การส่งสารของแบรนด์ไปยังผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบทั้งแบบรูปภาพเดี่ยว อินโฟกราฟิกหรือวิดีโอโมชั่นกราฟิก ซึ่งการส่งสารแต่ละแบบนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าพูดถึงยุคนี้ผู้บริโภคมักชอบเสพหรือดูสิ่งที่เคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่งและตัวอักษรแน่น ๆ ที่ต้องอ่านจนตาลาย
วันนี้ทีมดิจิมัสเกตเทียส์จะมาพูดถึงการครีเอทคอนเทนต์ในรูปแบบของวิดีโอแบบโมชั่นกราฟิกให้ทุกท่านได้ฟังกันว่าข้อแตกต่างมันอยู่ที่ตรงไหน ทำไมนักการตลาดหรือแบรนด์ยุคใหม่ถึงเลือกทำกันเยอะกว่า พร้อมข้อดีของการใช้โมชั่นกราฟิกเป็นคอนเทนต์ที่ส่งสารไปยังกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง
โมชั่นกราฟิกคืออะไร ?
โมชั่นกราฟิก หรือ Motion Graphic คือกราฟิกที่สามารถเคลื่อนไหวได้โดยการนำมาจัดเรียงต่อกัน คล้ายกับการ์ตูนแอนิเมชั่น พูดให้เข้าใจง่าย ๆ มันก็คือการนำกราฟิกมาทำให้ขยับได้ มีการเคลื่อนไหว ช่วยให้คอนเทนต์ดูมีมิติ ดูสนุกขึ้นนั่นเอง
ส่วน motion infographic คือ ส่วนย่อยส่วนหนึ่งของ มีความเฉพาะเจาะจงในเรื่องรูปแบบการนำเสนอให้เข้าใจง่าย มันเป็นในเวอร์ชันที่เข้าใจง่ายขึ้น เพราะมีการนำเสนอทั้งข้อมูลและรูปภาพประกอบกันหรือมีแค่เพียงภาพอย่างเดียวก็เข้าใจได้เลย ไม่ต้องมีเสียงบรรยายอะไรเพิ่มเติม
หน้าที่ในการสร้างคอนเทนต์รูปแบบนี้จะเป็นของทีม Motion Designer เรียกว่าเป็นนักออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว ซึ่งจะต้องมีทักษะความรู้พื้นฐานของโปรแกรม Adobe ทุกประเภท มีความชำนาญในการใช้ Tools และการใช้คำสั่งต่าง ๆ อย่างแม่นยำ และยังต้องมีความรู้ด้านองค์ประกอบการวาง รวมถึงเรื่องของสีอีกด้วย
ขั้นตอนการทำโมชั่นกราฟิก
-
Direction Concept
หลังจากรับบรีฟลูกค้ามาเรียบร้อยแล้วก็จะมาเริ่มเอาข้อมูลมาวางโครงสร้างทิศทางของเนื้อเรื่อง โดยปกติมักจะมีโครงเรื่องมาให้เลือกมากกว่าหนึ่งเรื่อง เพื่อให้สามารถเขียนสคริปต์เล่าเรื่องได้หลายแนวเป็นตัวเลือกให้ลูกค้า
-
Mood Board
ถัดมาเป็นขั้นตอนของการกำหนดอารมณ์ของตัวงาน เพื่อให้เห็นภาพใปในทิศทางเดียวกันทั้งทีมและลูกค้า โดยการกำหนด Mood Board ส่วนใหญ่จะใช้สี สไตล์หรือฟอนท์มากกว่า 2 แบบ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเห็นภาพมากขึ้น ซึ่งจะให้ Motion Designer ออกแบบคู่กับ Creative
-
Script
หลังจากได้ทั้ง Direction และ Mood มาแล้ว ทาง Creative จะเอาไปเขียน Script ต่อ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
– Introduction ส่วนเปิดหัวแรกให้น่าสนใจและน่าติดตามต่อมากที่สุด และต้องเชื่อมไป Main Idea
– Main Idea ส่วนกลางเนื้อเรื่องเป็นใจความหลักที่ใช่ในการขายประโยชน์ของสินค้า
– Ending ส่วนปิดที่ต้องสรุปเรื่องทั้งหมดผ่าน Key Massage สั้น ๆ เพื่อบอกอะไรกับคนดู
-
Storyboard
เป็นขั้นตอนที่รวมเอาสคริปต์กับภาพมาเล่าเรื่องด้วยกัน ซึ่งขั้นตอนนี้ทาง Motion Designer จะเป็นทีมรับทำต่อ โดยเป็นเป็น 2 ส่วนหลักตามนี้เลย
– Storyboard การสเก็ตภาพแบบง่าย ๆ คู่กับสคริปต์ โดยเขียนบอกว่าภาพนี้สื่ออะไร มีการเคลื่อนไหวแบบไหนบ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไขต่อไป
– Storyboard AI หลังจากได้ภาพสเก็ตแล้วจึงนำไปแต่ละภาพไปขึ้นที่ Adobe illustrator เพื่อทำเป็นฉากพร้อม Animate แล้วนำมาเรียบเป็น Storyboard ตาม Mood Board ตามลูกค้าเลือก
-
Animate
เป็นการเอาฉากที่สร้างใน Adobe illustrator มาแบก layer แล้วทำให้เคลื่อนไหวในโปรแกรม Adobe After Effect ซึ่งก่อนจะ Animate จ้องอัดเสียงไกด์ตามสคริปต์ เพื่อให้ภาพได้ตามเสียง
-
Mix Sound
หลังทำการ Animate แล้ว ขั้นสุดท้ายคือการอัดเสียงที่ใช้บรรยายโมชั่นกราฟิก โดยไปอัดที่ห้องอัดเสียง เพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพมากที่สุด
ข้อดีของการใช้โมชั่นกราฟิก
โมชั่นกราฟิกเล่าเรื่องได้สนุกกว่าภาพนิ่ง
คอนเทนต์แบบภาพนิ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวและสื่อความหมายได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนอ่านจะตีความหมายตามที่แบรนด์ต้องการสื่อได้ทั้งหมด ด้วยข้อจำกัดคือจะหาภาพนิ่งแบบไหนที่สอดรับกับข้อความที่จะสื่อความหมายออกไปได้ตรงมากที่สุด ลองสังเกตดูโฆษณาที่เห็นรอบ ๆ ตัว มักทำคอนเทนต์ภาพเคลื่อนไหวกับตัวสินค้าและองค์ประกอบอื่น เพื่อสร้างความสนุกและทำให้คนสนใจ
โมชั่นกราฟิกกระตุ้นความรู้สึกผู้ชมได้มากกว่า
แน่นอนว่าภาพเคลื่อนไหวอย่างโมชั่นกราฟิกเป็นคอนเทนต์ที่มักจะกระตุ้นความรู้สึกให้กับผู้ชมได้มากกว่าคอนเทนต์ภาพนิ่ง และการใช้โมชั่นกราฟิกสามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้มากกว่าภาพนิ่ง มีมิติมากกว่าและยังสามารถสร้างการจดจำให้แบรนด์ได้ผ่านภาพเคลื่อนไหวของโลโก้ ตัวการ์ตูนขยับได้ ทำให้พวกเขาจดจำได้
โมชั่นกราฟิกทำให้คอนเทนต์ไม่น่าเบื่อ
คอนเทนต์แบบโมชั่นกราฟิกมีทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียงและองค์ประกอบหลายอย่างจึงทำให้คอนเทนต์นั้นดูมีสีสันและสนุกกว่าคอนเทนต์ภาพนิ่ง ทำให้คอนเทนต์นั้นดูไม่น่าเบื่อ
โมชั่นกราฟิกดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า
คอนเทนต์โมชั่นกราฟิกที่มีรูปภาพประกอบนั้นทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นอยู่แล้ว แต่พอมาเป็นคอนเทนต์รูปแบบที่เป็นภาพเคลื่อนไหวนั้นช่วยดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมกับคนดูและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายกว่าอีกด้วย
สื่อสารรายละเอียดได้ครอบคลุมกว่าในระยะเวลาอันสั้น
การที่แบรนด์ใช้คอนเทนต์รูปแบบโมชั่นกราฟิกสื่อสารรายละเอียดไปถึงผู้บริโภคได้ครอบคลุมมากว่า แต่ก็ไม่ควรอัดแน่นจนมากเกินไป เพราะระยะเวลาของวิดีโอโมชั่นกราฟิกภาพมีผลต่อการรับรู้และการตัดสินใจของผู้บริโภคเช่นกัน
ที่ดิจิมัสเกตเทียส์เรามีทีมงานที่ทำโมชั่นกราฟิกได้อย่างเชี่ยวชาญ ผลิตชิ้นงานที่สามารถสื่อสารตัวตนของแบรนด์ได้ครบถ้วนและตรงตามโจทย์ที่แบรนด์ต้องการ