เริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพ

เริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพตอนอายุน้อยได้ แค่ทำตาม 10 ข้อนี้

Digimusketeers, 9 June 2022

ยุคนี้ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้านายตัวเอง อยากเริ่มต้นธุรกิจเป็นของตัวเอง เราเชื่อว่าคุณผู้อ่านก็เป็นหนึ่งในนั้นใช่ไหมล่ะ ? ทำงานให้คนอื่นมันแสนเหนื่อย เงินเดือนก็แสนน้อยแทบไม่พอใช้ ไหนจะเงินเฟ้อที่ก็พุ่งขึ้นทุกวัน เวลาเห็นใครที่มีธุรกิจสตาร์ทอัพตั้งแต่อายุยังน้อยแถมยังประสบความสำเร็จก็อยากจะเป็นคนนั้นบ้าง 

ซึ่งการมีธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ใช่เรื่องยากขนาดนั้น แต่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน ถ้าไม่ศึกษาหรือวิเคราะห์ให้มากพอ ทุกธุรกิจมีความเสี่ยงเสมอ หากคุณคนอ่านอยากที่จะเริ่มมีบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเองแล้วกลัวว่าไม่มีประสบการณ์ ไม่รู้จะทำเริ่มที่จุดไหนก่อน เรามีทริคดี ๆ มาแนะนำสำหรับคนที่อยากทำสตาร์ทอัพมาฝาก ทริคเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจ ตั้งเป้าและกำหนดแนวทางในการสร้างสตาร์ทอัพได้ดียิ่งขึ้น ไปดูกันเลย

 

 10 ทริคดี ๆ สำหรับนักสตาร์ทอัพมือใหม่

10 ทริคสตาร์ทอัพมือใหม่

แตะ Pain Point ให้ได้

อันดับแรกในการทำสตาร์ทอัพนั่นก็คือการไอเดียในการทำธุรกิจ อาจจะต้องหาว่าปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคคืออะไร หรือหาทางทำให้ผู้คนได้มีชีวิตที่ดีขึ้นหรือสะดวกสบายขึ้น โดยอาจจะทำแบบสำรวจหรือแบบสอบถาม หลังจากได้ Pain Point แล้ว ลำดับต่อมาที่ต้องทำก็คือเราจะทำสินค้าหรือบริการไหนมาแก้ปัญหานั้น หรือตอบโจทย์ Pain Point ของพวกเขาได้ 

ยกตัวอย่างแบรนด์ใกล้ตัวที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ‘Grab’ ที่มีไอเดียมาจากผู้ก่อตั้งแบรนด์ชาวมาเลเซีย Antthony Tan และ Tan Hooi Ling ที่รู้สึกว่าการเรียกแท็กซี่ในประเทศนี้นั้นยากลำบากเหลือเกิน ซึ่งดูจะเป็นปัญหาที่หลายคนพบเจอ ทำให้พวกเขานำไอเดียแอปพลิเคชันเรียกรถมาต่อยอดเป็นแพลตฟอร์มเรียกแท็กซี่ที่ชื่อว่า ‘MyTexi’ มาเป็น Grab แพลตฟอร์มที่มากกว่าบริการเรียกรถในปัจจุบัน 

หากลุ่มเป้าหมาย

หลังจากรู้แล้วว่าจะทำสินค้าหรือบริการไหน ขั้นต่อไปในการสร้างสตาร์ทอัพก็คือมาดูว่ากลุ่มเป้าหมายหลักของคุณคือใคร เป็นกลุ่มที่จะซื้อสินค้าและบริการจริง ๆ และการกำหนดเชิงลึกไปเลยว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร ทำอาชีพอะไร เพศไหน อายุเฉลี่ยเท่าไหร่ มีความสนใจแบบไหน อาศัยอยู่ที่ไหน กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนมากขนาดไหน เป็นต้น แล้วดูว่าสินค้าที่เราทำนั้นตรงกับความต้องการของพวกเขามากน้อยแค่ไหน 

วิเคราะห์ตลาด

ข้อนี้สำคัญมากในการทำสตาร์ทอัพนะทุกคน หลังจากคิดได้แล้วว่าจะทำอะไร ต้องมาวิเคราะห์ตลาดด้วย คู่แข่งเป็นใคร มีเยอะหรือน้อยแค่ไหน คุ้มไหมที่จะลงไปเล่นในตลาดนี้ เพื่อที่จะได้เอามาดูว่าสินค้าหรือบริการของเราดีกว่าคู่แข่งอย่างไร สามารถสู้ได้หรือไม่ ซึ่งข้อเหล่านี้ก็ต้องพิจารณาบนพื้นฐานความเป็นจริงด้วย 

Business Plan

นี่ก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการทำสตาร์ทอัพ เพราะการทำ Business Plan หรือการทำแผนธุรกิจเป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายให้คุณได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าจะเป็นอย่างไร เช่น การคำนวณต้นทุน ระยะเวลา ทำเล ช่องทางการขาย กลยุทธ์การตลาด และการโปรโมตจะเป็นอย่างไรบ้าง 

ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

เแน่นอนว่าถ้าคุณพึ่งเริ่มต้นการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ นั้นยังไม่มีประสบการณ์มากพอ การไปขอความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยได้มาก อาจจะเป็นคนรู้จัก อาจาร์ยที่เชี่ยวชาญ หรือจะเข้าคอร์สอบรมที่เกี่ยวข้องกับการทำสตาร์ทอัพก็ได้ อาจจะมีโอกาสได้เจอนักลงทุนที่สนใจแผนธุรกิจของคุณเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้นะ

ศึกษาเรื่องกฏหมาย

เรื่องกฏหมายสำคัญกับธุรกิจสตาร์ทอัพมาก ๆ พวกใบอนุญาตจากหน่วยงานต่าง ๆ หลักฐานในการดำเนินธุรกิจต้องถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อาจจะจ้างที่ปรึกษาด้านกฏหมาย แต่นักกฏหมายอาสา หรือขอคำปรึกษาจากอาจาร์ยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายก็ได้ สำหรับใครที่ไม่มีเงินทุนมากนัก

ศึกษาแหล่งเงินทุนและความเสี่ยง

จะทำสตาร์ทอัพต้องขยันศึกษาแหล่งเงินทุนและความเสี่ยงอยู่เสมอ ดังเช่นประโยค ‘การลงทุนมีความเสี่ยง’ ที่ทุกคนเคยได้ยินกันนั่นเอง เพราะบางคนเริ่มธุรกิจไปแล้วงบปานปลายจนถึงขั้นหมดตัวเลยก็มี ควรจะต้องมีข้อป้องกัน หนทางลดความเสี่ยง หรือแผนสำรองเรื่องนี้ไว้ด้วย

ทดลองผลิตสินค้า

เมื่อศึกษา หรือวิเคราะห์ทุกข้อข้างต้นหมดแล้วก็ถึงเวลาที่สตาร์ทอัพของคุณจะได้ทดลองผลิตสินค้าออกสู่ตลาด อาจจะยังไม่ต้อง Full Version เพราะเป็นการทดลองตลาดและดูกระแสตอบกลับจากผู้บริโภคว่าพวกเขามีแนวโน้มอย่างไร ดีหรือไม่ดี เพื่อที่จะได้ปรับปรุงพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูงสุดก่อนจะออกตลาดจริง ๆ 

ฟอร์มทีม

พอเห็นสตาร์ทอัพของตัวเองเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งคือการฟอร์มทีมเพื่อมาทำหน้าที่แต่ละส่วนให้ครบและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจเติบโต ยิ่งมีหลายคนก็ยิ่งได้หลายสมอง อาจจะได้ไอเดียที่หลากหลายจากคนในทีม ดีกว่าทำงานหัวเดียวกระเทียมลีบนะ 

วางแผนเปิดตัว

ขั้นตอนสุดท้ายในการทำสตาร์ทอัพก็คือการวางแผนเรื่องการเปิดตัวบริษัทให้ดูดีที่สุด และตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น จะโปรโมตบนช่องทางไหนบ้าง เปิดตัวแบบไหนที่กลุ่มเป้าหมายใช้งานมากที่สุด

 

3 แหล่งเงินทุนสำคัญที่นักสตาร์ทอัพควรรู้จัก

แหล่งลงทุนให้สตาร์ทอัพมือใหม่

แหล่งเงินทุนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในธุรกิจสตาร์ทอัพเลยล่ะ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เพราะมันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้ และต่อยอดได้มากขึ้นในระยะแรก ไปดูกันเลย

นักลงทุนอิสระ

นักลงทุนอิสระที่ใช้เงินของตัวเองในการลงทุน เงินทุนอาจจะไม่สูงมากนัก ทำให้เหมาะกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่ใช้ทุนน้อย ไม่กี่ล้านบาท แถมนักลงทุนอิสระเหล่านี้สามารถให้คำแนะนำได้ดีด้วยนะ เพราะพวกเขามักมีประสบการณ์ในการทำสตาร์ทอัพมาก่อนแล้งผันตัวมาเป็นนักลงทุน

องค์กรร่วมลงทุน

เป็นนักลงทุนแบบองค์กรที่จะให้ทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่มีแววว่าจะเติบโตสูงในอนาคตอย่างแน่นอน โดยจะเข้ามาลงทุนในระยะเวลา 3-5 ปี และยังให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในช่วงที่ธุรกิจเริ่มก่อตั้งมาก ๆ 

การระดมทุน

มันคือทุนที่เกิดจากการระดมทุนจากคนจำนวนมากทั่วโลกบนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือ Funding Portal ซึ่งจะเหมาะกับสตาร์ทอัพที่ต้องการใช้เงินทุนจำนวนมาก โดยการระดมทุนจะมีหลายแบบ เช่น องค์กรการกุศล, การสนับสนุนเจ้าของสตาร์ทอัพแบบมีการแลกเปลี่ยนผลตอบแทน หรือนักลงทุนมีสิทธิในหุ้นที่ร่วมลงทุน เป็นต้น

 

ใครที่อยากเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพลองเอาทริคทั้งหมดนี้ไปศึกษาและปรับใช้กันดู หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับนักธุรกิจมือใหม่ทุกคนนะ

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก