Hawthorne Effect

Hawthorne Effect ทฤษฎีเสริมศักยภาพคนที่ทุกองค์กรควรนำไปใช้

Digimusketeers, 25 January 2023

เราเชื่อว่าองค์กรยุคใหม่นั้นควรที่จะให้ความสำคัญกับพนักงานมากขึ้น ความสำคัญในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจับตาดูในเรื่องงานหรือกิจกรรมที่พวกเขาทำในเวลางานนะ แต่หมายถึงการให้ความสำคัญในเรื่องความสุข การใส่ใจและให้ความสบายใจกับพนักงานในองค์กร เห็นได้ชัดจากหลายองค์กรที่ปรับเปลี่ยนกฏการทำงานและใส่ใจความรู้สึกของคนในองค์กรช่วยส่งเสริมให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น งานที่ออกมาก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย 

เราเลยเอาทฤษฎีหนึ่ง เป็นทฤษฎีที่ผู้บริหารองค์กรควรรู้และสามารถนำมาปรับใช้กับคนในองค์กรได้ดีมากเลยล่ะ นั่นก็คือ ‘Hawthorne Effect’ ไปทำความรู้จักพร้อมกันได้เลยว่าคืออะไรและนำไปปรับใช้กับองค์กรอย่างไร เราอธิบายให้ครบหมดแล้วที่นี่

Hawthorne Effect

The Hawthorne Effect

Hawthorne Effect เป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นโดยนักจิตวิทยาท่านหนึ่งที่ชื่อว่า ‘Henry A. Landsberger’ หรือเฮนรี เอ. ลันส์แบร์เกอร์ ในปี 1950 เขาได้ทำการทดลองทฤษฎีในช่วงปี 1924-1932 ที่บริษัท Western’s Electronic Hawthorne เป็นองค์กรเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ตั้งอยู่ใกล้เมืองฮาวทอร์น รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งมีนักสังคมศาสตร์ Elton Mayo ได้ทำการทดลอง Hawthorne Effect เนื่องจากต้องการศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขในการทำงาน เช่น การเพิ่มแสงไฟในที่ทำงาน การเปลี่ยนเวลาทำงาน การให้อาหารในช่วงพักหรือปัจจัยอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อความขยันในการทำงานของพนักงานมากแค่ไหน

จากการทดลอง Hawthorne Effect เป็นเวลานานเขาพบว่า การเปลี่ยนเงื่อนไขในการทำงานเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ความขยันของพนักงานเพิ่มขึ้นได้ หลังจากสิ้นสุดการทดลองในปี 1932 เงื่อนไขในการทำงานขององค์กรไฟฟ้าถูกเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิม Mayo ได้คาดไว้ว่าความขยันของพนักงานอาจจะลดลง แต่ผลที่เกิดขึ้นกลับตรงข้าม ความขยันของพนักงานไม่ได้ลดน้อยลงเลย 

ทำให้ Mayo ได้ผลสรุปของการทดลองนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ความขยันของพนักงานเพิ่มขึ้น แต่มันคือความเชื่อใจของพนักงานต่างหาก แปลให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ พนักงานที่เชื่อว่าตัวได้ได้รับการใส่ใจหรือการเห็นคุณค่าจะมีความขยันในการทำงานเพิ่มขึ้นและทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งหากพนักงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง เช่น การเสนอไอเดียหรือความคิดเห็น พวกเขาจะเกิด Hawthorne Effect ได้เช่นกัน 

เขาจึงได้ตั้งชื่อการทดลองนี้ว่า Hawthorne Effect นั่นเอง เป็นที่มาของทฤษฎีของการใส่ใจและการมีส่วนร่วมที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรขยันและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

Hawthorne Effect

ทฤษฎี Hawthorne Effect กับการพัฒนาองค์กร

อย่างที่ผู้เขียนได้บอกไปต้นบทความว่าทฤษฎี Hawthorne Effect เป็นสิ่งที่ผู้นำองค์กรควรนำไปปรับใช้มาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ สามารถนำไปปรับใช้กับองค์กรได้อย่างไรบ้างไปดูคำตอบเลย

1. รับฟังเสียงของพนักงาน

คนเราจะรู้สึกว่าตัวเองสำคัญก็ต่อเมื่อมีคนได้ยินและรับฟังสิ่งที่ต้องการ นี่เป็นคุณสมบัติที่ดีของคนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำองค์กรถ้าสามารถเอาข้อนี้มาปรับใช้ได้จะดีมาก ๆ คุณต้องเปิดใจรับฟังเสียงของพนักงานในองค์กร ยอมรับความเห็นใหม่ที่อาจจะแตกต่างไปบ้าง เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าคุณเห็นคุณค่า ให้ความสำคัญกับพวกเขาและรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน จะทำให้พวกเขาอยากที่จะทำงานให้องค์กรยิ่งขึ้นและตั้งใจทำมันกว่าเดิม 

2. อย่าจ้องจับผิดอย่างเดียว

แม้ว่าทฤษฎีการใส่ใจพนักงาน Hawthorne Effect อาจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าทำให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้นก็จริง แต่ทุกคนไม่ได้ชอบการถูกจับตาดู 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะจ้องแต่จะจับผิดอย่างเดียว เป็นการสร้างความรู้สึกที่น่าอึดอัดและรำคาญใจเอามาก ๆ เปลี่ยนจากการจับผิดมาเป็นคอยชื่นชมเมื่อพวกเขาทำงานหรือมีผลงานที่ดี รวมไปถึงยื่นมีเข้ามาช่วยเมื่อพวกเขาประสบปัญหาที่รวมไปถึงปัญหาเรื่องส่วนตัวที่พวกเขาขอความช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้จะทำให้พนักงานในองค์กรสัมผัสได้ว่าองค์กรใส่ใจพวกเขาและอยากที่จะทำงานให้ดีเป็นการตอบแทนองค์กรนั่นเอง

3. จัดคนให้อยู่ถูกกลุ่ม

หากองค์กรจัดให้พนักงานไปอยู่ในกลุ่มที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบใหญ่ให้องค์กรได้เลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น คุณจัดให้พนักงานที่ขยันทำงานมาก ๆ ไปอยู่ในกลุ่มของพนักงานที่เอื่อยเฉื่อย ขี้เกียจก็อาจทำให้พนักงานคนเดิมที่เคยขยันกลายเป็นคนขี้เกียจทำงานไปเลย จากการทดลอง Hawthorne Effect ได้ลองเอาพนักงานที่ขยันทำงาน 2 คน มาแทนที่พนักงานที่มีความสามารถปานกลางและมีนิสัยดื้อรั้น ผลที่ได้ก็คือผลผลิตของกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น เพราะความขยันของพนักงานใหม่ที่เข้ามาในกลุ่มส่งผลต่อพนักงานเดิมในกลุ่มเดียวกัน

4. ลดความเหลื่อมล้ำในที่ทำงาน

ปัจจัยนี้สำคัญมาก ๆ คือพยายามควบคุมและอย่าให้เกิดความเหลื่อมล้ำในองค์กร อย่าทำให้พนักงานรู้สึกว่ามีสิ่งนี้เกิดขึ้น เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ ความลำเอียงและอีกมากมาย หัวหน้าหรือผู้บริหารองค์กรควรสร้างพื้นที่ในการทำงานที่พนักงานทุกคนได้รับโอกาสและความสนใจอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ไม่มองข้ามการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ

บางครั้งการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ก็สร้างพลังที่ยิ่งใหญ่ได้ มีหลายงานวิจัยบอกว่าการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ก็ช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ยิ่งใหญ่ให้กับเหล่าพนักงานได้เช่นกัน ดังนั้นในการพัฒนาการทำงานของคน หัวหน้าหรือผู้บริหารควรโฟกัสที่การเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือใหญ่แค่ไหน 

 

ทฤษฎี Hawthorne Effect ยังคงมีการถกเถียงกันมาเรื่อย ๆ และมีความเห็นแยกเป็น 2 ฝ่าย เพราะบางคนก็มองว่ามันใช้ไม่ได้ ดูเกินจริง ในขณะที่อีกฝ่ายกลับเห็นด้วยและบอกว่ามันอาจเป็นไปได้ แต่ต้องมีการศึกษาและทดลองเพิ่มเติมอีกต่อไป

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก