินอย่างคุ้มค่า

Kantar ได้แบ่ง Eco Actives เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. Eco Actives คือ ผู้บริโภคที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม และพยายามลดของเสีย นำกลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์ พวกเขาจะมองว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบการกระทำต่างๆ และสร้างความยั่งยืน
2. Eco Considerers คือ ผู้บริโภคที่กังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม และขยะพลาสติก ซึ่งมีความใกล้เคียงกับกลุ่ม Eco Actives เพียงแต่กลุ่มนี้มีความใกล้ชิดกับกลุ่มคนที่ไม่ได้สนใจสิ่งแวดล้อม และไม่ได้ลงมือทำมากเท่ากลุ่มแรก อุปสรรคที่มีผลต่อการลงมือทำเพื่อโลกคือ ความสะดวก และราคาสิ่งของที่เกี่ยวข้องมักมีราคาสูง
3. Eco Dismissers คือ ผู้บริโภคที่มีความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมน้อย หรือไม่สนใจเลย ขาดความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะมองว่าตัวเองช่วยอะไรไม่ได้มาก หรือถึงลงมือทำผลลัพธ์ก็ไม่ดีขึ้น

สัดส่วนของ Eco Actives

จากข้อมูลของ Kantar เผยว่า ในปี 2022 กลุ่ม Eco Actives มีเพียง 18% ลดลงจากปี 2020-2021 ที่มี 22% ส่วนกลุ่ม Eco Dismissers ในปี 2022 มีทั้งสิ้น 44% เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ที่มี 37%
นับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่กลุ่ม Eco Actives ลดลง ปัจจุบัน Eco Actives มีมูลค่าการซื้อสินค้ากลุ่ม FMCG มากกว่า 376 พันล้านดอลลาร์ ส่วนกลุ่ม Eco Considerers มีมูลค่า 766 พันล้านดอลลาร์

ค่าครองชีพ vs สิ่งแวดล้อม

45% ของผู้คนกล่าวว่า พวกเขาเห็นด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่ง กับแนวคิดที่ว่า การสร้างความยั่งยืนเป็นเรื่องยาก เนื่องจากข้อจำกัดทางสังคมหรือทางการเงิน ในทางตรงกันข้าม มีเพียง 15% เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้

มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะใช้เงินเพื่อซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับความยั่งยืนน้อยลง เพราะสินค้ามีราคาสูงและงบของผู้บริโภคก็มีจำกัด ทำให้ผู้บริโภคลดปริมาณการซื้อลง เลือกสินค้าที่ราคาถูกกว่า แต่ยังให้ความสำคัญกับสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ความท้อเป็นเหตุ

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ Eco Actives ลดลง มาจากความท้อแท้ เพราะรู้สึกว่าตนเองลงมือทำเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากพื้นฐานของ Eco Actives มักมองโลกในแง่ดี เชื่อว่าตนเองสร้างความแตกต่างให้กับโลกและคนรอบตัวได้ ทางผู้สำรวจยังพบคอมเมนต์เชิงลบเกี่ยวกับ Eco Actives ค่อนข้างเยอะ

การจัดการปัญหาขยะ

ปัญหาขยะยังคงเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต้องร่วมมือกันแก้ไข การออกกฎหมายของภาครัฐต้องควบคุม ตัวอย่างเช่นใน โคลอมเบีย และฝรั่งเศส ที่มีกฎหมายห้ามแบรนด์สินค้าใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และในฝรั่งเศสมีกฎให้พื้นที่สาธารณะ ต้องมีน้ำดื่มให้บริการฟรี ทำให้ประชาชนต้องใช้ภาชนะของตัวเองมาใส่น้ำ

โอกาสของแบรนด์

จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่หนักหนาหรือลำบากตัวเองมากเกินไป ทาง Kantar เผยว่า 62% ของผู้บริโภคพยายามซื้อสินค้าที่บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 24% หลีกเลี่ยงการซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก

มูลค่าตลาด FMCG

แม้ผู้บริโภค ในกลุ่ม Eco Actives จะลดลง แต่ผู้คนยังต้องซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลเผยว่า มูลค่าตลาด FMCG ทั่วโลกมากถึง 376 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ดังนั้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ต้องพึ่งพาความยั่งยืน ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า

ข้อมูลจาก

https://kantar.turtl.co/story/whocares-who-does-2022-p/page/1

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก