E-payment

E-payment เหมาะกับธุรกิจแบบไหน ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Digimusketeers, 4 November 2024

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะการใช้จ่ายที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริงด้วยระบบ E-payment ที่สามารถชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้องค์กรภาครัฐและเอกชน ธุรกิจทุกขนาดเริ่มตื่นตัวพัฒนาตนเองตามไปด้วย แต่ความสะดวกนี้จะกลายเป็นช่องโหว่เรื่องความปลอดภัยหรือไม่ และระบบ E-payment มีอะไรบ้างที่ผู้ใช้งานควรจะรู้มาหาคำตอบในบทความนี้กัน

E-payment คืออะไร

ระบบ Electronic Payment System หรือ E-payment คือ ระบบที่ใช้ในการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายกว่าการถือเงินสดเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ระบบ E-payment สามารถใช้ผ่าน Smartphone หรือ Computer ที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ที่สำคัญผู้ให้บริการระบบจะอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอีกด้วย

ประเภทของ E-payment มีอะไรบ้าง

นอกจากที่ทุกคนจะทราบกันอยู่ว่าระบบ E-payment ใช้ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ แต่ก็ยังสามารถแบ่งย่อยออกมาได้อีกเป็น 8 ประเภท ได้แก่

QR Payment

1. เครื่องรูดบัตร EDC

ร้านค้าต้องติดตั้งเครื่องรูดบัตรเพื่อรับชำระสินค้าหรือบริการของทางร้านที่สามารถเลือกชำระเงินได้หลายรูปแบบ ทั้งบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งการสแกนจ่ายด้วย QR code และระบบ E-Wallet หลายบริษัท ซึ่งรูปแบบการให้บริการของแต่ละเครื่องรูดบัตรก็จะแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังสามารถทำระบบผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิตผ่านเครื่องรูดบัตรของธนาคารนั้นๆ ได้อีกด้วย

2. Mobile Payment

บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ Smartphone เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถจ่ายเงินผ่านการโอนบนแอปพลิเคชันธนาคารนั้นๆ มักจะจ่ายด้วย QR Code หรือ  E-Wallet นอกจากนี้ยังสามารถจ่ายผ่านแอปพลิเคชันของร้านค้าได้โดยตรงด้วยการตัดยอดเงินผ่านบัตรเดบิต เครดิต หรือแม้แต่ QR พร้อมเพย์ที่แอปพลิเคชันร้านค้าทำขึ้นเองด้วย

 

3. การหักบัญชี

ผู้ใช้งานสามารถทำการผูกบัญชีธนาคารหรือเลขบัตรเดบิตเข้ากับระบบร้านค้าทั้งบนแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่รองรับบริการนี้เพียงครั้งแรกเท่านั้น เพื่อให้ระบบทำการหักเงินจากบัญชีอัตโนมัติเมื่อมีการยืนยันคำสั่งซื้อสินค้าโดยเฉพาะการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้การชำระเงินง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสะดวกในการซื้อสินค้าครั้งถัดไปเพราะไม่ต้องผูกบัญชีอีกแล้ว

 

4. บริการรับชำระเงินแทน

หากให้เข้าใจได้ง่ายคือ ชำระเงินผ่านตัวกลางบุคคลที่สามที่รองรับบริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แทนผู้ซื้อ ดำเนินการส่งต่อค่าสินค้าหรือบริการไปยังผู้ขายอีกทีหนึ่ง เป็นตัวช่วยในการชำระเงินอีกทางหนึ่ง

 

5. สวิตช์ชิ่งการชำระเงิน

การรับบริการเป็น center หรือจุดศูนย์กลางในการเชื่อมต่อส่งรับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของรายการชำระเงิน ระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ E-payment ตามที่ตกลงกันไว้

 

6. ระบบ Payment Card Network

เมื่อมียอดใช้จ่ายสามารถชำระได้ผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือบัตรเอทีเอ็ม ระบบจะทำการดำเนินการส่งข้อมูลจำนวนเงินไปที่ผู้ให้บริการบัตรนั้นๆ ซึ่งจะถูกหักเงินจากบัญชีธนาคารของบัตรใบนั้นทันที หรือหากเป็นเครดิตระบบก็จะหักเงินจากวงเงินและทำการเก็บยอดชำระอีกครั้งตามรอบที่กำหนด อาจมีดอกเบี้ยหรือไม่ก็แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร

 

7. ระบบ e-Money

E-Money หรือ การชำระเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้งานต้องสร้างบัญชีบนแอปพลิเคชันผู้ให้บริการและเติมเงินผ่านแอปพลิเคชันธนาคารหรือช่องทางอื่นเหมือนเป็นกระเป๋าเงินอีกใบเพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ให้บริการที่อาจจะรู้จักกันดีคือ True Money หรือ Alipay เป็นต้น

 

8. ระบบ Settlement

ประเภทสุดท้ายระบบ Settlement หรือ การชำระดุล คือ การตกลงกันไว้ว่าจะชำระเงินแบบล่วงหน้าเพื่อปรับสถานะความเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้และปรับบัญชีเงินฝาก เพื่อให้ยอดหนี้สินระงับไปทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน

ธุรกิจที่เหมาะกับระบบ E-payment

เมื่อรู้จักประเภทของระบบชำระเงินแบบ E-payment ที่มีหลากหลายช่องทางกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการชำระเงินที่สะดวกรวดเร็วง่ายดายจนสามารถเข้าถึงทั้งผู้ใช้งานและผู้ให้บริการ ระบบนี้จึงเหมาะสมและเป็นประโยชน์กับธุรกิจทุกประเภททั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หรือแม้แต่องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ก็ควรเปิดใช้งานระบบ E-payment ในฐานะผู้ใช้บริการแบบนิติบุคคลหรือผู้ขายได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการที่ร้านหรือแม้กระทั่งช่องทางออนไลน์ก็สะดวกสบายไม่แพ้กัน

E-payment มีอะไรบ้าง

วิธีการใช้งาน E-payment อย่างปลอดภัย

หลายคนอาจจะสงสัยและมีความกังวลใจเรื่องความปลอดภัยก่อนจะเริ่มทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน E-payment กันไม่น้อย งั้นมาดูวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยให้หายกังวลใจกันดังนี้

 

1. ตรวจสอบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ก่อนทำธุรกรรมการเงินผ่านเครื่องมือสื่อสารอย่าง Smartphone ควรตรวจสอบวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการเชื่อมต่อโดยใช้ Wi-fi สาธารณะเพราะมีความปลอดภัยน้อยมาก เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงได้กลายเป็นช่องโหว่เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพเข้ามาขโมยข้อมูลทางการเงินได้

 

2. อีเมลไม่คุ้นแจ้งเก็บเงิน

อีกหนึ่งช่องทางของมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงข้อมูลให้น่าเชื่อถือติดต่อเข้ามาทางอีเมลส่วนตัวของคุณเพื่อเรียกเก็บเงิน อาจจะปลอมที่อยู่อีเมลให้คล้ายคลึงกับองค์กรต่างๆ จึงควรตรวจสอบให้ดีก่อนกดเข้าไปดูหรือกดลิงก์ในอีเมล เช่น ตรวจสอบที่อยู่อีเมล ชื่อผู้ส่งภายในเนื้อหา ประวัติการส่งเข้ามาว่าคุณเคยประสานงานผ่านอีเมลนี้มาก่อนหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบด้วยการค้นหาที่อยู่อีเมลนั้นบน Google ได้

 

3. รหัสผ่านต้องรัดกุม

รหัสผ่านการทำธุรกรรมเป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรจะเก็บไว้เป็นความลับ หรือแม้กระทั่งข้อมูลของบัตรเครดิต บัตรเดบิตที่คุณถืออยู่ อีกทั้งไม่ควรกดบันทึกข้อมูลการเข้าระบบทำธุรกรรมบนเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือนอกจากเหนือจากเว็บไซต์ธนาคารที่ไว้ใจได้ อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นคือ การเข้าระบบด้วยรหัส OTP เพราะก่อนเข้าใช้งานผ่านแอปพลิเคชันการเงินระบบจะส่งรหัสใหม่มาทุกครั้งผ่านข้อความเบอร์มือถือเพื่อยืนยันตัวตนซึ่งจะปลอดภัยขึ้นไปอีก

 

สรุป

ระบบ E-payment เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในยุคอินเทอร์เน็ตที่มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์กับการใช้ชีวิตของทุกคน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบันหากเลือกใช้ E-payment ในรูปแบบที่เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจ เช่น มีหน้าร้านก็สามารถใช้เครื่องรูดบัตร EDC หรือ ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ ก็ใช้แบบหักบัญชีธนาคารหรือบัตรต่างๆ และการใช้งานอย่างปลอดภัยและรัดกุมจะยิ่งช่วยให้ธุรกิจเติบโตและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน

 

FAQ เกี่ยวกับระบบ E-payment 

 

ระบบ E-payment เหมาะกับผู้ใช้งานกลุ่มไหน?

ความสะดวกสบายและรวดเร็วของระบบ E-payment ที่มีให้เลือกใช้หลายประเภท จึงเหมาะสมตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานหรือผู้ซื้อสินค้าและบริการที่ต้องการใช้จ่ายได้ทุกที่ทุกเวลา ไปจนถึงกลุ่มเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือผู้ขายสินค้าที่ต้องการรองรับและอำนวยความสะดวกเรื่องการชำระเงินให้กับลูกค้า นอกจากนี้ยังเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมการเงินจำนวนมากด้วยความปลอดภัยกว่าการพกเงินสดอีกด้วย

 

ระบบ E-payment มีข้อดีอะไรบ้าง?

นอกจากความสะดวกรวดเร็วและความปลอดภัยในการโอนจ่ายเงินแต่ละครั้งแล้วนั้น ยังช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมในแต่ละครั้งโดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องทำธุรกรรมทางการเงินอยู่เรื่อยๆ ซึ่งบางธุรกิจต้องใช้จ่ายไปกับการชำระเงินด้วยกระดาษต่อปีเป็นจำนวนมาก E-payment จึงเป็นตัวช่วยในการลดต้นทุนและทรัพยากรส่วนนี้ได้อย่างมาก

 

ระบบ E-payment ประเภทไหนใช้งานกันมากที่สุด?

ความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่มเมื่อทำธุรกรรมการเงินมักจะไม่เหมือนกัน ถ้ามองในกลุ่มของผู้ซื้อหรือผู้บริโภคส่วนใหญ่จะใช้งานประเภท Mobile Payment ,การหักบัญชี และชำระผ่านบัตรต่างๆ ส่วนกลุ่มร้านค้าหรือธุรกิจขนาดใหญ่มักจะใช้เครื่องรูดบัตร EDC เพราะสามารถรองรับการชำระเงินจากกลุ่มผู้ซื้อได้หลากหลายประเภทอีกด้วย ประเภทอื่นๆ นอกจากนี้บางกลุ่มธุรกิจก็เลือกใช้กันตามความเหมาะสมเช่นกัน

ถ้าคุณกำลังมองหาเอเจนซี่ที่รับทำเว็บไซต์ให้น่าเชื่อถือ Digimusketeers เรามีบริการ Website Development ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ สร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจและแบรนด์ของคุณ เราช่วยออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ธุรกิจ และทำให้ลูกค้าค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายมากขึ้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ที่จะพัฒนาเว็บไซต์อย่างครบวงจรโดยมืออาชีพ ออกแบบ UX/UI ที่มีประสิทธิภาพ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้ ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ รวมถึงพัฒนาเว็บไซต์ ให้รองรับการใช้งานบนทุกอุปกรณ์ (Responsive Design) ตั้งค่า SEO พื้นฐาน เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณอยู่หน้าแรกของการค้นหา และสามารถเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรก Google ผ่านการวิเคราะห์แบบเจาะลึก (SEO Audit) รวมถึงการสร้างสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้สอดคล้องกับ Search Engine (SEO Content) ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ออกแบบเว็บไซต์ให้โดดเด่นในแบบของคุณ

ติดต่อไลน์

แอดไลน์เพื่อปรึกษาเราฟรี

 

อ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก