ในปัจจุบันทุกคนคงมีความคุ้นเคยกับคำว่า “สื่อออนไลน์” อย่างแน่นอน เนื่องจากไม่ว่าสื่อใดๆ ก็จะพูดถึงหัวข้อนี้อยู่เสมอ แต่บางครั้งก็อาจมีคนที่ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับความหมายจริงๆ ของ สื่อออนไลน์ว่าหมายถึงอะไร ในวันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของสื่อออนไลน์มาฝาก เพื่อให้คุณมีความรู้และตามเทรนด์ปัจจุบันทัน
สื่อออนไลน์ หมายถึงอะไร?
สื่อออนไลน์ หมายถึงสื่อดิจิทัลประเภทหนึ่งที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool) โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สื่อสารระหว่างบุคคลในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์ รวมถึงโปรแกรมประยุกต์ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตบนสื่อต่าง ๆ โดยต้องการให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเนื้อหา (User-Generated Content: UGC) ในรูปแบบของข้อมูล ภาพ และเสียงขึ้นเอง
ข้อดี-ข้อเสียของสื่อออนไลน์
ในยุคปัจจุบันสื่อออนไลน์เป็นสื่อที่เข้าถึงผู้รับสารได้เร็วที่สุด และยังมีประโยชน์อย่างมาก แต่ในทางกลับกันถ้าผู้ใช้หรือผู้รับสารใช้สื่อออนไลน์ไม่ถูกต้อง ก็อาจเกิดข้อเสียได้เช่นเดียวกัน โดยข้อดีและข้อเสียของสื่อออนไลน์มีตามดังต่อไปนี้
ข้อดีของสื่อออนไลน์
คือเผยแผ่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์ได้ทันท่วงที: สื่อออนไลน์ช่วยให้การเผยแผ่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์เป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องรอนานเหมือนกับการลงโฆษณาในทีวี วิทยุ หรือโปสเตอร์ต่างๆ ตามที่สาธารณะต้องการ
- เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายง่ายกว่า: สื่อออนไลน์ช่วยให้การเข้าถึงกลุ่มผู้รับสารที่เราต้องการสื่อถึงเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สะดวกและรวดเร็ว: ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สื่อออนไลน์สามารถใช้งานได้ทุกเมื่อที่เราต้องการ และไม่ต้องรอให้ถึงเวลาหรือวันหยุด
- ไม่มีวันหยุด: สื่อออนไลน์ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของวันและเวลาทำงาน สามารถใช้งานและเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา.
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร: การใช้สื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ รวมทั้งความเข้าใจในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
- การตัดสินใจง่ายขึ้น: สื่อออนไลน์ช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เช่น การเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้า และการเรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นก่อนตัดสินใจ
ข้อเสียของสื่อออนไลน์
คือทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ในโลกความเป็นส่วนตัวมากเกินไป: การใช้สื่อออนไลน์อาจทำให้ผู้ใช้งานเข้าอยู่ในโลกที่มีความเป็นส่วนตัวมากเกินไป
- การละเมิดศีลธรรม: บางคนอาจเลือกที่จะโพสต์หรือค้นหาเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดศีลธรรมหรือขัดต่อความสุภาพ เพื่อความบรรเทิงส่วนตัว
- เป็นช่องทางของมิจฉาชีพ: สื่อออนไลน์อาจเป็นพื้นที่สำหรับมิจฉาชีพต่างๆ ที่อาจมีการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือทำสิ่งผิดกฎหมาย
สื่อออนไลน์ มีกี่ประเภท?
สื่อออนไลน์นั้นมีมากมายหลายประเภท โดยจะแตกต่างกันไปตามลักษณะและการใช้งาน ดังนี้
1. Weblogs หรือ blogs
เป็นสื่อส่วนบุคคลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น หรือบันทึกส่วนตัว โดยสามารถแบ่งบันข้อมูลเหล่านี้กับผู้อื่นเพื่อให้เข้าไปอ่าน หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้
2. Social Networking หรือ เครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต
เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างกลุ่มสังคม และแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลในหลายๆ ด้าน เช่น ธุรกิจ การเมือง และการศึกษา
3. Micro Blogging
เป็นเว็บเซอร์วิสหรือเว็บไซต์ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเขียนข้อความสั้นๆ ประมาณ 140 ตัวอักษรที่เรียกว่า “Status” หรือ “Notice” เพื่อแสดงสถานะของตัวเอง เช่น กำลังทำอะไรอยู่ หรือแจ้งข่าวสารต่างๆ ให้กับกลุ่มเพื่อนในสังคมออนไลน์
4. Online Video
คือเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยเนื้อหาที่นำเสนอในวิดีโอออนไลน์นั้นไม่มีการจำกัดผังรายการที่ตายตัว จึงทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามและชมวิดีโอได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเลือกชมเนื้อหาที่อยากดูได้ และสามารถเชื่อมโยงไปยังวิดีโออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย
5. Photo Sharing
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการฝากรูปภาพ โดยสามารถอัปโหลดและดาวน์โหลดรูปภาพจากในเว็บนี้ เพื่อนำมาใช้งานได้ อีกทั้งยังใช้เป็นพื้นที่ในการนำเสนอและขายรูปภาพที่นำไปฝากได้อีกด้วย
6. Wikis
เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge) ซึ่งผู้เขียนส่วนใหญ่อาจจะเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยผู้ใช้สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลในเว็บนี้ได้ตลอดเวลา
7. Virtual Worlds
คือการสร้างโลกจินตนาการโดยจำลองส่วนหนึ่งของชีวิตลงมาในรูปแบบสื่อออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะใช้พื้นที่ตรงนี้ เพื่อพูดคุยหรือสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตในลักษณะโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่อาจเป็นบุคคลทางด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา หรือองค์กรด้านสื่อ โดยการเข้าใช้บริการอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อพื้นที่ เพื่อให้บุคคลในบริษัท หรือองค์กรสามารถนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ไปยังกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้สื่อออนไลน์ได้
8. Crowd Sourcing
เป็นหลักการที่นำความร่วมมือของบุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งทำให้อยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ที่มุ่งเน้นในการค้นหาคำตอบ และแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านธุรกิจ การศึกษา หรือการสื่อสาร โดยขอความร่วมมือจากบุคคลในเครือข่ายสังคมมาช่วยตรวจสอบข้อมูล เสนอความคิดเห็น หรือให้ข้อเสนอแนะ กลุ่มคนที่มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลอาจเป็นประชาชนทั่วไป หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางพิเศษในภาคธุรกิจหรือด้านอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน
9. Podcasting
โดย Podcasting เป็นการบันทึกเสียงและรูปภาพ แล้วนำเนื้อหานั้น ๆ มาเก็บไว้ในหน้าเว็บเพจเพื่อแบ่งปันให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งพวกเขาสามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้งานได้
สรุปแล้วสื่อออนไลน์หมายถึงแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ใช้เชื่อมโยงคน เพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหา สร้างเครือข่าย และกระจายข่าวสาร แต่ทั้งนี้ควรใช้สื่อออนไลน์ด้วยความระมัดระวังไม่เช่นนั้น อาจเกิดผลเสียต่อตนเองและคนในสังคม
ขอบคุณเนื้อหาจาก:
https://cs.bru.ac.th/comsci-social-media/
https://docs.google.com/document/d/1NXXQCHO8OdixHYW3LctFjOjJLRU901cICpkQfTf4Zho/preview?hgd=1