สำหรับการวางแผนกลยุทธ์การตลาดในปัจจุบันนี้เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินการตลาดที่เรียกว่า Influencer และKols ผ่านตากันค่อนข้างเยอะ เพราะว่า 2 สิ่งนี้ เข้ามาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ช่วยสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขายให้กับแบรนด์อย่างเห็นผล แต่ความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้คืออะไร และเลือกแบบไหนให้เหมาะสมกับแบรนด์มากที่สุด วันนี้เรามีคำตอบ!
Influencer คืออะไร
Influencer หรือที่เรียกติดปากสั้น ๆ กันว่า การตลาดอินฟลูฯ คือ กลุ่มคนที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากหลักพันไปจนถึงหลักล้านบนสื่อโซเชียลหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook, X, IG, Tiktok หรือ Youtube โดยการนำเสนอเนื้อหาต่าง ๆ ผ่านอินฟลูเอนเซอร์จะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจและความเชื่อถือของผู้ติดตามได้เป็นอย่างดี เพราะมีความเข้าถึงง่ายเป็นกันเองและจริงใจ ทำให้ผู้ติดตามและผู้ชมสามารถมีความรู้สึกร่วมได้ง่ายกว่า
การใช้ Influencer เหมาะกับตลาดกลุ่มเป้าหมายใด
แม้ Influencer จะเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญต่อกลุ่มเป้าหมายของหลาย ๆ แบรนด์โดยเฉพาะในช่วงกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น Gen X หรือ Gen Z แต่จริง ๆ แล้วการใช้ Influencer สามารถเข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าถึง
การใช้ Influencer เหมาะกับ
- กลุ่มคนเล่นโซเชียลมีเดีย: เพราะผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ ย่อมติดตามอินฟลูเอนเซอร์ตามความสนใจของตัวเองและมีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลจากอินฟลูเอนเซอร์ที่ตนเองติดตามในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการมากกว่าการเห็นโฆษณาจากที่อื่น
- กลุ่มคนสนใจไลฟ์สไตล์: เพราะปัจจุบันโซเชียลและสื่อออนไลน์มีการแบ่งกลุ่มความสนใจที่หลากหลาย เช่น กลุ่มพูดคุยเรื่องแฟชั่น ความงาม การกิน การท่องเที่ยว และอื่น ๆ ถ้าเลือก Influencer จากแต่ละกลุ่มที่เหมาะสม จะช่วยให้แบรนด์เราสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น
- กลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง: เพราะอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนมีกลุ่มผู้ติดตามที่แตกต่างกันไปตามสไตล์และความถนัดของ Influencer เอง การเลือก Influencer จึงทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้ เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มอาหารคลีน กลุ่มสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
Influencer เหมาะกับธุรกิจประเภทใด
จริง ๆ แล้วการใช้ Influencer นั้นเหมาะกับธุรกิจเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการการสร้างการรับรู้แบรนด์ในวงกว้าง สร้างกระแสและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- ธุรกิจความสวย ความงาม
- ธุรกิจแฟชั่น
- ร้านอาหาร คาเฟ่
- สถาบันการศึกษา
เพียงแค่ต้องให้ความสำคัญในการเลือกใช้ Influencer ที่เหมาะสม ตรงสาย เพื่อช่วยเสริมภาพลักษณ์ด้านบวกจากเนื้อหาที่ Influencer ผลิตออกมาให้กับแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
KOLs คืออะไร
Kols ย่อมาจาก (Key Opinion Leader) คือ กลุ่มคนที่ไม่ใช่แค่สร้างกระแสการรับรู้ แต่สามารถให้ความรู้ แนะนำ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในความรู้แขนงใดแขนงหนึ่ง เช่น นักวิชาการ นักโภชนาการ หรือผู้มีประสบการณ์ในวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้มากกว่า
Kols เหมาะกับตลาดกลุ่มเป้าหมายใด
สำหรับ Kols marketing จะเป็นการทำการตลาดที่เฉพาะเจาะจง เน้นสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าแทบทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงาน Gen Y, Gen X หรือ Gen Z ที่มีกำลังในการซื้อสูงและมักตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการจากความน่าเชื่อถือ การตลาดแบบใช้Kols ก็จะเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้มากกว่า เช่น
- กลุ่มความสนใจเฉพาะด้าน เช่น เน้นไปที่กลุ่มคนรักสุขภาพ, กลุ่มนักลงทุน หรือกลุ่มผู้สนใจเทคโนโลยี
- กลุ่มที่มีความต้องการข้อมูลเชิงลึก เพื่อประกอบการตัดสินใจหรือเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อสินค้าและบริการ เช่น ศึกษาจากKols ในเรื่องการเปรียบเทียบส่วนผสมต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อ หรือเพื่อความคุ้มค่า เป็นต้น
- กลุ่มที่ต้องการความน่าเชื่อถือ: เพราะผู้บริโภคจำนวนมากให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของข้อมูลและคำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ ดังนั้นการที่Kols ที่มีความรู้เกี่ยวกับด้านนั้น ๆ มาแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการ จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้
KOLs เหมาะกับธุรกิจประเภทใด
การเลือกใช้Kols นั้น เหมาะกับธุรกิจที่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ การวางตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้นำในด้านใดด้านหนึ่ง การเลือกใช้Kols marketing จะเหมาะสมมากกว่าการใช้อินฟลูเอนเซอร์ทั่วไป เพราะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้อย่างเฉพาะเจาะจง
โดยตัวอย่างกลุ่มธุรกิจที่เหมาะกับการเลือกใช้Kols ได้แก่
- ธุรกิจด้านสุขภาพ เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, เวชภัณฑ์ ฯลฯ
- ธุรกิจด้านการเงิน เช่น แนวโน้มตลาดการเงิน. การวิเคราะห์เศรษฐกิจ หรือหุ้นเด่นมาแรง เพื่อสนับสนุนกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ อย่างเป็นมืออาชีพ
- ธุรกิจด้านเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ IT และ Gadget ต่าง ๆ
สรุปข้อแตกต่างระหว่าง Influencer และ KOL
ถึงตรงนี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนเริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Influencer และKols กันพอสมควรแล้ว โดยสามารถสรุปความแตกต่างของทั้ง 2 ประเภทง่าย ๆ ได้ดังนี้
- Influencer เป็นผู้มีอิทธิพลต่อสังคม โดยเฉพาะสังคมออนไลน์ เนื่องจากมีผู้ติดตามเยอะ กลุ่มผู้ติดตามพร้อมสนับสนุน และเป็นกลุ่มคนที่มีความชอบความสนใจในไลฟ์สไตล์เดียวกันกับ Influencer นั้น ๆ สามารถสร้างกระแสการรับรู้ในวงกว้างได้ดี เช่น การใช้ Tiktoker ชื่อดังที่รีวิวผลิตภัณฑ์ความงามหลากหลายชนิด
- Kols (Key Opionion’s Leader) เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความถนัดเฉพาะด้านที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอได้ ได้รับความเชื่อใจจากผู้ติดตาม และเป็นผู้ที่สามารถสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในด้านต่าง ๆ ได้ดี เน้นที่คุณภาพของเนื้อหาและความรู้ เช่น แพทย์ผิวหนังที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผิว
แม้ว่า Influencer และKols จะมีความคล้ายกันในเรื่องของการทำกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านตัวคนที่มีผู้ติดตาม เป็นที่รู้จัก แต่ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของวัตถุประสงค์ทางการตลาด และกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการจะเข้าถึง ถ้าหากต้องการสร้างกระแสให้สินค้า ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักการเลือกใช้ Influencer อาจจะตอบโจทย์เพียงพอ แต่ถ้าต้องการให้ข้อมูลสินค้าแบบตรงกลุ่มเป้าหมาย น่าเชื่อถือ โน้มน้าวให้กลุ่มลูกค้าเชื่อถือในแบรนด์ การเลือกใช้Kols ก็จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่า
FAQ เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง Influencer และ KOLs
ข้อเสียของการตลาดแบบ Influencer
แม้ว่าการตลาดแบบ Influencer จะมีข้อดีและมีประสิทธิภาพในเรื่องของการสร้างกระแสและการรับรู้ให้กับแบรนด์ได้อย่างกว้างขวาง และมีโอกาสที่ผลิตภัณฑ์ของเราจะได้รับความนิยมแบบไวรัลถ้าหากเนื้อหาเหมาะสมกับช่วงเวลานั้น ๆ แต่ก็มีข้อเสียที่ควรระวังเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- การวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) อาจทำได้ยาก
- มีความเสี่ยงจากภาพลักษณ์ของ Influencer ที่เลือกใช้
- ควบคุมความคิดเห็น กระแสหลังการเผยแพร่ได้ยาก
- ไม่สามารถกำหนด หรือคาดเดาผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน
ข้อเสียของการตลาดแบบKols
- ค่าใช้จ่ายสูง
- ระดับความรู้และความเชี่ยวชาญของKols อาจไม่เหมาะสม
- ภาพลักษณ์ของKols ที่เลือกใช้สามารถส่งผลต่อแบรนด์ได้
- ควบคุมความคิดเห็น กระแสหลังการเผยแพร่ได้ยาก
กลยุทธ์การตลาดแบบ Influencer กับKols ค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไร
- KOLs (Key Opinion Leaders) มักจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า Influencer ทั่วไป เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถสูงกว่า Influencer ทั่วไป รวมถึงสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้สูง
- Influencer จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปตามระดับอิทธิพลของ Influencer เช่น ถ้าเป็นระดับ Mega Influencer (ผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป) ค่าตัวก็จะสูงมาก แต่ถ้าเป็นระดับ Nano Influencer (ผู้ติดตาม 1,000 คนขึ้นไป) ค่าตัวก็จะลดหลั่นลงมาตามกระแสและความนิยม รวมถึงรูปแบบการสร้างเนื้อหาและยอด Engagement ที่เกิดขึ้น
ถ้าคุณคือเจ้าของธุรกิจ ที่กำลังมองหาอินฟลูเอนเซอร์ Digimusketeers เรามีบริการ Influencer & KOLs Marketing สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านรูปแบบการตลาดอินฟลูเอนเซอร์และ KOL ตอบโจทย์ธุรกิจ และทำให้ลูกค้าค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายมากขึ้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
สิ่งที่ได้รับจากบริการการตลาดอินฟลูเอนเซอร์และ KOLs ที่ดิจิมัสเกตเทียส์
- จัดหาอินฟลูเอนเซอร์ และ KOLs ตามวัตถุประสงค์ที่แบรนด์ต้องการ พร้อมให้คำแนะนำและดูแลการทุกขั้นตอน โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน Influencer & KOLs Marketing ตัวจริง
- คิดกลยุทธ์การโฆษณาผ่านอินฟลูเอนเซอร์และ KOLs บนแพลตฟอร์มที่เหมาะสม
- วิเคราะห์ สรุปผลข้อมูลให้แบรนด์ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต
โปรโมตแบรนด์ธุรกิจให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
แอดไลน์เพื่อปรึกษาเราฟรี
อ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อินฟลูเอนเซอร์