ในยุคโซเชียลที่ Mobile App กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน หลายคนไม่ได้ใช้เพียงแค่เพื่อติดต่อสื่อสาร หรือเล่นเกม แต่ยังใช้เพื่อสร้างรายได้แบบจริงจัง วันนี้เราจะมาพูดถึง 5 วิธีสร้างรายได้จากโมบายแอปพลิเคชัน ที่สามารถเริ่มต้นได้ง่ายและทำรายได้จริง มาเริ่มกันเลย
วิธีสร้างรายได้ผ่านโมบายแอปพลิเคชันมีอะไรบ้าง
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า สมัยนี้การเล่นแอปไม่ใช้เพื่อความบันเทิงอีกต่อไป เมื่อโลกเปลี่ยนคนเลยต้องเปลี่ยนตาม อย่างวลีที่ว่า โทรศัพท์เครื่องเดียวก็หาเงินได้ เรามี 5 ช่องทางมาแนะนำว่ามีอะไรบ้าง
ทำแบบสอบถามผ่าน Google Opinion Rewards
หากคุณชอบตอบคำถาม หรือแบบสอบถาม Google Opinion Rewards คือตัวเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะ การใช้ App นี้ช่วยให้คุณสร้างรายได้ผ่านการตอบแบบสอบถามที่รวดเร็วและง่ายดาย โดยคุณจะได้รับรางวัลเป็น Google Play Credits หรือเงินผ่าน Paypal
จุดเด่น Google Opinion Rewards
- ได้เงิน $0.10 – $1.00 ต่อแบบสำรวจ
- ใช้งานง่าย เพียงแค่ตอบแบบสอบถามในเวลาว่าง
- แบบสำรวจหลากหลายและตรงประเด็น
แนะนำว่าคุณควรตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ได้แบบสอบถามใหม่ๆ ที่มีรางวัลสูงขึ้น
ขายความเห็นผ่าน Survey Junkie
Survey Junkie เป็นอีกแอปหนึ่งที่ช่วยให้คุณหาเงินจากการตอบแบบสอบถาม แต่เพิ่มความยืดหยุ่นด้วยการแลกรางวัลได้หลากหลาย เช่น บัตรของขวัญ Amazon, Visa, Starbucks หรือเงินสดผ่าน Paypal
จุดเด่น Survey Junkie
- สะสมคะแนน 100 แต้ม แลกเงิน $1 ได้ทันที
- ทำแบบสอบถามได้ตั้งแต่ 5 นาทีถึง 30 นาที
- แลกแต้มได้ง่ายเมื่อสะสมครบ 500 คะแนน
เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยเปลี่ยนเวลาว่างให้เป็นรายได้เสริม
เขียนบทความกับ Blockdit
ใครที่ชอบเขียนบทความ ใช้ App Blockdit คือคำตอบ เพราะเป็น ใช้ Appหาเงินที่ตอบโจทย์สายครีเอทีฟ แอปนี้ให้คุณรับรายได้จากบทความที่มีคุณภาพผ่านการให้เพชร หรือ Ads Monetization
จุดเด่นของ Blockdit:
- ผู้ติดตามเกิน 1,000 คน สามารถเปิดปุ่ม “หารายได้” ได้
- สร้าง Premium Post เพื่อให้คนจ่ายก่อนอ่าน
- รับส่วนแบ่งค่าโฆษณา
ทุกเพชรที่คุณได้รับสามารถแลกเป็นเงินสดได้ โดยเพชร 1 เม็ด มีมูลค่า 0.3 บาท
หาเงินกับ Upwork for Freelancers
สำหรับชาวฟรีแลนซ์ที่มีทักษะเฉพาะด้าน Upwork for Freelancers เป็นแหล่งรวมงานจากนายจ้างทั่วโลก ไม่ว่าคุณจะถนัดเขียนโปรแกรม ออกแบบกราฟิก หรือเขียนบทความ ก็สามารถหารายได้เสริมผ่านแอปนี้ได้
สิ่งที่ทำให้ Upwork น่าสนใจ:
- มีงานหลากหลาย เช่น ออกแบบเว็บไซต์ เขียนโค้ด หรือแปลภาษา
- ลงทะเบียนง่าย พร้อมระบุเรตค่าแรงที่คุณต้องการ
- ระบบช่วยป้องกันการโกงด้วยสัญญาผ่านแอป
แค่คุณมีโปรไฟล์ที่น่าสนใจและผลงานดีๆ ก็สามารถเพิ่มโอกาสได้รับงานที่ดีได้ไม่ยาก
สร้างรายได้จาก TellScore
ถ้าคุณเป็นสายอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามบนโซเชียล ใช้ App TellScore จะช่วยให้คุณเปลี่ยนผู้ติดตามเป็นรายได้ ด้วยการรับงานรีวิวสินค้าและบริการต่างๆ
ข้อดีของ TellScore:
- อินฟลูเอนเซอร์ระดับเล็ก (Nano) ก็เริ่มได้
- รับงานตรงจากแบรนด์คุณภาพ
- รับเงินเมื่อมีรายได้สะสมเกิน 1,500 บาท
คุณสามารถเลือกรับงานรีวิวที่ตรงกับความถนัด และสร้างรายได้จากสิ่งที่คุณชอบ
สร้างรายได้จากการเขียนแอป
วิธีการนี้จะจริงจังด้านบนที่แนะนำไป แต่เป็นการสร้างรายได้ผ่านโมบายแอปพลิเคชันเหมือนกัน มาดูกันดีกว่ามีโมเดลอันไหนน่าสนใจบ้าง
1. Paid App: เสียเงินซื้อตั้งแต่แรก
วิธีนี้อาจฟังดูเรียบง่าย แต่ต้องวางแผนอย่างดีเพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน Paid App เป็นโมเดลที่ต้องการให้ผู้ใช้จ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลดแอปก่อนใช้งาน หากแอปพลิเคชันของคุณมีจุดขาย เช่น ดีไซน์ที่น่าสนใจ หรือฟีเจอร์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง คุณก็สามารถใช้โมเดลนี้ได้
เคล็ดลับการใช้โมเดล Paid App ให้ประสบความสำเร็จ:
- เน้นทำการตลาดด้วยรีวิวจากผู้ใช้รายแรกๆ
- สร้างโปรโมชัน เช่น ลดราคาช่วงเปิดตัว เพื่อกระตุ้นยอดดาวน์โหลด
- เพิ่มคุณค่า เช่น รวมเนื้อหาพิเศษ ฟีเจอร์เด่นที่ไม่มีในแอปฟรี
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือแอป MOODA ซึ่งเป็นแอปจดบันทึกอารมณ์ แม้จะเป็นแอปเสียเงิน แต่กลับได้รับความนิยมเพราะใช้งานง่ายและฟีเจอร์ที่เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
2. Subscription Model: จ่ายน้อยๆ แต่จ่ายนานๆ
โมบายแอปพลิเคชัน หลายแอปหันมาใช้ระบบ Subscription ที่ช่วยสร้างรายได้แบบต่อเนื่อง เช่น Netflix หรือ Spotify ที่ให้บริการบนพื้นฐานของการเก็บค่าบริการรายเดือน ผู้ใช้ยอมจ่ายเพราะมองว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับ
วิธีนำ Subscription มาใช้ใน Mobile App:
- เสนอระยะทดลองใช้งานฟรี 7-30 วัน เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจก่อนสมัครสมาชิก
- มีแพ็กเกจหลากหลาย เช่น รายเดือน รายปี พร้อมส่วนลด
- เพิ่มเนื้อหาหรือฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสมาชิก
ข้อดีของโมเดลนี้:
- รายได้ต่อเนื่องระยะยาว
- เข้าใจผู้ใช้มากขึ้นจากข้อมูลที่เก็บระหว่างการสมัคร
- ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้ใช้
ตัวอย่างเช่น Headspace แอปฝึกสมาธิ ที่มอบฟีเจอร์ขั้นสูงเฉพาะสมาชิกเท่านั้น
3. In-App Purchase: อยากได้ของเพิ่มก็จ่ายมาได้เลย
ถ้าคุณกำลังสร้างแอปเกมหรือแอปที่สามารถเพิ่มฟีเจอร์พิเศษได้ In-App Purchase คือคำตอบ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การซื้อไอเทมในเกมมือถือ หรือการปลดล็อกฟีเจอร์ในแอปที่ให้ดาวน์โหลดฟรี
การใช้ In-App Purchase ใน Mobile App อย่างมีประสิทธิภาพ:
- ใช้หลักจิตวิทยา เช่น การตั้งราคาเป็นเลขกลมๆ เช่น 99 บาท
- เสนอไอเทมแบบจำกัดเวลา (Limited Offer) เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจ
- เพิ่มไอเทมพิเศษที่ผู้ใช้รู้สึกว่าจำเป็น เช่น การเพิ่มพลังในเกม
ตัวอย่างเช่น เกมยอดฮิตอย่าง Angry Birds 2 ที่มีฟีเจอร์ In-App Purchase สำหรับซื้อไอเทมหรือปลดล็อกด่านพิเศษ
4. Advertising Model: ใช้ฟรี แต่รายได้มาจากโฆษณา
แอปหลายแอปที่ใช้งานฟรี มักสร้างรายได้มหาศาลจากโฆษณา เช่น Facebook หรือ YouTube วิธีนี้ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้แอปของคุณได้โดยไม่มีอุปสรรคด้านราคา
วิธีใช้ Advertising Model อย่างมีประสิทธิภาพ:
- แสดงโฆษณาแบบพอดี ไม่รบกวนการใช้งาน เช่น โฆษณาแบบ Banner หรือ Reward Ads
- ใช้ระบบ Personalization เพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้
- จัดวางโฆษณาให้เหมาะสมกับ UI/UX เพื่อไม่ทำให้ผู้ใช้รำคาญ
ข้อควรระวัง: อย่าแสดงโฆษณามากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้เลิกใช้งานแอป ตัวอย่างที่ดีคือ YouTube ที่ให้คุณข้ามโฆษณาได้หลังจาก 5 วินาที
และนี่คือ 4 วิธีสร้างรายได้จากการเขียนแอปที่ช่วยดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้ามาซื้อหรือสมัครสมาชิก สร้างรายได้อย่างมั่นคงผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน ที่ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล
การหารายได้จาก Mobile App ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ไม่ว่าคุณจะชอบตอบแบบสอบถาม ขายไอเดียผ่านการเขียนบทความ หรือเป็นฟรีแลนซ์ที่เก่งงานสายเฉพาะ การเลือกโมเดลที่เหมาะสมกับตัวเองคือกุญแจสำคัญ แอปเหล่านี้ช่วยให้คุณเปลี่ยนเวลาว่างให้เป็นรายได้เสริม และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพในอนาคตของคุณก็ได้
FAQ เกี่ยวกับวิธีสร้างรายได้จาก Mobile App
Mobile App ใดเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหารายได้?
- Google Opinion Rewards เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะใช้งานง่ายและได้เงินทันทีจากการตอบแบบสอบถาม
Blockdit ต้องมีผู้ติดตามเยอะแค่ไหนถึงเริ่มหารายได้?
- ผู้เขียนใน Blockdit ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1,000 คนสามารถเปิดฟีเจอร์ “หารายได้” ได้ทันที
Upwork ปลอดภัยสำหรับฟรีแลนซ์หรือไม่?
- ปลอดภัย เพราะทุกข้อตกลงต้องผ่านระบบสัญญาของแอป ช่วยป้องกันการโกงจากนายจ้าง
In-App Purchase กับ Subscription Model ต่างกันอย่างไร?
- In-App Purchase เป็นการจ่ายเงินซื้อสินค้าเฉพาะครั้ง เช่น ไอเทมในเกม ส่วน Subscription Model เป็นการจ่ายค่าบริการรายเดือนหรือรายปี
หากคุณคือเจ้าของธุรกิจที่สนใจสร้างแบรนด์ผ่านการสร้างแอปพลิเคชัน เพิ่มมูลค่า พาธุรกิจปัง Digimusketeers ขอแนะนำบริการ Mobile Application Development คิดค้นพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ทุกระบบปฏิบัติการ Android/ iOS ที่ตรงใจคุณ ออกแบบ UX/UI ดีไซน์สวยงามและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ปลอดภัยและได้มาตรฐานในทุกขั้นตอนการพัฒนาและใช้งาน พัฒนาแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์แบรนด์ธุรกิจคุณ ติดต่อ 02-047-0088 หรือ แอดไลน์เพื่อปรึกษาเราฟรี
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับ แอปพลิเคชัน