สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งต้องมี 7 ข้อ

อยากสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งต้องมี 7 ข้อนี้ รีบเช็กก่อนสายเกินแก้!

Digimusketeers, 5 October 2022

ผู้อ่านคิดว่าแบรนด์ที่ดีหรือการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งมันเป็นแบบไหน…วัดจากอะไร ? ถ้าถามคนส่วนมาก คำตอบที่ได้อาจจะเป็นแบบนี้ “วัดจากมูลค่าของแบรนด์เอาสิ! ถ้ามูลค่าสูงก็แปลว่าแบรนด์นั้นดี” แต่ก็มีบางคนที่ไม่เห็นด้วยที่จะเอามูลค่าของแบรนด์มาเป็นเกณฑ์หลักในการวัดว่าเป็นแบรนด์ที่ดี เพราะแบรนด์นั้นจับต้องไม่ได้ แถมยังบอกไม่ได้ชัดเจนว่ารายได้ทั้งหมดนั้นมาจากแบรนด์โดยตรง หรือมาจากสินค้าบางส่วนมากกว่า 

ถ้าอย่างนั้นการสร้างแบรนด์ที่ดีนั้นต้องเป็นอย่างไรล่ะ? วันนี้เราได้รวบรวม 7 ข้อที่ผู้ประกอบการต้องมี หากอยากสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ดูได้จากองค์ประกอบเหล่านี้ได้เลย สามารถนำเอาไปใช้กับธุรกิจได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดอีกด้วย ถ้าคุณอยากเป็นผู้ประกอบการที่อยากสร้างแบรนด์สุดแข็งแกร่ง ต้องรีบเช็กก่อนจะสายไป

 

เช็กลิสต์ 7 ข้อสร้างแบรนด์

เช็กลิสต์ 7 ข้อสร้างแบรนด์แข็งแกร่ง

สามารถสร้างรายได้ในระยะยาว

ข้อแรกสำหรับการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งคือสินค้าของคุณจะต้องดีมากพอจนลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าไปแล้ว กลับมาซื้อซ้ำอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งการที่พวกเขาจะกลับมาซื้อซ้ำได้นั้นต้องเป็นสินค้าที่ดีจริง และเป็นของที่รู้สึกขาดไม่ได้ ต้องใช้อยู่ตลอด สิ่งนี้จะช่วยให้แบรนด์ของคุณมียอดขายที่โตอย่างสม่ำเสมอ สะท้อนให้เห็นถึงแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ หรือเป็นแบรนด์ที่แกร่ง เพราะคุณเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่พึ่งมาใหม่และรักษาลูกค้าเก่าไว้ได้ด้วย ตัวอย่างของแบรนด์ที่มีข้อนี้ที่หลายคนรู้จักคือ แบรนด์น้ำอัดลมอย่างโค้กหรือเป็ปซี่ หรือแบรนด์กางเกงยีนส์ลีวายส์ ซึ่งถ้าสังเกตดี ๆ จะรู้ว่าแบรนด์พวกนี้อยู่กับคนมายาวนานมากหลายสิบปี พิสูจน์ได้ว่าพวกเขาสร้างแบรนด์ที่แข็งแรงยิ่งนัก

สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าได้มากกว่า

โดยปกติแล้วเวลาที่คนเราจะเลือกซื้อสินค้าบางอย่างมักจะใช้การเปรียบเทียบเป็นหลัก ทั้งคุณภาพ ราคา คุณสมบัติสินค้า หรือแม้แต่ภาพลักษณ์ที่พวกเขามีต่อแบรนด์ เพื่อวิเคราะห์ดูว่าจะซื้อสินค้าของใครที่ดูคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปมากที่สุด ดังนั้นแบรนด์ที่แข็งแกร่งจะต้องสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ดีกว่าแบรนด์คู่แข่ง เพราะหากแบรนด์เราดีกว่าคู่แข่งลูกค้าอาจจะเทใจมามากกว่าต่อให้แบรนด์ตั้งราคาสูงกว่าแบรนด์อื่นก็ตาม จำไว้ให้ขึ้นใจเลยว่าการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งได้คุณต้องเพิ่มมูลค่าสินค้าได้มากกว่าแบรนด์อื่นที่ขายสินค้าแบบเดียวกัน

สามารถสวนกระแสตลาดได้

แบรนด์ที่แกร่งจริงจะต้องพาตัวเองสวนกระแสตลาดได้ในยามคับขัน เมื่อถึงในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ หรืออยู่ในช่วงมรสุมธุรกิจ ผู้คนไม่มีกำลังซื้อต้องใช้จ่ายอย่างจำเป็น มีการคิดรอบคอบขึ้นก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นหนึ่ง การสร้างแบรนด์ให้ดีได้นั้นจะต้องประคับประคองธุรกิจให้ผ่านภาวะแย่ ๆ นี้ไปได้ หรือที่ว่าสวนกระแสตลาดนั่นเอง 

ซึ่งจะมีปัจจัยหลายส่วนประกอบกัน เช่น คุณภาพของสินค้าที่ดีจริง ๆ ไม่จกตา คุณสมบัติมีครบตามความต้องการของลูกค้าคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่าย ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์มาร์ลโบโรที่ช่วงหนึ่ง ตลาดของบุหรี่ในอเมริกาอยู่ในขั้นวิกฤต ยอดขายรวมทั้งอุตสาหกรรมลดลงเฉลี่ยปีละ 2% แต่ยอดขายของมาร์ลโบโรยังคงเพิ่มขึ้นปีละ 3% 

มีภูมิต้านทานด้านการโจมตีคู่แข่ง

การมีภูมิต้านทานในด้านการโจมตีของคู่แข่งได้ถือเป็นปัจจัยหนึ่งของการสร้างแบรนด์อันแข็งแกร่ง ลองสังเกตว่าช่วงที่ยอดขายเข้ามาแบบถล่มถลายนั้นมาจากโปรโมชันที่แบรนด์ทำไว้หรือไม่ แล้วสวนทางกับยอดขายปกติอย่างไร เพราะถ้ายอดขายมาแค่ในช่วงโปรโมชันนั่นแปลว่าลูกค้าเข้ามาแค่ช่วงนี้เท่านั้น พอหมดโปรยอดขายลดลงทันทีก็แปลว่าแบรนด์คุณไม่แข็งแกร่งพอ นอกจากนี้การมีภูมิต้านทานในด้านนี้ยังสามารถใช้เพื่อโจมตีคู่แข่งทางอ้อมได้ด้วยนะ เช่น แบรนด์คู่แข่งอัดโปรโมชันไม่พักเลย แถมยังทำยอดขายไม่ได้ตามเป้า พอทำบ่อยเข้าก็ยิ่งขาดทุนจนเจ๊งไปในที่สุด โดยที่แบรนด์เราไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย 

เข้าไปตีตลาดใหม่ได้ง่ายกว่าแบรนด์อื่น

การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งจะช่วยให้แบรนด์ของคุณสามารถเข้าไปตีตลาดใหม่ได้ง่ายกว่าแบรนด์ทั่วไป (ในกรณีที่สินค้านั้นใกล้เคียงกับสินค้าเดิมนะ) แต่ก็มีข้อที่ต้องระวังอยู่เช่นกันนั่นก็คือข้อจำกัดในการขยายตลาด จำไว้ว่าไม่มีแบรนด์ไหนสามารถทำการตลาดได้แบบครอบจักรวาลนะ ไม่งั้นแบรนด์พังแน่ ๆ 

เป็นสินค้าที่ชื่นชอบที่สุดบนชั้นวางสินค้า

หากคุณสร้างแบรนด์ได้แข็งแกร่งจริง สินค้าของแบรนด์ที่ถูกตั้งวางบนชั้นขายจะเป็นสินค้าที่ร้านค้าหรือผู้บริโภคโปรดปรานมากกว่าแบรนด์อื่นที่อยู่ในชั้นวางขายด้วยกันแน่นอน ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือการที่เจ้าของร้านนั้นเลือกวางสินค้าของแบรนด์ให้โดดเด่นกว้าเจ้าอื่น ของหมดก็รีบมาแจ้งออเดอร์ซื้อไปเพิ่ม นั่นแปลว่าเขาถูกใจเรานั่นเอง

ประคองแบรนด์ได้แม้เจอวิกฤตหนัก

อีกหนึ่งข้อเลยที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ของคุณนั้นสร้างแบรนด์มาได้อย่างแข็งแกร่ง ยกตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์วิกฤตเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดขึ้น หรือเกิดสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมไป เช่น การผลิตมีปัญหา มีการปรับเปลี่ยนคนในองค์กรจนไม่มีเวลามาสนใจแบรนด์เลย แต่ตัวแบรนด์ก็ยังสามารถประคับประคองตัวเองให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตไปได้ แม้ในขณะนั้นคนในองค์กรจะมัววุ่นอยู่เรื่องอื่นก็ตาม 

 

ไม่ว่าใครก็คงอยากจะสร้างแบรนด์ของตัวเองให้แข็งแกร่งใช่ไหม อย่าลืมเช็กว่าแบรนด์คุณมีข้อเหล่านี้หรือไม่ ถ้ายังไม่ครบก็ถึงเวลาที่ต้องรีบเสริมความแกร่งให้แบรนด์ได้แล้วนะ อย่าให้สายเกินแก้

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก