อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากในยุคนี้ จัดเป็นอีกกลุ่มคนที่มีส่วนในการช่วยกระตุ้นการตลาดของแบรนด์ รวมถึงการผันตัวเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในยุคนี้ก็ง่ายดาย เพียงแค่รู้จักการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แต่หลายคนอาจมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ที่บทความนี้เราจะมาเฉลยกันแบบเจาะลึกทุกประเด็น
5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคดิจิทัลแบบนี้ทุกคนสามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้ง่ายมาก ๆ รวมถึงทุกคนต่างต้องเคยได้ยินเรื่องราวมุมต่าง ๆ เกี่ยวกับเหล่าผู้ทรงอิทธิพลในโลกโซเชียลมีเดียเหล่านี้กันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของอินฟลูเอนเซอร์เช่นกัน
วันนี้เรามาดู 5 ความเชื่อผิด ๆ ที่แบรนด์หรือคนทั่วไปมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือการตลาดอินฟลูเอนเซอร์กัน โดยเริ่มจากความเชื่อแรกกันเลย
- อินฟลูเอนเซอร์ จะทำงานให้ฟรีถ้ามีของ
เรื่องนี้ถือเป็นความเข้าใจผิดอันดับต้น ๆ ซึ่งไม่เป็นความจริงแน่นอน เพราะต่อให้ไม่ใช่อินฟลูเอนเซอร์ ไม่ว่าใครก็ไม่อยากทำงานฟรี ๆ กันทั้งนั้น แล้วถ้ายิ่งเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีทั้งยอดผู้ติดตามจำนวนมาก มีภาพลักษณ์ของตัวเองที่สร้างมา ก็คงไม่คุ้มค่ากับการแลกฟรี ๆ กับสินค้าที่ได้รับ เพราะการโปรโมท 1 ครั้ง จะเป็น digital footprint ตลอดไป และแบรนด์นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งแต่อินฟลูเอนเซอร์ได้รับเพียงสินค้าชิ้นนั้นตอบแทนครั้งเดียว ซึ่งถ้าเปรียบเทียบความคุ้มค่าแล้วอินฟลูเอนเซอร์ระดับบนจนถึงระดับกลางที่มี Value สูง มักจะไม่รับเงื่อนไขแบบนี้ในการทำงาน
- ถ้าคอนเทนต์ไหนอินฟลูเอนเซอร์เอ่ยปากชม แปลว่าถูกจ้างโดยแบรนด์
ช่วงหลังมานี้อินฟลูเอนเซอร์มักถูกจับตามองเป็นพิเศษเมื่อเอ่ยปากแนะนำสินค้า หรือชื่นชมผลิตภัณฑ์ใดเป็นพิเศษ โดยส่วนใหญ่คนมักจะตีตราว่าสิ่งที่อินฟลูเอนเซอร์ออกปากชมว่าดี คุ้มค่า คุ้มราคา มักจะเป็นการถูกจ้างให้ชมสินค้าจากทางแบรนด์ ซึ่งเป็นการตลาดที่เห็นได้บ่อยจนผู้บริโภคจับทางได้ในช่วงที่ผ่านมาและสร้างความรู้สึกด้านลบทำให้การตลาดอินฟลูเอนเซอร์แบบนี้น้อยลงมาก ๆ ในปัจจุบัน เพราะผู้บริโภคมีวิจารณญาณมากพอ ซึ่งการที่อินฟลูเอนเซอร์ชื่นชอบ หรือชื่นชมสินค้า ก็อาจจะมาจากความชอบจริง ๆ ไม่ได้ชมเพราะถูกว่าจ้างเสมอไป
- การใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่มียอดผู้ติดตามมาก ๆ มักจะได้ผลดีต่อการสร้างแคมเปญ
ข้อนี้เชื่อว่าหลายแบรนด์ต้องเคยคิดว่าการที่เราเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามเยอะ ๆ หลักแสนหลักล้าน ย่อมมีประสิทธิภาพต่อยอดขายและการเข้าถึงมากกว่าการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ระดับกลาง หรือนาโนอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งความจริงแล้วตัวเลือกนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อแคมเปญเสมอไป
เพราะถ้าหากเน้นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามเยอะแต่สไตล์ ภาพลักษณ์ ไม่ได้เหมาะสมกับสินค้าหรือแบรนด์ ก็ไม่สามารถสร้าง Impact ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้เต็มที่ อาจจะสร้างการรับรู้ สร้างยอดเอนเกจเมนต์ และสร้างยอดขายได้ไม่มากเท่าการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ผู้ติดตามไม่สูงมาก แต่มีผู้ติดตามที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์จริง ๆ
- อินฟลูเอนเซอร์ ไม่ต้องมีบรีฟ
ถึงแม้ว่าเราจะเห็นว่าอินฟลูเอนเซอร์ส่วนใหญ่จะพูดเก่ง สดใส ทำให้เผลอคิดไปว่าเราไม่จำเป็นต้องมีบรีฟให้เวลาจ้างงาน เพราะมั่นใจว่าอินฟลูเอนเซอร์จะพูดและแนะนำสินค้าออกมาได้ตามที่เราต้องการนั้นเป็นเรื่องที่ผิดและเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดมาก ๆ ถ้าหากว่าเราต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์นำเสนอสินค้าหรือบริการออกมาตรงตามความต้องการ เราก็จำเป็นจะต้องมีข้อมูลหรือมีบรีฟ สโคปการพูด การแนะนำ ที่เราต้องการเป็นตัวช่วยให้การทำงานของอินฟลูเอนเซอร์ง่ายขึ้น และออกมามีความเป็นมืออาชีพ แนะนำได้ชัดเจน มั่นใจ น่าเชื่อถือ และไม่เป็นปัญหาให้ต้องถ่ายแก้และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในอนาคตด้วย
- อินฟลูเอนเซอร์ ไม่ใช่คนทำสื่อมืออาชีพ
หลายคนอาจจะยังยึดติดอยู่กับค่านิยมเดิม ๆ ว่าสื่อมืออาชีพต้องหมายถึงโปรดักชันรายการทีวี มีพิธีกร สตูดิโอครบถ้วนถึงจะเรียกว่ามืออาชีพ แต่จริง ๆ แล้วอินฟลูเอนเซอร์ในยุคนี้แทบไม่ต่างอะไรกับสื่อมืออาชีพในจอทีวี เพราะอินฟลูเอนเซอร์จะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านการใช้สื่อ การคิดเนื้อหาคอนเทนต์ สตูดิโอ ทีมงานสำหรับการตัดต่อวิดีโอ ภาพนิ่ง ต่าง ๆ ออกมาให้มีความเป็นมืออาชีพเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของอินฟลูเอนเซอร์แต่ละสายงาน อินฟลูเอนเซอร์ที่มีความเชี่ยวชาญก็คือคนทำสื่อที่มีความเป็นมืออาชีพไม่ต่างจากสื่อหลักทั่วไปเลย
อินฟลูเอนเซอร์ ในยุคนี้ ยังจำเป็นอยู่ไหม ?
แม้เราจะผ่านยุคทองของอินฟลูเอนเซอร์มาแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอินฟลูเอนเซอร์ถือเป็นสายอาชีพที่ยังมีความจำเป็นไม่น้อยไปกว่าช่วงก่อน ๆ ที่ผ่านมา เพราะพฤติกรรมเสพสื่อออนไลน์ของคนในยุคปัจจุบันนั้นยังคงอยู่ไม่ได้หายไปไหน รวมถึงการเติบโตของ E-commerce ที่ขยายกว้างและมีช่องทางหลากหลายมากขึ้น แพลตฟอร์มต่าง ๆ มีการจัดโปรกระตุ้นยอดขายถี่ขึ้น ไม่ว่าจะวันเลขเบิ้ล วัน Payday ฯลฯ ซึ่งการกระตุ้นยอดขายและการซื้อสินค้าก็ต้องเริ่มมาจากการทำให้สินค้าเป็นที่นิยมหรือถูกพูดถึงก่อนในโลกออนไลน์ ซึ่งคนที่สามารถนำสินค้าเข้าสู่ช่องทางโซเชียลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ “อินฟลูเอนเซอร์” ที่มีหลากหลายระดับ หลายสไตล์ และมีวิธีการแนะนำ tie-in หรือ Review ที่มีชั้นเชิงแตกต่างกันไป จึงปฏิเสธไม่ได้ว่างานอินฟลูเอนเซอร์ ยังเป็นที่ต้องการและมีความจำเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันนี้ และมีแนวโน้มว่าจะยังมีความจำเป็นต่อเนื่องไปในอนาคตด้วย
สรุป
สำหรับอินฟลูเอนเซอร์นั้นถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญของการทำการตลาดในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย หลากหลาย และมีประสิทธิภาพ แต่หลายคนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสายงานอินฟลูเอนเซอร์ที่เราได้ไขข้อสงสัยและให้ความจริงเกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์กันไปแล้ว และถึงแม้จะผ่านยุคทองของอินฟลูเอนเซอร์มาแล้ว แต่อินฟลูเอนเซอร์ก็ยังมีความจำเป็นและมีความสำคัญกับโลกการตลาดในปัจจุบันและในอนาคตต่อไปอย่างแน่นอน
FAQ เกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์
ข้อควรระวังในการเลือกใช้การตลาดอินฟลูเอนเซอร์
แม้ว่าการทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์นั้นเป็นเรื่องที่อาจจะช่วยให้แบรนด์ประสบความสำเร็จในด้านการสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขาย แต่ก็มีข้อควรระวัง ดังนี้
- ชื่อเสียงด้านดี-ด้านเสีย ของอินฟลูเอนเซอร์ที่เลือกใช้
- อินฟลูเอนเซอร์ร์อาจสร้างเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดกระแสด้านลบ
- พิจารณาจำนวนผู้ติดตาม ยอดเอนเกจเมนต์ กลุ่มเป้าหมายที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์ก่อนตัดสินใจเลือก
- ทำสัญญาขอบเขตการทำงานและการจ่ายเงินระหว่างแบรนด์กับอินฟลูเอนเซอร์ให้ชัดเจน ป้องกันการเรียกเงินเพิ่มและงานไม่มีประสิทธิภาพ
ประเภทของอินฟลูเอนเซอร์
ก่อนตัดสินใจทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ เราต้องเข้าใจประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ให้ชัดเจนก่อนเพื่อเลือกประเภทที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ การสร้าง impact และความคุ้มค่าต่อการลงทุน
- Nano Influencer (ผู้ติดตาม 1,000-10,000 คน) ใกล้ชิดกับผู้ติดตาม ทำให้สร้างความน่าเชื่อถือได้ดี
- Micro Influencer (ผู้ติดตาม 10,000-100,000 คน) มีแนวเฉพาะด้าน มีฐานแฟนคลับ
- Macro Influencer (ผู้ติดตาม 100,000-1,000,000 คน) การแนะนำจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในวงกว้าง
- Mega Influencer (ผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป) เป็นที่รู้จักในวงกว้าง สร้างการรับรู้ได้ทั้งระดับในประเทศและนอกประเทศ
จ้างอินฟลูเอนเซอร์แพงไหม
ราคาจ้างหรือเรตการ์ดของอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งเรตจากจำนวนผู้ติดตาม วิธีการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ประเภทของคอนเทนต์ และอื่น ๆ เช่น หากเป็น Nano Influencer จะอยู่ที่หลักร้อยถึงหลักพันบาท แต่ถ้าขยับขึ้นไประดับ Macro Influencer จนถึง Mega Influencer เรตก็จะแตะหลักหมื่น-แสนบาทขึ้นไป ตามดีลและข้อตกลงการโพสต์งานระหว่างบริษัทกับอินฟลูเอนเซอร์
ถ้าคุณคือเจ้าของธุรกิจ ที่กำลังมองหาอินฟลูเอนเซอร์ Digimusketeers เรามีบริการ Influencer & KOLs Marketing สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านรูปแบบการตลาดอินฟลูเอนเซอร์และ KOL ตอบโจทย์ธุรกิจ และทำให้ลูกค้าค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายมากขึ้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
สิ่งที่ได้รับจากบริการการตลาดอินฟลูเอนเซอร์และ KOLs ที่ดิจิมัสเกตเทียส์
- จัดหาอินฟลูเอนเซอร์ และ KOLs ตามวัตถุประสงค์ที่แบรนด์ต้องการ พร้อมให้คำแนะนำและดูแลการทุกขั้นตอน โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน Influencer & KOLs Marketing ตัวจริง
- คิดกลยุทธ์การโฆษณาผ่านอินฟลูเอนเซอร์และ KOLs บนแพลตฟอร์มที่เหมาะสม
- วิเคราะห์ สรุปผลข้อมูลให้แบรนด์ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต
โปรโมตแบรนด์ธุรกิจให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
แอดไลน์เพื่อปรึกษาเราฟรี
อ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อินฟลูเอนเซอร์