Google

เมื่อพนักงาน Google ลาออกเพราะโดนสั่งให้กลับไปทำงานออฟฟิศ

Digimusketeers, 6 May 2022

Google องค์กรที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีมาก ๆ แห่งหนึ่งเลยล่ะ อย่างที่รู้กันดีว่า Google ให้ความสำคัญกับพนักงานในองค์กรมาก เพราะอยากให้พนักงานทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงมีการบริหารองค์กรที่ดูต่างจากบริษัททั่วไป รวมถึงการคัดสรรคนเข้าองค์กรอย่างละเอียดรอบคอบ

แต่เมื่อไม่นานนี้ทาง Google เองได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน โดยจะประกาศว่าจะให้พนักงานทุกคนกลับมาทำงานที่ออฟฟิศแบบเดิมอีกครั้ง และได้มีพนักงานบางส่วนตัดสินใจว่าจะเลือกลาออกจากองค์กร มันเกิดอะไรขึ้นกับ Google กันแน่ ? ตอนนี้วัฒนธรรมองค์กรของ Google ที่เคยเป็นอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน เราไปดูกัน

 

Google บริษัทเสิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของโลก

Google

Google ได้ก่อตั้งขึ้นวันที่ 4 กันยายน 1998 ณ ชานเมืองเมนโลพาร์ก แคลิฟอร์เนีย โดยเริ่มจากการมีพนักงานไม่ถึง 10 คน หลังจากก่อตั้งได้หนึ่งเดือน แอนดี เบ็กโตลไชม์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Sun Microsystems ก็ได้ให้เงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์ กับบริษัทเพื่อให้ Google เดินหน้าพัฒนาองค์กรต่อ 

เริ่มจากการเป็นเสิร์จเอนจิน (บริการค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์) จนมีผู้ใช้งานหลายล้านคนทั่วโลก มาถึงในช่วงปี 2004 Google ได้เสนอขายหุ้นจนทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งอย่างก้าวกระโดดมาสู่ยุคปัจจุบันที่มีบริการหลากหลายและยังนับว่าประสบความสำเร็จอย่างมากอีกด้วย ปี 2015 Google ได้ก่อตั้ง ‘แอลฟาเบต’ (Alphabet) เพื่อเป็นบริษัทแม่ของ Google และบริษัทย่อยในเครือทั้งหมดที่มีพนักงาน 1 แสนกว่าคน กระจายตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงที่ประเทศไทยด้วย  

 

ทำไมพนักงาน Google บางส่วนติดสินใจลาออก

Google

Google ได้รับการขนานนามว่าเป็นองค์กรที่มีคนอยากเข้าไปทำงานมากที่สุดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นเพราะอะไรที่ปัจจุบันมีพนักงานเลือกลาออก

ไม่พอใจในค่าตอบแทนที่ได้

โดยปกติ Google จะมีการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานในองค์กรประจำปีชื่อว่า ‘Googlegeist’ ซึ่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้พบว่าคะแนนเรื่องค่าตอบแทนและการบริหารงานในองค์กรได้ต่ำที่สุด ส่วนภารกิจและค่านิยมได้คะแนนสูงที่สุด โดยมีพนักงาน 46% ไม่พอใจกับค่าตอบแทนที่ได้ และรู้สึกว่าเงินที่ได้นั้นสูสีกับบริษัทอื่นในตำแหน่งที่คล้ายกัน ลดลงจากปีที่แล้ว 12 จุด และมี 56% ของพนักงานบอกว่ารู้สึกแฟร์กับเงินเดือนที่ได้ลดลงจากปีที่แล้ว 8 จุด รวมถึง 64% เห็นว่าความเหมาะสมกับงานและรูปแบบการจ่ายเงินลดลง 3 จุด

การประกาศให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ

Google ได้ให้พนักงานทุกคนกลับมาทำงานที่ออฟฟิศอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกไม่พอใจ อ้างอิงจากความคิดเห็นจากพนักงานบน Blind การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของพนักงานเกี่ยวกับงานและนายจ้างแบบไม่เปิดเผยตัวตน พบว่า 62% ของพนักงานไม่พอใจกับกฏนี้ของ Google และมี 2 ใน 3 ของพนักงานรู้สึกไม่พอใจกับการที่องค์กรบังคับให้กลับมาทำงานในออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งยังพบอีกว่า 34% ของพนักงานกำลังหางานที่ใหม่อีกด้วย

ความไม่พอใจของพนักงานในองค์กรของ Google นั้นอาจเป็นเพราะในช่วงโควิด-19 ทำให้เกิดความเคยชินกับการทำงานที่บ้าน ความสะดวกที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางออกมาทำงาน รวมถึงหน้าที่ในบ้านที่ตัวเองต้องทำ ทำให้รู้สึกว่าชอบทำงานที่บ้านมากกว่า

ความในใจของอดีตพนักงาน Google

ดูผิวเผินหลายคนอาจมองว่า Google มีสวัสดิการให้พนักงานไม่อั้น แต่พนักงานในองค์กรเองมองว่าแม้ว่าสวัสดิการที่มีจะเยอะก็จริง แต่เงินเดือนที่ได้เมื่อเทียบกับที่อื่นแล้วดูจะน้อยไป 

‘Ken Waks’ อดีตพนักงานของ Google พูดถึงเรื่องนี้ว่า เมื่อก่อนช่วงที่เคยเป็นพนักงาน ทางองค์กรได้เสนอสวัสดิการที่ทำให้พนักงานต้องทำงานมากขึ้น แต่กลับได้รับเงินเดือนน้อยลง เขายังบอกอีกว่า สวัสดิการเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้พนักงานอยู่ออฟฟิศนานที่สุด เช่น ทานอาหารฟรีที่ออฟฟิศได้สามมื้อ โดยกำหนดเวลาของอาหารมื้อเย็นคือช่วงหกโมงเย็น ทำให้พนักงานต้องเลิกงานเลทเพื่อที่จะได้ทานอาหารมื้อเย็นฟรี หรือรถรับส่งพนักงานที่มีให้บริการตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม และยังมี Wi-Fi ให้พนักงานสามารถนั่งทำงานในรถได้ และการเอาสัตว์เลี้ยงมาที่ออฟฟิศได้ 

 

ดูแล้วพวกเขาอาจจะต้องการค่าตอบแทนที่สมกับจำนวนงานที่ได้รับมากกว่าสวัสดิการมากมายที่องค์กรมอบให้ ในขณะพนักงานบางส่วนยังรู้สึกโอเคกับค่าตอบแทนที่น้อยลง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะพอใจกับค่าตอบแทนที่น้อยลง ต้องคอยดูกันล่ะว่า Google เองจะปรับตัวอย่างไรในเรื่อง

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก