จุดประกายการสร้าง Brand Communication ให้แตกต่าง

Digimusketeers, 9 May 2023

ในยุคที่ผู้คนหันมาใช้โซเชียลมีเดียกันมากขึ้นการสื่อสารองค์กร ถือเป็นส่วนสำคัญในการทำตลาดยุคนี้ เพราะเป็นการให้ข้อมูล โน้มน้าวใจ สร้างความน่าเชื่อถือ และแสดงวิสัยทัศน์ของแบรนด์ได้เต็มที่ 

วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักการสื่อสารองค์กร หรือแบรนด์ ให้มากขึ้น

Brand Communication คือ 

Brand Communication คือ การสื่อสารแบรนด์หรือองค์กรที่ใช้การโฆษณา และโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่มีเพื่อสื่อสารกับลูกค้าปัจจุบัน และลูกค้าอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อโน้มน้าวใจลูกค้าให้รู้สึกดีต่อแบรนด์

แนวคิดการสื่อสารแบรนด์ (Brand Communication) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของกลยุทธ์การสื่อสารองค์กร เช่น ป้ายโฆษณา สปอตโฆษณาวิทยุ โฆษณาโทรทัศน์ จดหมายข่าว รวมถึงการสื่อสารของพนักงานที่เป็นตัวแทนขององค์กร ซึ่งรูปแบบการสื่อสารทั้งหมดนี้มุ่งเน้นไปที่ภาพลักษณ์ของแบรนด์ 

องค์ประกอบของ Brand Communication 

แผนการสื่อสารของแบรนด์มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ 

  • กลยุทธ์การสื่อสารโดยรวม ควรคำนึงถึงเป้าหมายองค์กร และเป้าหมายทางการตลาด 
  • กลุ่มเป้าหมาย/ตลาด การสื่อสารที่ดีควรต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน และทำการศึกษาเพื่อหา Insight ของกลุ่มเป้าหมาย
  • มอบคุณค่า ไม่ว่าแบรนด์จะสื่อสารในเรื่องใด สื่อสารผ่านใคร ให้คิดเสมอว่าสิ่งที่แบรนด์นำเสนอต้องมีคุณค่าต่อผู้รับ และมีประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง 
  • ช่องทางการสื่อสาร เลือกช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และงบประมาณ

ความสำคัญของ Brand Communication 

Brand Communication เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทต่างๆ ที่ต้องการสื่อสารบางสิ่งบางอย่างไปยังกลุ่มเป้าหมาย หากแบรนด์ไม่มีกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ ก็มีแนวโน้มที่การสื่อสารจะล้มเหลว การจะกระตุ้นให้ผู้คนซื้อสินค้าหรือบริการ พวกเขาต้องเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างของคุณ

โดยทั่วไปแล้ว การสื่อสารแบรนด์มีสิ่งที่ควรทำอยู่ไม่กี่ข้อ ได้แก่

  • อัปเดต Blog สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • โพสต์คอนเทนต์ในโซเชียลมีเดีย วันละ 2 ครั้ง
  • ส่งอีเมลให้ลูกค้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ปัจจุบันมีหลายช่องทางที่แบรนด์จะสื่อสารกับลูกค้า โดยแต่ละแพลตฟอร์มต้องใช้คอนเทนต์ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับจุดเด่นของแพลตฟอร์มนั้น เมื่อมีการวางแผนและดำเนินการอย่างถูกต้อง Brand Communication จะสร้างผลดีต่อบริษัทในหลายๆ ด้าน ทั้งการขยายกลุ่มเป้าหมาย และสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์กับลูกค้า

สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง

ด้วยการสื่อสารที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย ส่งมอบข้อเสนอที่มีคุณค่า จะทำให้องค์กรได้เปรียบทางการแข่งขัน โดดเด่นกว่าคู่แข่ง และแสดงถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจเดียวกัน

Brand Communication ช่วบสร้างความภักดี

ในมุมมองของลูกค้า แบรนด์ที่สื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ไม่หายไปจากสายตาผู้บริโภค เป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ และสร้างประสบการณ์เชิงบวก ซึ่งในระยะยาวจะได้รับการสนับสนุนต่อเนื่อง

ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ

การสื่อสารแบรนด์ช่วยในเรื่องการออกแบบและพัฒนาสินค้า หากแบรนด์สื่อสารสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ทั้ง Feedback เกี่ยวกับสินค้าและบริการ เสียงตอบรับจากลูกค้า ซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาสินค้าใหม่ และขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มใหม่ๆ ได้ด้วย

5 ขั้นตอน สร้างกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ (Brand Communication)

  1. กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์การสื่อสารองค์กร เช่น ต้องการเปิดตลาดใหม่ ขยายฐานลูกค้า หรือต้องการให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น จากนั้นค่อยกำหนดวิธีการที่จะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยใช้แผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับทุกภาคส่วนของธุรกิจ ตั้งแต่การตลาด ไปจนถึงการพัฒนาสินค้าใหม่

ทั้งนี้ การตั้งเป้าหมาย ควรเป็นเป้าหมายที่ทำให้ธุรกิจไปต่อได้ มีกรอบเวลาชัดเจน เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และต้องวัดผลได้

  1. ระบุกลุ่มเป้าหมาย จากการเก็บข้อมูล หรือทำวิจัยตลาด (Market Research) เพื่อให้คุณรู้ว่าใครคือคู่แข่ง ใครคือผู้บริโภค พวกเขามีความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมอย่างไร ในขั้นนี้คุณจะเริ่มเข้าใจว่าควรสื่อสารแบบใดที่จะไปถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 
  2. สร้างคอนเทนต์ที่ใช่ เมื่อได้วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายแล้ว ขั้นต่อมาคือ การพัฒนาคอนเทนต์ที่ใช่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นคอนเทนต์ตามกระแส แต่เป็นคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ ให้พลังมหาศาล เช่น คอนเทนต์ให้ความรู้ ไม่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา (Evergreen Content) 
  3. วางแผนการสื่อสารองค์กร (Brand Communication) เลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ กำหนดความถี่ในการสื่อสาร ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
  4. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ต่อเนื่องจากข้อก่อนหน้า การตั้งเป้าหมายต้องวัดผลได้ และถ้าเป็นตัวเลขก็จะยิ่งดี เช่น ต้องการยอดขาย 3 ล้านบาท ภายใน 3 เดือน

ตัวอย่างแผนการสื่อสารองค์กร (Brand Communication)

ภาพจาก https://brandfolder.com/resources/brand-communications/

ตัวอย่างการสื่อสารแบรนด์

การสื่อสารแบรนด์สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ป้ายโฆษณา Out-of-Home โฆษณาทางโทรทัศน์ โฆษณาทางโซเชียลมีเดีย และอื่นๆ 

  • Starbucks เปิดตัวโฆษณาทางโทรทัศน์ เน้นความสนุกสนาน และความเชี่ยวชาญด้านกาแฟตัวจริง สะท้อนความเป็นแบรนด์ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่  (https://youtu.be/u3ybWiEUaUU)
  • Nike ใช้โซเชียลมีเดียถ่ายทอดตัวตนของแบรนด์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน และภาพโฆษณาที่มีสีสัน

ภาพจาก https://dribbble.com/shots/13984906-Nike-Social-Media-Design

Brand Communication เป็นโฆษณาหรือไม่

สิ่งสำคัญในการทำ Brand Communication คือ การสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่า เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย และทำให้พวกเขารู้จักแบรนด์มากขึ้น ซึ่งคอนเทนต์ที่ผลิตตามแนวคิดของกลยุทธ์ Brand Communication คือ การทำโฆษณา และ Content Marketing ให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกดีต่อแบรนด์ และอยากเข้ามาหาเอง

หัวใจของการทำ Brand Communication คือ การทำคอนเทนต์ไปให้คนที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสม แต่ไม่ใช่การยัดเยียดโฆษณา จนทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกรำคาญ หรือมีความคิดเชิงลบต่อแบรนด์

อย่างไรก็ตาม การสื่อสารแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องร่วมมือกับหลายทีม อาทิ นักพัฒนาเว็บไซต์, Content Writer, Graphic Design ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO และนักการตลาดออนไลน์ ซึ่งบางองค์กรที่มีพนักงานไม่เยอะ อาจไม่มีทีมที่ครอบคลุมการสื่อสารแบรนด์ทั้งหมด การจ้างทีมงานเพื่อดูแลการสื่อสารจึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ธุรกิจ

ดิจิมัสเกตเทียร์มีทีม Strategic & Media Planning & Brand Communication ที่ให้บริการวางแผนกลยุทธ์และสื่อสารการตลาด เราพร้อมใช้ Data Analysis วิเคราะห์พฤติกรรมเชิงลึกเพื่อเข้าใจ Insight ผู้บริโภค และสื่อสารแบรนด์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง

ปรึกษาเรื่องการทำตลาดออนไลน์กับเราได้ที่ LINE @digimusketeers

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก