ในยุคปัจจุบันสื่อออนไลน์กำลังมาแรงอย่างมาก โดย Digital Marketing เป็นอีกหนึ่งเทคนิคทางการตลาดในการทำธุรกิจ เพราะไม่ว่าใครก็ต่างใช้ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ในการติดตามข่าวสาร การรับชมสื่อบันเทิงต่าง ๆ หรือแม้แต่การสนทนากับกลุ่มเพื่อน ดังนั้นหากต้องการ ให้การทำ Digital Marketing ประสบความสำเร็จก็จำเป็นต้องส่งสารให้ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยอาศัยช่องทางเดียวกัน และวางแผนให้ดี
สำหรับบทความวันนี้จะพูดถึงกลยุทธ์ในการทำตลาดออนไลน์หรือ digital marketing plan คืออะไร? digital marketing plan มีขั้นตอนการทำอย่างไร?
Digital marketing plan คืออะไร?
Digital marketing plan คือการวางกลยุทธ์ทำการตลาดบนช่องทางออนไลน์ เพื่อบรรลุเป้าหมายให้เป็นไปตามที่มีการคาดหวังไว้ ได้แก่ การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก การเพิ่มลีด (Lead Generation) หรือเพิ่มยอดขาย และอื่น ๆ อีกมากมาย digital marketing plan นี้ ก่อนเริ่มต้นคิดแผนงานทั้งหมด นักการตลาดต้องทำการประเมินช่องสื่อออนไลน์ทุกประเภทที่จำเป็นต้องใช้ก่อน เพื่อที่จะสามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างเพียงพอ
Digital marketing plan มีประโยชน์อย่างไร?
นักธุรกิจหลายคนอาจรู้สึกว่า “การลงมือทำ” มีความสำคัญมากกว่าการ “วางแผน” เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรมต่าง ๆ อาจขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ชมวิดีโอ (VDO Views) ระดับความสนใจ (Engagement) หรือการเข้าชมเว็บไซต์ (Website Traffic) อย่างไรก็ตามการวางแผนก่อนการดำเนินการเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
เพราะจะช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมและแก้ไขข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า ก่อนที่จะมีผลกระทบในขณะที่ดำเนินการจริง อีกทั้งยังช่วยให้คุณวางแผนการจัดการงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหางบบานปลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำไรของธุรกิจอีกด้วย
Digital marketing plan ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
ต่อไปนี้จะเป็นแนวทางการทำ digital marketing plan แบบคร่าว ๆ โดยจะมีการวางแผนพื้นฐาน 7 ขั้นตอน ดังนี้
- รู้จักธุรกิจของตัวเอง เพื่อให้คุณทราบว่าคุณจะขายสินค้าหรือบริการชนิดใด
- รู้จักลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการเสนอสิ่งที่คุณขาย
- กำหนดวัตถุประสงค์ของการตลาดและตัวชี้วัดผล (KPI) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ในการตลาด
- ออกแบบเส้นทางการตัดสินใจของลูกค้า (Customer Journey) เพื่อเข้าใจและให้ความสำคัญในขั้นตอนต่างๆ ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ
- เลือกใช้ช่องทางและสื่อในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจและกลุ่มเป้าหมาย
- เลือกกลยุทธ์สื่อหรือโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์การตลาด
- นำทั้งหมดมาออกแบบเป็นแผนการตลาดที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปติดตามและปรับปรุงได้ในอนาคต
- การทำกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลอย่างเหมาะสมและครบถ้วน จะช่วยเสริมสร้างฐานลูกค้าและส่งเสริมการขายให้กับธุรกิจของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ
5 ขั้นตอนการทำ digital marketing plan
ในปัจจุบันสามารถเห็นได้ว่าแทบทุกแบรนด์ได้เริ่มมาทำการตลาดแบบ “Omnichannel” หรือการเข้ามาใช้ “Digital Marketing” กันมากยิ่งขึ้น ซึ่งนี้ทำให้นักการตลาดต้องรับมือและปรับตัวมากขึ้นเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้นเราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับขั้นตอนในการทำ digital marketing plan ที่มีประสิทธิภาพกัน
1. การตั้งเป้าหมาย
ขั้นตอนแรกในการทำ digital marketing plan คือการตั้งเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการ เพื่อให้เกิดกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของเป้าหมายได้ ในขั้นตอนนี้มีสิ่งสำคัญที่ควรมีอยู่ในการกำหนดเป้าหมาย ได้แก่
1.1 Brand Statement เป็นขั้นตอนในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์เพื่อใช้ในการสื่อสารต่อไป
1.2 Value proposition คือการกำหนดคุณค่าของแบรนด์ให้ชัดเจน เพื่อบ่งบอกว่าสินค้าและบริการของเราสามารถแก้ปัญหาและมีประโยชน์ให้กับลูกค้าอย่างไร และทำไมลูกค้าควรเลือกซื้อจากบริษัทของเรา
1.3 KPI (Key Performance Indicator) คือการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละช่องทางของการตลาด โดยต้องเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้จริงตามหลัก SMART Goal ซึ่งหมายถึง
- Specific (เฉพาะเจาะจง): กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนและมีความชัดเจน
- Measurable (วัดผลได้): กำหนดเป้าหมายที่สามารถวัดผลและประเมินได้
- Achievable (เป้าหมายที่เอื้อมถึง): กำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้ตามทรัพยากรที่มี
- Relevant (เป้าหมายที่สอดคล้อง): กำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ
1.4 Timed (มีการกำหนดเวลาชัดเจน): กำหนดเวลาที่ต้องการในการบรรลุเป้าหมาย
2. สร้าง Brand Awareness
หลังจากที่กำหนดเป้าหมายชัดเจนแล้ว เราจะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ การสร้างความรู้จักให้แบรนด์(Brand Awareness) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและยอดขาย โดยแนวทางในการสร้าง Brand awareness ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่มีดังนี้
2.1 สร้างคอนเทนต์ที่ให้ความรู้
สร้างเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจในรูปแบบของบทความ อินโฟกราฟิก หรือวิดีโอที่สามารถแบ่งปันความรู้ให้กับผู้ติดตามและเปิดโอกาสให้กับความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ของเรา
2.2 Give away หรือสร้างเคมเปญ
สร้างกิฟอเวย์หรือเคมเปญให้กับสินค้าทดลองใช้ฟรี เพื่อเสริมสร้างความน่าสนใจและสนุกสำหรับกลุ่มเป้าหมาย
2.3 ทำ SEO (Search Engine Optimization)
การพัฒนา SEO เพื่อให้แบรนด์ของเราติดอันดับสูงในการค้นหา จะสามารถเพิ่มโอกาสให้เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ มากขึ้น
3. สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบและรู้จักแบรนด์ของเราแล้ว ขั้นตอนถัดไปเป็นการสร้างความสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นความสนใจในแบรนด์ โดยกระทำบางสิ่งตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการติดต่อหรือปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์ของเรา ขั้นตอนนี้อาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้
3.3 การติดตามช่องทางต่างๆ ของแบรนด์
แบรนด์ควรติดตามและเป็นติดตามช่องทางต่างๆ ที่กลุ่มเป้าหมายใช้ในการติดตามข้อมูลและอัปเดตในระบบโซเชียลมีเดีย หรือช่องทางอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความน่าสนใจในแบรนด์และสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
3.4 การกด Download E-book จากแบรนด์
สร้าง E-book ที่น่าสนใจและมีความรู้มากมาย เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายทำการดาวน์โหลด E-book จากแบรนด์ เพื่อให้เกิดความสนใจและความตั้งใจในการรับข้อมูลและความรู้จากแบรนด์
3.5 การเข้ามาอยู่ในฐาน Database บน E-mail Marketing
สร้างกลยุทธ์การตลาดทางอีเมลที่น่าสนใจและมีข้อมูลที่คุ้มค่า เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมและลงทะเบียนเข้าใช้ฐานข้อมูลของแบรนด์ผ่านช่องทาง E-mail Marketing
4. เปลี่ยนความสนใจให้กลายเป็น Conversion
ขั้นตอนต่อมาเป็นขั้นตอนสำคัญที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือการเปลี่ยนความสนใจในแบรนด์จากสภาพที่เคยอยู่มาเป็นขั้นตอน “Conversion” หรือการนำไปสู่ยอดขาย โดยขั้นตอนนี้เราจะทำให้ผู้ติดตามที่กดติดตามแบรนด์ของเราอยู่แล้วให้กลายมาผู้ซื้อสินค้าจากแบรนด์ของเราค่ะ และมีแนวทางในการดำเนินการหลากหลายรูปแบบ เช่น
- ออกโปรโมชั่นสำหรับสินค้าที่คุ้มค่า น่าสนใจและน่าซื้อ
- ลงคอนเทนต์โปรโมทสินค้าบนช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ
- นำเสนอเนื้อหาที่สร้างจากลูกค้าเก่าของแบรนด์ (UGC – User-generated content)
5. สร้างความสัมพันธ์ที่มีต่อแบรนด์ในระยะยาว
ขั้นตอน “Engage” เป็นส่วนที่สำคัญในการสร้างความมีส่วนร่วมต่อแบรนด์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งเราเรียกกลุ่มลูกค้าที่กลายเป็นแฟนตัวยงของแบรนด์ว่า “Loyalty Customer” หรือลูกค้าที่ซื้อซ้ำในอนาคต โดยตัวอย่างของ Loyalty Customer มีดังนี้
5.1 การทำ Retargeting
การนำข้อมูลลูกค้าที่เคยเข้าชมและแสดงความสนใจในสินค้าหรือบริการของเรามาใช้ในการโฆษณาซ้ำในภายหลัง ทำให้ลูกค้าย้อนกลับมาสนใจและมีโอกาสทำการซื้อในอนาคตสูงขึ้น
5.2 การสร้าง Community
การสร้างชุมชนหรือกระทู้สนทนาที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของเราบนโซเชียลมีเดีย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกับลูกค้า ทำให้เกิดความคุ้นเคยและผูกพันกับแบรนด์มากขึ้น
5.3 การจัดกิจกรรมสำหรับลูกค้าประจำ
การจัดกิจกรรมหรือโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าที่เป็นสมาชิก เพื่อให้พวกเขารู้สึกเป็นสิ่งพิเศษและได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากแบรนด์ของเรา
ตอนนี้คุณเข้าใจแล้วว่า digital marketing plan คืออะไรแล้ว และหากนำกลยุทธ์ต่าง ๆ ไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณ เราเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายของคุณได้อย่างแน่นอน โดยเราแนะนำว่าควรหาเอเจนซี่ที่รับทำ digital marketing plan โดยตรง
ถ้าคุณกำลังหาผู้ช่วยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการทำ digital marketing plan สามารถติดต่อสอบถาม หรือปรึกษากับ DigiMusketeers ได้เลย เราพร้อมช่วยเพิ่มโอกาสในการขายและสร้างแบรนด์ของคุณให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น