เทรนด์ของสะสม

เมื่อเทรนด์ของสะสมกลับมาฮิตอีกครั้ง สร้างธุรกิจทำรายได้พุ่ง

Digimusketeers, 24 May 2022

หลายคนคงทราบกันดีว่าพวกของสะสม หรือของเก่านั้นสามารถนำมาเป็นธุรกิจได้ เพราะสิ่งของเหล่านี้มีการซื้อขายเป็นธุรกิจมาเนิ่นนานแล้ว แต่ไม่ได้เป็นที่ฮอตฮิตในวงกว้างขนาดนั้น ซึ่งถือเป็นความนิยมเฉพาะกลุ่มจริง ๆ จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้ ธุรกิจ ‘ของสะสม’ กลับมาเป็นที่ต้องการทั่วโลกอีกครั้ง และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย

เหตุผลที่เทรนด์ของสะสมกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้งนั้นอาจมาจากผู้คนยุคนี้ถวิลหาสิ่งเยียวยาใจในวันวานมาบรรเทาจิตใจตัวเองจากภาวะความเครียดกับชีวิตในช่วงนี้ พวกของสะสม ของเก่าแก่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ภัยธรรมชาติ สงคราม โควิด-19 ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดหนัก พวกเขาจึงหากิจกรรมย้อนอดีตเพื่อจำลองประสบการณ์ย้อนวันวานให้กลับมาอีกครั้ง เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยในใจ และยังสอดคล้องกับแนวคิดเชิงจิตวิทยา ‘Coping Skill’ คือทักษะที่ใช้จัดการกับความเครียดผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำสิ่งที่ชอบ หรือการย้อนนึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุขในอดีตที่ผ่านมานั่นเอง

 

10 ของสะสมที่ราคาพุ่งสูงขึ้นในปี 2021

เทรนด์ของสะสม

รายงานของ The Wealth Report 2022 โดย Knight Frank ได้เผยถึงข้อมูลอัตราการเติบโตของกลุ่มของสะสม ไตรมาส 4 ปี 2021 ซึ่งพบว่ามีของสะสมอยู่ 10 ประเภทที่มีความนิยมเพิ่มสูงขึ้น

1. ไวน์ เพิ่มขึ้น 16% จากเดิม 11% 

2. นาฬิกา เพิ่มขึ้น 16% จากเดิม 5% ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ขวัญใจของนักสะสม เช่น Roger Smith, George Daniels, Christian Klings และนาฬิกาจากแบรนด์ Phlilppe Dufour ที่เคยทำราคาได้สูงถึง 173 ล้านบาทเลยล่ะ 

3. งานศิลปะ เพิ่มขึ้น 13% จากเดิม -11% ที่เพิ่มสูงขึ้นขนาดนี้เป็นผลมาจากตลาด NFTs ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องที่มาจากสถาบันการประมูลใหญ่ทำยอดขายไปกว่า 8.36 แสนล้านบาทบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน

4. วิสกี้หายาก เพิ่มขึ้น 9% เพิ่มขึ้นจากเดิม -4%

5. เหรียญเก่าหายาก 9% เพิ่มขึ้นจากเดิม -1%

6. กระเป๋าแบรนด์เนม 7% เป็นของสะสมประเภทที่ลดลงจากเดิมเยอะที่สุด 17%

7. รถยนต์คลาสสิก 3% ลดลงจากเดิม 6%

8. เครื่องประดับ 2% เพิ่มขึ้นจากเดิม -1%

9. เพชรสี 2% เพิ่มขึ้นจากเดิม -1%

10. เฟอร์นิเจอร์ 1% ลดลงจากเดิม 4%

 

eBay เผยข้อมูลเรื่องของสะสมสุดฮิตฝั่งเอเชีย

เทรนด์ของสะสมเอเชีย

บริษัทอีคอมเมิรซ์ยักษ์ใหญ่ที่มีการซื้อขายสินค้าทั่วโลกที่เผยว่าปัจจุบันสินค้าที่มีความต้องการเฉพาะกลุ่มจากฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะแหล่งสินค้าจากประเทศไทย และยังพบว่าพฤติกรรมนักช้อปออนไลน์ในตลาดโลกนั้นติดสินใจซื้อสินค้าตามเทรนด์ของสะสมหรืองานอดิเรกมากขึ้นอีกด้วย ไปดูกันว่าสินค้าของสะสมประเภทไหนเป็นที่ฮอตฮิตจากฝั่งเอเชียกันบ้าง

นาฬิกามือสอง

ในปี 2021 ของสะสมประเภทนาฬิกาหรูโซนเอเชียจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และสิงค์โปร กลายเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงมากจากผู้ซื้อในแถบสหรัฐอเมริกา โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 2,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาถือว่าเติบโตมากกว่า 62% 

จากผลสำรวจแบรนด์นาฬิกาฝั่งเอเชียที่มีการส่งออกไปยังผู้ซื้อทั่วโลกบนแพลตฟอร์มนี้ในปี 2021 ได้แก่ Rolex, Cartier, Patek Philippe, Omega, Breitling, Audemars Piguet, Tag Heuer, Seiko และ Chipard ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีราคาสูง

การ์ดหายาก

สินค้าพวกการ์ดสะสมหายากกลายเป็นสินค้าที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลเผยว่านักสะสมการ์ดทั่วเอเชียทำกำไรได้ต่อเนื่อง และยังกลายเป็นของสะสมของคนยุคใหม่ที่เลือกมาลงทุนสินค้าประเภทนี้อีกด้วย ทำให้ยอดขายพุ่งสูงขึ้นมาก โดยจะมีอยู่ 8 ประเภทที่เป็นที่นิยมในผู้ขายบน eBay คือ โปเกมอนการ์ดเกม, เกม Yu-Gi-Oh, การ์ดเทนนิส, Magic the Gathering, บาสเก็ตบอล, ฟุตบอล, อเมริกา ฟุตบอลและเบสบอล

ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์

สจากข้อมูลในอีเบย์ พบว่าในช่วงปี 2019-2021 ของสะสมประเภทชิ้นส่วนและอะไหล่ยนต์จากประเทศไทย มาเลเซียและอินโดนิเซียมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 39% ซึ่งมีผู้ซื้อหลักเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย โดยชิ้นส่วนรถกระบะในตลาดออสเตรเลีย 5 ชนิดที่ขายดีมาก ๆ คือ ชิ้นส่วนรถโตโยต้าไฮลักซ์ นิสสันนาวาร่า ฟอร์ดเรนเจอร์ มิตซูบิชิไททันและอีซูซุดีแมกซ์

เฟอร์นิเจอร์ เพรชและจิวเวลรี่

ในส่วนของสะสมประเภทเฟอร์นิเจอร์จากมาเลเซีย เพชรและจิวเวลรี่จากไทยและอินโดฯ นั้นเป็นที่ต้องการมาก ๆ จากผู้ซื้อในแถบสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งจะมีกลุ่มที่เป็นลูกค้าประจำในแพลตฟอร์มอีเบย์ที่ซื้อเป็นสินค้าส่งอยู่มากพอ ๆ กับกลุ่มผู้ซื้อปลีกอีกด้วย

 

เห็นแบบนี้แล้วใครอยากลองเป็นนักธุรกิจของสะสมกันบ้าง ดูแล้วมีแนวโน้มว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน และเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มธุรกิจอีกด้วย

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก