การสร้างแอปพลิเคชัน

แชร์วิธีการสร้างแอปพลิเคชัน เพียงหนึ่งครั้ง ก็ทำให้ธุรกิจคุณปังได้!

Digimusketeers, 16 September 2024

แอปพลิเคชัน โปรแกรมประยุกต์ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนอย่างมากในศตวรรษที่ 20 นี้ ทำให้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันทุกรายต่างกระตือรือร้นที่จะต้องเริ่มต้นวางแผนการสร้างแอปพลิเคชันตัวชูโรงขึ้นมาแข่งขันกันในตลาดเทคโนโลยีอย่างร้อนแรง ณ ขณะนี้ แต่ก่อนที่หลายๆ บริษัทจะออกตัวลุยสู่สนามแข่งควรจะต้องรู้ขั้นตอนและเทคนิคที่จะช่วยให้แอปพลิเคชันน่าดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้ในบทความนี้

ทำไมการพัฒนาแอปพลิเคชันจึงสำคัญ

การพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ กระบวนการสร้างแอปพลิเคชันทุกรูปแบบ ได้ถูกออกแบบและผลิตมาให้ผู้ใช้งานบนระบบปฏิบัติการต่างๆ บนเครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต บนคอมพิวเตอร์ ไปจนถึง Smart watch และเครื่องมือที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน การพัฒนาแอปพลิเคชันส่วนใหญ่จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญอย่างทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์และฝ่ายอื่นๆ ร่วมมือกันดำเนินการสร้างแอปพลิเคชันให้ออกมาตามแบบแผนที่ลูกค้าต้องการ

การสร้างแอปพลิเคชัน

ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน

หลายคนคงมองว่าขั้นตอนในการพัฒนาแอปพลิเคชันมีความสำคัญอย่างไร? ทำไมถึงลงมือทำเลยไม่ได้? เพราะการมีขั้นตอนจะยิ่งทำให้การพัฒนาแอปพลิเคชันเป็นไปอย่างราบรื่น ไร้ที่ติ ถ้าคุณทำตามนี้

1.การวางแผน

การวางแผนเป็นสิ่งที่ควรทำอันดับแรก ซึ่งหัวข้อที่ควรอยู่ในแผนมีอะไรบ้าง

ศึกษาคู่แข่ง 

เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเติบโตเร็วบริษัทที่เป็นธุรกิจเดียวกันก็ย่อมเติบโตตามเป็นธรรมดา โดยรวมควรศึกษาว่าคู่แข่งมีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรในแอปพลิเคชันหมวดหมู่เดียวกัน ทั้งโครงสร้างแอป ลูกเล่น ระบบการทำงาน หรือแม้จะเป็น UX/UI ก็ต้องศึกษาอย่างละเอียด

รายรับของแอป

ส่วนสำคัญของการทำธุรกิจเกี่ยวกับแอปพลิเคชันควรวางแผนเส้นทางรายได้ว่าจะมาในรูปแบบหรือลักษณะใดบ้าง เช่น ให้แอปพลิเคชันเป็นแบบมีค่าใช้จ่ายในการซื้อใช้แอป หรือเป็นรูปแบบรายเดือน หรืออาจจะเป็นรายได้จากการซื้อฟีเจอร์ต่างๆ เพิ่มเติมภายในแอปเองก็ได้

การตลาด

อีกหนึ่งกระบวนการวางแผนที่ควรทำ คือ การตลาดเพื่อหาวิธีในการโปรโมตให้แอปพลิเคชันที่สร้างถึงเป็นที่รู้จักและมียอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 

แผนการทำงาน

การวางแผนการทำงานจะทำให้เห็นภาพรวมของระยะเวลาการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงวันที่แอปพลิเคชันเปิดตัว เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในทีมให้รู้รูปแบบของแอปพลิเคชันที่จะสร้าง ทีมนักพัฒนาต้องการอะไรมาช่วยสนับสนุนให้การทำงานประสบผลสำเร็จและน่าดึงดูดผู้ใช้งาน

2. การออกแบบ

ต่อมาการออกแบบแอปพลิเคชันก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ใช้งานจะตัดสินใจดาวน์โหลดไปใช้งาน ถ้าอยากจะให้การออกแบบกลายเป็นจุดแข็งของคุณควรจะทำ 2 สิ่งนี้

UX หรือ User Experience

แปลได้ตรงตัวคือ “ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน” เมื่อผู้ใช้งานมีความรู้สึกตอบโต้ต่อการเข้าใช้แอปพลิเคชันและระบบต่างๆ เช่น พวกเขาได้รับความสะดวกสบาย รู้สึกเพลิดเพลินเพราะใช้งานง่าย ทำให้เกิดความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันนั้นๆ การพัฒนาแอปพลิเคชันจึงต้องศึกษาพฤติกรรม ทำความเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้ใช้งานเพื่อนำมาปรับปรุงต่อไปเรื่อยๆ

UI หรือ User Interface

ต่อมาคือ UI ส่วนที่เน้นการออกแบบ ดีไซน์ให้น่าสนใจ เพราะเป็นส่วนที่ต้องเชื่อมต่อหรือนำทางในการใช้งานแอปพลิเคชัน เช่น แพลตฟอร์ม หน้าจอ หรือแม้แต่ภาพประกอบ ขนาดของตัวอักษร ปุ่มนำทาง แสงสีเสียง นอกจากความสวยงามที่น่าดึงดูดในแอปแล้วก็ยังต้องคำนึงถึงการใช้งานง่ายจนผู้ใช้งานอยากจะเข้าแอปมาใช้อยู่เรื่อยๆ เรียกได้ว่าต้องสร้างความตราตรึงใจให้ได้

3. การเขียนโค้ด

ในปัจจุบันการพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถทำได้หลายวิธีและมีหลายเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการสร้างแอปพลิเคชันได้ โดยจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันตามความถนัดของนักพัฒนา หรือต่างกันที่ราคา แต่ถ้าจะให้แอปทำออกมาดีควรเน้นที่ประสิทธิภาพและมีแนวโน้มว่าจะสามารถใช้งานได้ในระยะยาวเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาต่อการอัปเดตแอปในอนาคตหรือเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลโดยใช่เหตุ

4. Launch App

ขั้นตอนต่อมาคือการเปิดตัวแอปพลิเคชันซึ่งส่วนใหญ่จะอัปโหลดลง 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะลงใน Web Server เป็นการรบส่งข้อมูลอีกทั้งยังเก็บข้อมูลของโมบายแอป แต่หากใช้งานหนักเกิดไปจะทำให้ระบบล่มจนแอปทำงานไม่ได้ ในส่วนต่อมาคือ ร้านค้าออนไลน์อย่าง Google Play หรือ App Store หากจัดการทุกส่วนของแอปเรียบร้อยแล้ว ลำดับถัดไปคือต้องกรอกฟอร์มเพื่อใส่รายละเอียดต่างๆ และรอ Google Play หรือ App Store ตรวจสอบเงื่อนไขและความเรียบร้อยโดยจะใช้เวลาไม่เท่ากันอาจจะอัปโหลดขึ้นได้ไม่กี่ชั่วโมงหรือ 2-3 วัน

5. ประเมินผล

หลังจากเปิดตัวให้ใช้งานแอปพลิเคชันไปแล้วก็เป็นส่วนที่ต้องคอยดูผลลัพธ์หลังจากผู้ใช้งาน ทั้งติดตามความพึงพอใจและคำแนะนำจากช่องทางร้านค้าหรือศูนย์บริการลูกค้า รับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและแก้ไขปัญหา หลังจากนั้นจึงทำการอัปเดตแอปอยู่เป็นระยะตามความเหมาะสมและให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้รองรับกับระบบปฏิบัติการที่มีการอัปเดตไปแล้ว

การพัฒนาแอปพลิเคชัน

เทคนิคเสริมในการพัฒนาแอปพลิเคชัน

  1. เน้นให้แอปพลิเคชันใช้งานได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับ UX เป็นหลัก
  2. เลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เหมาะกับแอปพลิเคชันเพื่อสะดวกในการอัปเดตแอปในอนาคต
  3. ให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้งานตามข้อกฎหมายทางเทคโนโลยี ยิ่งจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งาน
  4. ตรวจสอบความเรียบร้อยของแอปพลิเคชันก่อนการเปิดตัว เพื่อป้องกันปัญหาที่จะต้องมาตามแก้ไขในภายหลัง
  5. คอยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริงเพื่อนำมาปรับแก้ไขให้การอัปเดตครั้งต่อไปดีขึ้น
  6. ให้ความสำคัญด้านการตลาดเพื่อการวางแผนในการโปรโมตให้แอปพลิเคชันเป็นที่รู้จักมากขึ้น
  7. พัฒนาให้แอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการทั้งในสมาร์ตโฟนและคอมพิวเตอร์
  8. ติดตามพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อนำมาอัปเดตแอปพลิเคชันให้ทันยุคสมัย

สรุป

กว่าจะมาเป็นแอปพลิเคชันให้เราใช้บนสมาร์ตโฟนและคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วเหมือนอย่างในทุกวันนี้ ต้องผ่านขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน ด้วยความสามารถของนักพัฒนาที่มีความสามารถและคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นอันดับแรก ดังนั้นใครที่อยากมีแอปพลิเคชันเป็นของตัวเองหรือขององค์กรก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ของบริษัทพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้ธุรกิจของคุณเป็นที่น่าจดจำ

 

FAQ เกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชัน

การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android กับ iOS ต่างกันไหม?

ต่างกันในหลายๆ ด้าน เช่น Android จะใช้ภาษา Java หรือ Kotlin ส่วน iOS ต้องใช้ภาษา Swift หรือ Objective-C ในการเขียนโค้ด ทางด้านตลาดอุตสาหกรรมของโลก Android จะกว้างกว่าถึง 70% จึงเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่นักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวก แต่ขนาดตลาด Android ที่ใหญ่ทำให้อุปกรณ์มีความหลากหลายและต้องพัฒนาให้เข้ากันได้ ส่วน iOS ถึงตลาดจะเล็กกว่าแต่การพัฒนาจะไม่ยุ่งยากและไม่ต้องเปลี่ยนไปตามอุปกรณ์ จึงเป็นมาตรฐานเดียวกันและรักษาคุณภาพให้คงที่ได้ แต่การพัฒนาในแต่ละครั้งจะต้องใช้โปรแกรมที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าระบบอื่น

เทรนด์การพัฒนาแอปในช่วงนี้เป็นอย่างไร

อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงนี้แน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในแอปพลิเคชันมากขึ้น ด้วยจุดเด่นที่จะอำนวยความสะดวกสบายมากขึ้น การทำงาน การเรียนหรือการใช้ชีวิตก็จะง่ายตามไปด้วย นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้เสมือนจริงอีกด้วย

การสร้างแอปพลิเคชันจะส่งผลดีกับธุรกิจจริงหรือ?

จริงค่ะ เพราะทุกคนที่มีสมาร์ตโฟนย่อมใช้แอปกันอยู่แล้ว และการสร้างแอปพลิเคชันหนึ่งครั้งจะสามารถใช้ได้ในระยะยาว ถึงแม้จะต้องมีการอัปเดตบ้าง แต่ข้อดีก็มีอย่างเช่น สามารถช่วยลดทุนต้นการจ้างพนักงานด้านการบริการแต่เปลี่ยนไปใช้เป็นระบบ AI แทน หรือการลดต้นทุนจากการใช้อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมทางด้านการตลาดที่จะเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าแบรนด์อื่นๆ ทั้งความสะดวกสบาย การติดต่อขอคำแนะนำหรือรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ตลอดเวลาจนปิดการขายได้มากขึ้นเพราะไม่มีเวลาปิดทำการ

 

การพัฒนาแอปพลิเคชัน

หากคุณคือเจ้าของธุรกิจที่สนใจสร้างแบรนด์ผ่านการสร้างแอปพลิเคชัน เพิ่มมูลค่า พาธุรกิจปัง  Digimusketeers ขอแนะนำบริการ Mobile Application Development คิดค้นพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ทุกระบบปฏิบัติการ Android/ iOS ที่ตรงใจคุณ ออกแบบ UX/UI ดีไซน์สวยงามและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ปลอดภัยและได้มาตรฐานในทุกขั้นตอนการพัฒนาและใช้งาน 

พัฒนาแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์แบรนด์ธุรกิจคุณ

ติดต่อไลน์

แอดไลน์เพื่อปรึกษาเราฟรี

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับ แอปพลิเคชัน

ที่มาข้อมูล : 1 

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก