Plant Based Food

Plant Based Food เทรนด์ธุรกิจน่าลงทุนที่สุดในตอนนี้

Digimusketeers, 14 September 2022

‘Plant Based Food’ ทุกคนรู้จักคำนี้กันบ้างไหม? ในมุมมองผู้บริโภคบางคนอาจรู้จัก บางคนก็อาจจะไม่รู้จักก็ได้ แต่ในมุมมองของนักการตลาดหรือคนที่เป็นนักธุรกิจที่ติดตามเทรนด์ใหม่อยู่ตลอดจะต้องรู้จักอยู่แล้วแน่ ๆ ปัจจุบันนี้เทรนด์ของ Plant Based Food กำลังบูมมากขึ้นเรื่อย ๆ และยังเป็นอีกหนึ่งในสายธุรกิจแห่งอนาคตที่น่าจับตามองที่สุดอีกด้วย ซึ่งความจริงแล้วธุรกิจนี้มีแล้วหลายปีแล้ว แต่กระแสพึ่งจะมาแบบเห็นได้ชัดก็เป็นช่วงโควิด-19 นี้เอง

ใครที่ยังไม่รู้…เราจะพาไปทำความรู้จักกับ Plant Based Food กันว่าคืออะไร ส่วนใครที่อยากทำธุรกิจก็ไม่ควรพลาด เพราะเราได้รวบรวมคำตอบที่ว่าทำไมธุรกิจสายนี้ถึงเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนและเป็นเทรนด์แห่งอนาคตที่น่าจับมองมาฝากกัน

 

Plant Based Food คือ

Plant Based Food คืออะไร ?

มีคนเอาไปเหมารวมว่า Plant Based Food ก็คือโปรตีนเกษตร แต่ผิดแล้ว เราจะมาอธิบายความหมายให้ละเอียดชัดเจนให้ทุกคนเข้าใจถูกมากขึ้นนะ

Plant Based Food คือ อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) ไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ ทำจากพืชโปรตีนสูงหลายชนิด เช่น ถั่ว เห็ด อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต สาหร่าย ธัญพืช ฟักทอง และอื่น ๆ ถูกดัดแปลงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การอาหารให้มีรสชาติ รูปลักษณ์ เนื้อสัมผัสและกลิ่นที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ ซึ่งยังคงให้คุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วน ส่วนโปรตีนเกษตรจะมีแค่แป้งถั่วเหลืองที่สกัดไขมันออกไปและรสชาติเท่านั้น

สิ่งที่ทำให้ Plant Based Food มีรสชาติที่อร่อยจนใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์นั้นมาจากการตัดต่อพันธุกรรม (GMO) ในห้องแล็ป หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ‘ฮีม (Heme)’ โดยจะจัดการกับ DNA ของถั่วเหลืองและเพิ่มยีสต์เข้าไป ฮีมนั้นเป็นธาตุเหล็กที่พบได้ในเลืิอดของคนและสัตว์ แต่มีอยู่ในถั่วเหลืองด้วย เมื่อใส่มันลงไปในอาหารที่ทำจากพืชทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติที่เหมือนเนื้อสัตว์ แถมยังได้รับโภชนาการครบถ้วนที่เป็นโปรตีนจากพืชปราศจากสารเร่งฮอร์โมนหรือสารยับยั้งแบคทีเรีย

 

Plant Based Food มีกี่แบบ

Plant Based Food มีกี่แบบ ?

ประเภทของ Plant Based Food จะแยกย่อยไปอีก 3 แบบ

1. Plant Based Meat : จะอยู่ในรูปแบบเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู ไก่ วัว หรือปลา

2. Plant Based Meal : จะเป็นรูปแบบแช่เย็น แช่แข็ง เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว แต่ยังคงมีโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย

3. Plant Based Egg : เป็นรูปแบบที่มีไว้สำหรับกลุ่มคนที่ดูแลสุขภาพ หรือกลุ่มคนที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากไข่ โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ๆ เก็บรักษาได้นาน 

 

Plant Based Food ในประเทศไทย

Plant Based Food ในประเทศไทย

ย้อนไปช่วงแรก ๆ Plant Based Food นั้นเริ่มมาจากทางประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อสิบกว่าปีก่อน ในช่วงแรกก็ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร แต่พอผ่านไม่นานนักผู้คนเริ่มเปิดใจทานมากขึ้น ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ต้องการดูแลสุขภาพ หรืออยากลดการทานเนื้อสัตว์ และอื่น ๆ ทำให้ Plant Based Food มีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปี 2019 มูลค่าตลาด Plant Based Food ทั่วโลก อยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว ๆ 4.98 แสนล้านบาท) และยังมีอัตราการเติบโตถึง 10% ต่อปี 

ส่วนการเข้ามาของ Plant Based Food ในประเทศไทยนั้นก็มาจากกระแสที่บูมในประเทศ 3-4 ปีก่อน ซึ่งช่วงแรกนั้นยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องมาจากการนำเข้าราคาสูงและคนไทยยังไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มากพอ จึงเหมาะกับกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อเท่านั้น บวกกับแบรนด์ที่เข้ามาตีตลาดยังมีน้อย จนมาถึงในช่วงที่โควิด-19 ระบาดส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันมาดูแลสุขภาพเยอะขึ้น และเริ่มมีแบรนด์ใหญ่หลายแบรนด์ เช่น CP, วีฟู้ด, เนสท์เล่และอื่น ๆ มาบุกตลาด Plant Based Food เลยเริ่มมีคนรู้จักและใก้ความสนใจกับ Plant Based Food เยอะขึ้น

ซึ่งปี 2019 Plant Based Food ของไทยมีมูลค่าทางการตลาดมากถึง 2.8 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในปี 2024 มูลค่าจะเพิ่มขึ้นถึง 4.5 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบัน Plant Based Food ก็ได้รับความนิยมอย่างมากในไทย จากผลสำรวจของ Krungthai Compass พบว่า 53% ของผู้บริโภคชาวไทยต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และอีก 45% สนใจที่จะเปลี่ยนไปทานอาหารจากพืช 

 

Plant Based Food ธุรกิจน่าสนใจ 

Plant Based Food โตได้ดี ธุรกิจน่าสนใจ 

ปัจจุบัน Plant Based Food ดูจะมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงน่าจับตามองและน่าสนใจมาก ๆ สำหรับการเข้ามาแจมตลาดนี้ของนักธุรกิจบ้านเรา 

จากผลสำรวจผลพบว่าผู้บริโภคกว่า 47% รับประทาน Plant Based Food อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ในขณะเดียวกันก็มีผู้ประกอบการบางส่วนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารเริ่มทยอยปรับตัวออกผลิตภัณฑ์ หรือเมนูที่เป็น Plant Based Food มากขึ้น ซึ่งในปี 2565 นี้เป็นปีที่ผู้บริโภคมองหาอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพืชมากขึ้น รวมถึงกระแสการปรับปรุงอาหารประเภท Plant Based Food ที่ทำให้รสชาติดีขึ้น ราคาจับต้องได้ หาซื้อได้ง่ายและมีตัวเลือกเยอะขึ้น รวมถึงการพัฒนาของเหล่าบริษัทสตาร์ทอัพทางด้านเทคโนโลยีทางอาหารจำนวนมากที่ทำให้กระแสของ Plant Based Food มาแรง

ตอบรับกับเทรนด์รักสุขภาพที่มากขึ้น

ตั้งแต่มีโควิด-19 เข้ามาส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ดูแลตัวเองและคนรอบตัวมากขึ้นและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อให้มีชีวิตและสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น มีคนไทยบางส่วนซื้อวัตถุดิบมาทำกินเองเยอะขึ้น อาจเป็นโอกาสให้ Plant Based Food เข้ามาอยู่ในความสนใจมากขึ้น พวกเขาอาจจะเลือกมันมาทานจนทำให้อาหารรูปแบบนี้ถูกยกมาเป็นตัวเลือกของคนไทยมากกว่าเดิม เพราะทั้งรสชาติ กลิ่นและเนื้อสัมผัสมีความใกล้เคียงเนื้อสัตว์

กระแส Plant Based Food ที่แปลว่ารักษ์โลก

Plant Based Food มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปกติ 30-90% จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วน 26% ของกลารปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดเลยนะ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ Nature Food บอกว่าอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทั่วโลกตอนนี้มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู้ชั้นบรรยากาศถึง 1-3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ทั่วโลก

และยังมีงานวิจัยบอกอีกว่าระบบการผลิตอาหารตั้งแต่การใช้เครื่องจักรการเกษตร การฉีดพ่นปุ๋ยและการขนส่งทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 17.3 พันล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารนั้นส่งผลเสียต่อสภาพอากาศมากกว่าการปลูกหรือแปลรูปผักผลไม้เสียอีก ด้วยข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้คนนั้นเลือกที่จะมาทาน กันมากขึ้น Plant Based Food เพื่อหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยโลก

Plant Based Food ลดการทารุณกรรมสัตว์

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ Plant Based Food นั้นเติบโตได้ดีและน่าสนใจคือ แนวโน้มของกลุ่มคนที่เป็นสายรักสัตว์ วีแกนทั้งหลายมันมีมากขึ้นทุกปี ทำให้กลุ่มคนรักสัตว์ทั้งหลาย หรือคนที่ต้องการลดการทานเนื้อสัตว์หันมาทาน Plant Based Food มากขึ้น รวมถึงกลุ่มคนที่ทานมังสวิรัติและวีแกนก็หันมาทานแบบนี้แทนเยอะกว่าเดิม เพราะ Plant Based Food นั้นรสชาติดีกว่า อร่อยกว่า แถมยังได้โภชนาการทางอาหารที่ครบเหมือนทานปกติ

 

แม้ว่าตอนนี้ในไทย Plant Based Food จะยังไม่มีมูลค่าสูงเท่าตลาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 ไทยอาจสร้างกำไรได้ระดับ 10-35% และคาดว่ามูลค่าตลาดอาจะแตะถึง 4.5 หมื่นล้านบาทด้วย

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก