กลยุทธ์ของบริษัท Apple

เปิดคัมภีร์กลยุทธ์ของบริษัท Apple ที่ครองใจผู้บริโภคได้เสมอ

Digimusketeers, 22 September 2022

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2022 ที่ผ่านมาทาง Apple ก็พึ่งเปิดตัวโปรดักส์ใหม่ไปหมาด ๆ ในตลาดโลกก็รู้กันดีว่า Apple นั้นเป็นแบรนด์ที่ทำยอดขายได้ดีและถูกจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของแบรนด์ชั้นนำเสมอ รวมถึงประเทศไทยเช่นกัน แม้ว่าราคาสินค้าที่เปิดตัวใหม่จะถูกอัพให้แพงขึ้นอยู่ทุกปีจนบรรดาแฟน Apple ชาวไทยนั้นบ่นกันหนาหูว่าแพงสุด ๆ แต่พวกเขาก็ยังยอมควักเงินจ่ายอยู่ดี และยังเป็นแบรนด์ที่มีความต้องการซื้อสูงในหมู่ผู้บริโภคยุคใหม่ หลายคนคงเห็นกระแสในโซเชียลเชิงที่ว่า ‘ยอมขายไตเพื่อเอาเงินมาซื้อไอโฟน’ อยากรู้กันไหมว่าราคาก็แพงแสนแพง ทำไมผู้บริโภคถึงยอมจ่ายเพื่อให้ได้มาครอบครองสินค้าของ Apple กันนะ ?

วันนี้เราจะพาทุกคนมาเปิดคัมภีร์กลยุทธ์ของบริษัท Apple กันว่าพวกเขาใช้กลยุทธ์การตลาดอะไร มีแนวคิดอย่างไร วางหมากแบบไหนเพื่อครองใจผู้บริโภคในตลาดนี้ได้มายาวนาน ไปดูเลย

 

กลยุทธ์ของบริษัท Apple

ประวัติ (ฉบับย่อ) แบรนด์ Apple

Apple นั้นก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1976 เป็นแบรนด์สัญชาติอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดแบรนด์หนึ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ปัจจุบันมีผู้บริหาร (CEO) ชื่อว่า ‘Tim Cook’ สร้างรายได้ทั่วโลกมากว่า 260,000 ล้านเหรียญ มีโปรดักส์หลากหลายและทำยอดขายได้ดีเกือบทุกตัว เช่น iPhone, iMac, iMac Pro, iBook, Mac Pro, MacBook, iPad, iPod Touch, Apple TV, Apple Watch และอุปกรณ์เสิรมอื่น ๆ ซึ่งสินค้าแต่ละตัวของแบรนด์นั้นก็ถือว่ามีการพัฒนาฟังก์ชันที่ปฏิวัติวงการเทคโนโลยีไปเลยก็ว่าได้

 

กลยุทธ์ของบริษัท Apple

ถอดแนวคิดผู้บริหาร Apple

CEO คนปัจจุบันของ Apple ‘Tim Cook’ นั้นมีสิ่งที่เขาจะทำอยู่เสมอในทุก ๆ วัน คือหลังตื่นนอน เขาจะนั่งเช็กอีเมลและอ่านความคิดเห็นของลูกค้าทุกคน เพราะเชื่อว่าทุกความเห็นจากคนนอก ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ Apple มาก ๆ ไปดูแนวคิดการบริหารองค์กรของเขาซึ่งก็ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของบริษัท Apple กันดีกว่า

กล้าเสี่ยงเพื่อความสำเร็จ

เราทุกคนรู้ว่าทุกการลงทุน หรือลงมือทำอะไรก็ตามนั้นมีความเสี่ยงเสมอ เมื่อเราตัดสินใจทำแล้วมันไม่เวิร์กก็อาจจะทำให้คุณล้มเหลว แต่ถ้ามันเวิร์กนั่นก็อาจเป็นบรรไดสู่ความสำเร็จในอนาคตก็ได้ และคุณจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อคุณเริ่มทำมันเท่านั้น การเป็นผู้นำคุณก็ต้องกล้าเสี่ยง เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ตั้งไว้

เชื่อในสิ่งที่ทำ

ในช่วงแรกของการเป็นผู้นำ ตัวอาจจะคิดว่าตัวเองนั้นไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ และไม่คิดว่าจะทำมันได้ดีแบบคนอื่น เหมือนกันกับ ‘Tim Cook’ ในช่วงแรกที่เขาได้ขึ้นมาสานต่อ CEO ของ Apple ก็มีความคิดแบบนั้น เพราะบุคลิกของเขาไม่เหมือนกับสตีฟ จอบส์ แต่เขาเลือกใช้จุดแข็งของตัวเอง และทำงานให้สำเร็จด้วยวิธีการที่ตัวเองถนัด มันทำให้เขาเชื่อในการตัดสินใจของตัวเอง

สร้างความเชื่อมั่น

เพราะ Apple เป็นบริษัทนวัตกรรม Tim Cook จึงไม่ปิดกั้นตัวตนของพนักงานในองค์กร เพื่อดึงศักยภาพที่ดีที่สุดของแต่ละคนออกมาให้ได้มากที่สุด และสร้างความมั่นใจให้ทุกคน นี่เป็นกลยุทธ์ของบริษัท Apple ที่จะนำพาองค์กรไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่ต่างจากเดิม 

ไว้ใจและรับฟัง

ผู้นำขององค์กรต้องให้ความสำคัญกับทุกความเห็นของคนในทีม การได้เป็นผู้นำไม่ได้แปลว่าคุณเก่งและรู้เยอะกว่าทุกคน และหยุดที่จะเรียนรู้ ซึ่งการเปิดใจรับฟังจะช่วยให้การเป็นผู้นำนั้นประสบความสำเร็จได้ไวขึ้น ถือเป็นกลยุทธ์ของบริษัท Apple ที่แบรนด์อื่นน่านำไปใช้มาก ๆ นะทุกคน

ยอมรับข้อผิดพลาด

การจะเป็นผู้นำที่ดีได้ก็ต้องกล้ายอมรับข้อผิดพลาดและใช้มันเป็นบทเรียน เพื่อจะได้ไม่ผิดอีกในก้าวต่อไป เป็นแนวคิดที่ผู้นำทุกคนควรมีเลยล่ะ 

หาหนทางของตัวเอง

การจะนำพาองค์กรของคุณให้ประสบความสำเร็จได้นั้นไม่จำเป็นต้องเดินตามสูตรสำเร็จ หรือเส้นทางที่วางไว้เสมอไป เพราะในชีวิตจริงล้วนมีปัญหาที่เราไม่สามารถควบคุมได้ อีกอย่างถ้าหากคุณเดินตามสูตรเดิมมันอาจจะเวิร์กก็จริง แต่ก็ไม่มีวันที่คุณจะอยู่เหนือกว่าคนอื่น

 

กลยุทธ์ของบริษัท Apple

คัมภีร์กลยุทธ์ของบริษัท Apple

จากรายงานยอดขายสมาร์ทโฟนกลุ่มพรีเมียมของ Counterpoint Research ในไตรมาสที่ 1 ปี 2022 พบว่า Apple ยังครองส่วนแบ่งตลาดเกินครึ่งที่ 62% ตามมาด้วย Samsung 16%, Oppo 5%, Xiaomi 4%, Vivo 3%, Huawei 3% และแบรนด์อื่น ๆ 6% มาเปิดคัมภีร์กลยุทธ์ของบริษัท Apple กันว่าทำไมยังครองส่วนแบ่งตลาดได้มากขนาดนี้

เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นจุดแข็ง

กลยุทธ์ของบริษัท Apple ที่ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยคือก่อนที่จะมีการเปิดตัว iPhone 14 แบรนด์คู่แข่งหลายเจ้าปรับตัวกล้องหน้าที่ฝังอยู่ในหน้าจอด้วยการเอาแถบดำออก Apple เลยมี Feedback ลบจากผู้ใช้งานว่าไม่ชอบแถบดำตรงกล้องหน้าของไอโฟน รกหน้าจอ แต่พอเปิดตัวรุ่นใหม่ Apple เปลี่ยนจุดด้อยนั้นกลายเป็นจุดแข็งด้วยฟีเชอร์ใหม่ ‘Dynamic Island’ ที่คอยแสดงสถานะต่าง ๆ แทนจนหลายคนร้องว้าวไปตาม ๆ กัน

ทำเรื่องยากให้มันง่าย

กลยุทธ์ของบริษัท Apple มีคอนเซปต์หลักคือ ‘ความเรียบง่าย’ ตั้งแต่ดีไซน์และระบบปฎิบัติการที่อยู่ภายใต้คอนเซปต์ตั้งแต่การเปิดตัวโปรดักส์แรก ๆ ทำให้ Apple ดูโดดเด่นจากแบรนด์อื่นในสายตาผู้บริโภค เพราะแบรนด์เข้าใจว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้นดูยุ่งยากวุ่นวาย และสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือการให้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ชีวิตพวกเขาง่ายขึ้น 

มีตัวเลือกราคาหลากหลาย

กลยุทธ์ของบริษัท Apple ได้ใช้การตลาดเชิงจิตวิทยาเข้ามาด้วย ยกตัวอย่างเช่น การทำให้คนยอมจ่ายเงินมากขึ้นด้วยกลยุทธ์ราคาหลอก เช่น ราคาของ iPhone 11 แบรนด์ตั้งไว้ที่ $699 (ประมาณ 23,000 บาท) iPhone 11 Pro ที่ $999 (ประมาณ 33,000 บาท) และ iPhone 11 Pro Max ที่ $1,099 (ประมาณ 36,000 บาท) เป็นคุณจะเลือกจ่ายราคาไหน ?

คุณอาจคิดว่าถ้าไม่ได้ใช้อะไรมากก็คงซื้อแค่ iPhone 11 แต่ถ้ามีงบเพิ่ม บวกกับสเปคของรุ่นราคาสูงสุดที่ดูดีกว่า แค่เพิ่มเงินอีกนิดเดียว ทำไมจะไม่ซื้อรุ่นแพงกว่าล่ะ…จริงไหม ?

ยึดกลุ่ม Lifestyle Segmentation เป็นหลัก

กลยุทธ์ของบริษัท Apple ตั้งใจเลือก Lifestyle Segmentation เป็นหลัก เพราะเป็นกลุ่มคนยุคใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง หรือกลุ่มพรีเมียม ชอบสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่จึงยอมจ่ายเงินแพง และอีกสาเหตุก็คือการวาง Positioning ของแบรนด์ ด้วยคุณภาพสินค้าและราคาสูงที่มาพร้อมเทคโนโลยี นวัตกรรมสุดล้ำ

สร้างความลึกลับและน่าหลงใหล

ช่วงใกล้งานเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ของ Apple ก็มักจะมีข่าวลือต่าง ๆ นา ๆ สื่อโซเชียลมากมายก็ออกมาทำคอนเทนต์คาดการณ์เทคโนโลยีที่ทาง Apple จะมีในสินค้าใหม่ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกต้องคอยลุ้นตาม รู้สึกอยากรู้อยากเห็นตามแนวคิดจิตวิทยาที่ยิ่งมีความลับ คนก็ยิ่งอยากรู้ เป็นอีก กลยุทธ์ของบริษัท Apple ที่ทำดึงความสนใจคนได้ดี

รวมถึงการสร้างความน่าหลงใหล Apple ได้วิจัยอินไซต์ของลูกค้ามาอย่างลึกซึ้งว่าพวกเขาต้องการอะไร ต้องพูดแบบไหน ทำอย่างไรจะโดนใจผู้บริโภค

จำกัดช่องทางการซื้อ

การจะซื้อสินค้าของ Apple คุณต้องไปซื้อที่ Apple Store หรือ Shop Store ที่เป็น Partner เท่านั้น ไม่ได้หาซื้อง่ายเท่าคู่แข่งมากนัก ซึ่งมักจะมีคนไปเซลฟี่คู่กับ Apple Store อยู่บ่อย ๆ แต่ไม่ค่อยเห็นคนไปเซลฟี่กับแบรนด์คู่แข่ง ด้วยการที่มีช่องทางจำหน่ายที่เฉพาะ มีเอกลักษณ์ที่คู่แข่งเลียนแบบได้ยาก ทำได้เอาชนะคู่แข่งได้ง่าย ๆ 

ไม่ลงเล่นสงครามราคา

อีกกลยุทธ์ของบริษัท Apple คือการตั้งราคาที่ไม่ชนกับคู่แข่ง และไม่ลดราคาแบบเทกระจาด แต่จะตั้งราคาที่สูงไปเลย เพื่อสร้างความรู้สึกทางจิตวิทยาของผู้บริโภคที่สนใจให้เกิดความคิดที่ว่าที่ Apple ตั้งราคาไว้สูงนั้นเป็นเพราะแบรนด์นั้นหรูหรากว่าคู่แข่ง และต้องมีคุณภาพดีกว่าแน่นอน

การใช้งานที่เข้าถึงมากกว่า

กลยุทธ์ของบริษัท Apple นั้นไม่ได้แค่คำนึงถึงคอนเซปต์หรือภาพลักษณ์แบรนด์เท่านั้น แต่ยังขาย Ecosystem สินค้าด้วย เมื่อคุณเลือกใช้สินค้าของ Apple คุณจะได้สิทธิเข้าถึง Ecosystem ของแบรนด์ ทั้งแอปฯ ความบันเทิงต่าง ๆ ในการใช้งาน นอกจากนี้ Ecosystem ของ App ใน Apple ยังแข็งแกร่งมากด้วย ทำให้ผู้ผลิต App เลือกที่จำทำให้ Apple ก่อน ผู้ใช้งาน Apple ก็จะได้ใช้งานก่อน

ทำให้ดูขาดตลาด

กลยุทธ์ของบริษัท Apple ที่เวิร์กมากคือเล่นกับกระแส เข้าใจหลักจิตวิยาของคนดีมาก ๆ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายกลัวตกกระแส เรียกว่า fear of missing out และทำให้สินค้าตัวเองมี Scarity Effect ด้วยการจำกัดจำนวนสินค้าที่เปิดตัว ทำให้ไม่พอต่อความต้องการซื้อในขณะนั้น ถ้าอยากได้ต้องรีบจองล่วงหน้าก่อน ทำให้แบรนด์มีความต้องการสูงและถูกพูดถึงมาก 

 

อ่านมาจนจบแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างกับคัมภีร์ กลยุทธ์ของบริษัท Apple ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจคุณจะลองเอาแนวคิดของผู้นำและกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้ด้วยบ้างหรือเปล่า? ถ้าอยากครองใจผู้บริโภคก็ต้องลองดูนะ

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก