10 สเต็ปก้าวสู่การเป็น Youtuber มืออาชีพ ที่ประสบความสำเร็จ

Digimusketeers, 21 November 2021

แม้จะมีแพล็ตฟอร์มใหม่ของวิดีโอเกิดขึ้นมากมาย แต่ Youtube ก็ยังครองเบอร์ 1 ของแพล็ตฟอร์มยอดนิยมในหมวดวิดีโอ และเป็นแพล็ตฟอร์มโซเชียลอันดับ 2 ของโลก พร้อมยอด 2 พันล้าน Monthly active users นั่นจึงทำให้ Youtube เป็นช่องทางสำคัญที่เหล่า Creators จะใช้เป็นช่องทางในการทำคอนเทนต์ จนกลายเป็นชื่อสามัญที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Youtuber
ความนิยมในการทำคอนเทนต์บน Youtube เพิ่มสูงขึ้น จนถึงขนาดที่ว่ากลายเป็นอาชีพในฝันของเด็กๆ หรือที่เราส่วนใหญ่รู้จักกันดีว่า การเป็น Youtuber เพราะนอกเหนือจากได้ทำงานอิสระ เป็นตัวของตัวเองได้แล้ว มากไปกว่านั้นยังกลายเป็นช่องทางในสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้อีกด้วย ซึ่งมีทั้งแบบที่ทำเป็น Second Job และแบบที่ทำอย่างเต็มตัว แต่เช่นเดียวกับหลายๆ คนที่เริ่มต้นการเปิดชาแนลของตัวเองก็คือ แล้วจะทำอย่างไรให้ช่องสร้างรายได้ ดังนั้น วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

วิธีในการหารายได้จากการเป็น Youtuber

เป็นคำถามแทนใจหลายคนที่สงสัยว่า จริงๆ แล้วการทำอาชีพเป็น Youtuber ทำเงินได้เฉลี่ยเท่าไหร่ แต่มันไม่ได้มีค่าเฉลี่ยนที่ชัดเจน หรือมาตรฐานที่ตายตัว แต่คำถามที่เราคิดว่าน่าจะตอบได้ดีกว่าและชัดกว่าก็คือ Youtuber ทำเงินได้จากทางไหนบ้าง หลักๆ ที่เรารวบรวมให้มี ดังนี้

  • การโฆษณา – โดยรวมจอยเป็นพาร์ทเนอร์กับทาง Youtube (สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดตามลิงก์นี้)
  • รับรายได้จากการทำ Affiliate sales – เป็นการทำคอนเทนต์ที่เมื่อเรานำสินค้าไปโปรโมทผ่านช่องของเรา โดยที่เราไม่ต้องเป็นเจ้าของสินค้า เพียงแค่เอาสินค้าไปโปรโมท แล้วถ้าสินค้าที่เรานำไปโปรโมทนั้นสามารถขายได้ผ่านลิงก์ของเรา เราก็จะได้ค่าคอมนั่นเอง
  • ขายสินค้าเอง – ขายสินค้าของเราเองผ่านช่องของเรา เช่น ถ้วย เสื้อเชิ้ต หรือของเล่น
  • ได้จากการระดมทุน (Crowdfunding) – ซึ่งถ้ามาจากการ Crowdfunding อาจจะต้องดำเนินการผ่านแพล็ตฟอร์มเพื่อความโปร่งใส
  • สปอนเซอร์ชิพ – คือการทำงานร่วมกับแบรนด์สินค้าหรือร่วมงานผ่านเอเจนซี่ เป็นรูปแบบทั่วไปที่เราเห็นกันบ่อย

ครีเอเตอร์ที่เป็น Youtuber ก็มิได้มีรายได้จากช่องทาง Youtube ช่องทางเดียว เขายังหารายได้จากการทำวิดีโอคอนเทนต์ช่องทางอื่นๆ ร่วมด้วย

สำหรับ Youtuber ที่ทำรายได้สูงสุด เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา อาทิ Ryan Kaji ครีเอเตอร์ตัวน้อยวัย 9 ขวบ มีรายได้ราว 29.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่เป็นการรีวิวของเล่น เริ่มจากการเปิดช่อง Ryan’s Review ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นช่อง Ryan’s World ซึ่งปัจจุบันเขามีแบรนด์ของเล่นและเสื้อผ้าเอง รวมไปถึงร่วมงานกับ Marks & Spencer ออกแบบชุดนอนคอลเล็คชั่นพิเศษ ปัจจุบันมียอดผู้ติดตาม 41.7 ล้านคน และมียอดวิวกว่า 2 พันล้านวิว

 

อย่างไรก็ตาม เราอาจต้องพิจารณาว่ารายได้ของคนเป็น Youtuber ก็ต้องบอกว่า ภาพรวมแล้วนั้น ครีเอเตอร์สามารถทำรายได้เฉลี่ยแล้วประมาณ 18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 595 บาท) ต่อ 1,000 วิว นั่นหมายความว่า ถ้าได้ 100,000 วิวต่อเดือนก็อาจจะทำให้มีรายได้ประมาณ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 59,500 บาท)

10 สเต็ปของการเป็น YouTuber ที่ประสบความสำเร็จ

เมื่อเราพอจะมองเห็นช่องทางหารายได้นั้นมีอะไรบ้าง แต่ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น เรากลับมาที่จุดของการเป็น Youtuber ที่จะผลิตคอนเทนต์ที่ดี เพื่อที่จะสร้างรายได้นั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง ให้คุณทำงานอย่างมืออาชีพ หรือแม้แต่ทำให้คุณมีอาชีพเป็น Youtuber กัน

1. สร้างความแตกต่างด้วยเนื้อหาเฉพาะด้าน

Youtuber หลายคนประสบความสำเร็จเพราะแตกต่าง และสร้างเนื้อหาที่เฉพาะด้าน เฉพาะกลุ่มของตัวเอง ภาษานักการตลาดเรียกว่า สร้างความ Niche ซึ่งจุดนี้ก็อยู่ที่ความเชี่ยวชาญหรือความสนใจของแต่ละคน ซึ่งแต่ละหัวข้อของวิดีโอก็จะทำให้คนที่มีความสนใจในเรื่องนั้นๆ เข้ามาฟังและติดตาม เช่น เนื้อหาเจาะลึกด้านประวัติศาสตร์ เนื้อหาเจาะลึกด้านกาแฟและวิธีการชงกาแฟ หรือแม้แต่บางคนเป็นสายลึกด้านเทียนหอม ก็มี

2. นิยามคำว่า “ทำไม”

หลังจากที่เราค้นพบแล้วว่า ความถนัดที่จะสร้างความแตกต่าง (Nice) ให้เราได้คืออะไร ต่อไปคือการที่คุณต้องชัดเจนว่า แล้วทำไม หรือเพราะเหตุใดที่เราต้องทำคอนเทนต์ประเภทนี้ เหตุผลในส่วนนี้คุณต้องเคลียร์กับตัวเองให้ชัดเจน เพราะเป็นเสมือนแกนหลักต่อไปในปัจจุบันและอนาคตของการผลิตคอนเทนต์อย่างต่อเนื่อง
รวมไปถึงเป็นเหตุผลสำคัญด้วยว่า ทำไมผู้ชมถึงจะต้องติดตามดูคอนเทนต์ของคุณด้วย เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับเทียนหอมในการใช้งานและการเลือก เป็นสังคมของคนที่ชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวเฉพาะในประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การทำคอนเทนต์ที่สนุกชวนติดตามก็สำคัญไม่แพ้กัน นอกเหนือไปจากการมุ่งหารายได้เข้าสู่ชาแนล

3. ต้องรู้จักผู้ติดตาม/ผู้ฟัง ของคุณ

เมื่อคุณต้องตัดสินใจว่า คอนเทนต์ของคุณต้องทำ ‘ทำไม’ แล้ว คุณก็ต้องทำความรู้จักกับผู้ติดตามหรือกลุ่มผู้ฟังของคุณด้วยว่าเป็นใคร เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยคำถามดังนี้

  • ใครคือผู้ชมวิดีโอของคุณ?
  • พวกเขามีอายุเท่าไหร่?
  • พวกเขามีอาชีพอะไร หรือเป็นใคร?
  • พวกเขาจะดูวิดีโอช่วงเวลาไหนของวัน?
  • ทำไมพวกเขาถึงต้องชมวิดีโอของคุณ?
  • พวกจะได้อะไรจากกลับไปจากการชมวิดีโอของคุณ

คำถามเหล่านี้จะช่วยทำให้คุณสร้างสิ่งที่เรียกว่า Audience Persona หรือสิ่งที่เรียกว่า ตัวตนของผู้ฟัง เป็นบุคลิกคาแร็คเตอร์ของผู้ที่สนใจเข้ามาฟังคอนเทนต์ของเรา ซึ่งหากคุณเข้าใจตรงนี้ได้ดี คุณจะก็จะสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาที่ดีโดนใจคนกลุ่มนี้ได้ รวมไปถึงสร้างบทสนาทอื่นๆ ในชุมชนของคุณได้ด้วย มากไปกว่านั้นอาจจะเป็นกลุ่มที่เข้ามาช่วยให้คุณคิดไอเดียคอนเทนต์ก็ได้ด้วย

4. รู้จักคู่แข่งของคุณ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำช่องชาแนลใน Youtube ย่อมมีช่องอื่นๆ ที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน แม้ว่าเราจะพยายามสร้างความแตกต่างให้ไม่เหมือนใครแล้วก็ตาม แต่ท่ามกลางมหาสมุทรของคอนเทนต์ก็อาจจะมีบางช่องที่มีลักษณะเหมือนๆ กันกับเรา ดังนั้น คุณก็ต้องเรียนรู้ด้วย่าช่องอื่นๆ ทั้งที่คล้ายและไม่คล้ายเขาทำอะไรกันบ้าง ซึ่งรวมไปถึงเทคนิคในการถ่ายทอดเนื้อหาด้วย ทั้งนี้ หลักๆ วิธีในการนำเสนอมีรูปภาพรวมๆ ดังนี้

  • ใช้วิดีโอเอฟเฟคต์ เช่น ภาพวิชวลเอฟเฟค หรือซาวด์เอฟเฟคอะไร ซึ่งเราควรพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ใช้ซ้ำกัน
  • รูปแบบวิดีโอ เช่น รูปแบบถามตอบ, รูปแบบคุยกับผู้เชี่ยวชาญ หรือทำสตอรี่ไลน์
  • โลเคชั่นในการถ่ายทำ ทำในสตูดิโอ, เอาท์ดอร์ หรือว่าจัดเซ็ทฉาก

แต่ทั้งหมดนี้ ก็ต้องคุมโทนเรื่องของ มู้ดและโทนช่องของคุณให้ดี ให้อยู่ในแนวทางเดียวกันด้วย
ยกตัวอย่างช่อง Channel Awesome และช่องของ Jeremy Jahns ทั้งสองช่องเป็นนักรีวิวหนังชื่อดัง พร้อมแขกรับเชิญมากมาย ที่มียอดซับฯ บน Youtube เป็นล้าน ซึ่งรีวิวทั้งหนังเก่าหนังใหม่ หรือแม้แต่อนิเมชั่น รูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของเขานั้นเรียบง่ายมาก ฉากหลังวิดีโอมีตั้งแต่โฮมออฟฟิศไปจนถึงกรีนสกรีนต่างๆ ซึ่งตัวอย่างที่ยกมา เพื่อให้คุณเห็นว่ามีความหลากหลายในการรูปแบบ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างของตัวคุณเองด้วย

5. สร้างช่อง Youtube ของคุณ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมไม่บอกตรงนี้เป็นขั้นตอนแรกๆ ไปเลย ทำไมเพิ่งมาให้ทำ นั่นก็เพราะว่าการเปิดช่องในแพล็ตฟอร์ม หากเปิดไปก่อนโดยที่คุณยังไม่รู้เลยว่าจะทำช่องเกี่ยวกับอะไร มีจุดแตกต่างอย่างไร หรือยังไม่รู้เลยว่าใครคือกลุ่มผู้ฟังของคุณ การเปิดช่องโดยปราศจากการศึกษาก่อนก็เหมือนการทำงานโดยปราศจากการวางแผนที่ดี
แต่เมื่อคุณตอบคำถามและตั้งเป้าหมายจาก 4 ข้อด้านบนได้แล้ว ทีนี้เราก็มาเริ่มกันในการเปิดชาแนลได้แล้วล่ะ และช่องของคุณควรมีอะไรบ้าง ดังนี้

  • ชื่อช่อง ที่สะท้อนความเป็นคุณ
  • ควรมีโลโก้ด้วย
  • มีภาพ Banner
  • มีโทนสีที่เป็นเอกลักษณ์

ขั้นต่อไปก็คือการสร้าง Google แอคเคาท์ ซึ่งตั้งแต่ที่ Goolge (จริงๆ บริษัทแม่คือ Alphabet นะ) เทคโอเวอร์ Youtube ก็เลยทำให้ต้องมี Google แอคเคาท์ด้วย ตามภาพด้านล่าง
ถัดมาคือการสร้าง YouTube แอคเคาท์ ซึ่งรวมอยู่ในชุดเดียวกับ Google แอคเคาท์ นั่นแหละ แต่คุณยังต้องตั้งค่าช่องอยู่นะ ในการทําเช่นนั้น ให้ไปที่หน้าบัญชี YouTube ของคุณบน YouTube.com แล้วคลิกสร้างช่อง จากนั้นป้อนชื่อแบรนด์ของคุณและชื่อของคุณลงไป

เมื่อกรอกรายละเอียดต่างๆ แล้วก็มาถึงการตบแต่งชาแนลเพจของคุณให้สวยงาม เช่นการเลือก Templates ที่เหมาะกับบุคลิกช่องของคุณ สิ่งเหล่านี้ล้วนจะเป็นการดึงดูดความสนใจให้กับช่องของคุณได้ รวมไปถึงช่องทางในการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ด้วย เพื่อกรณีที่แบรนด์หรือเอเจนซี่สนใจร่วมงานจะได้มีช่องทางในการติดต่อถึงคุณได้

6. ทำปฏิทินคอนเทนต์

เมื่อมีช่องแล้ว ก็เริ่มวางแผนคอนเทนต์ที่จะทำ คำแนะนำสำคัญของเราก็คือคุณควรวางปฏิทินคอนเทนต์และโซเชียลมีเดียให้ชัดเจนออกมาด้วย เช่น สัปดาห์นี้จะทำเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร มีกำหนดโพสต์เมื่อไหร่บ้าง ซึ่งปัจจุบันก็มีเครื่องมือในการช่วยวางแผนมากมาย เช่น Google Calendar หรือแดชบอร์ดของ Hootsuite ก็มี โดยควรทำอย่างเดือนละครั้ง เพื่อการวางแผนที่ดี ซึ่งแม้จะดูว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่การทำเช่นนี้นอกจากจะไม่ทำให้คุณเสียเวลามานั่งคอยนึกตลอดเวลาว่าจะทำอะไรเรื่องอะไรดีแล้ว ก็ยังทำให้คุณเป็นมืออาชีพมากขึ้น ที่สำคัญการทำงานที่มีแบบแผนจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคุณด้วยหากมีเอเจนซี่หรือแบรนด์ติดต่อเข้ามา

7. กำหนดเวลาหรือตั้งเวลาในการโพสต์

จำได้ไหมว่าเราต้องรู้จักผู้ชมของคุณว่ามีพฤติกรรมในการดูคอนเทนต์ช่วงเวลาไหน ดังนั้น นำข้อมูลตรงส่วนนี้มาใช้ประโยชน์ในการวางตารางการโพสต์คอนเทนต์ เพื่อให้คอนเทนต์มีประสิทธิภาพและได้รับทราฟฟิกที่ดี

8. ติด CTA (Call to Action) บนคอนเทนต์ด้วย

แพล็ตฟอร์ม Youtube จะช่วยกระตุ้นและเพิ่มทราฟฟิกให้กับชาแนลของคุณ ถ้าเกิดกว่ามันมีผู้ชมเข้ามาที่ช่องของคุณจำนวนมาก พูดง่ายๆ ว่า ถ้าเนื้อหาของคุณมีคนดูบนช่องมากเท่าไหร่ ระบบของ Youtube ก็จะช่วยโปรโมทเนื้อหาให้คุณสู่ผู้ชมมากขึ้นไปด้วย วิธีการง่ายๆ ดังนี้

  • เพิ่ม CTA ลงในวิดีโอสคริปต์
  • ขึ้นออโต้แอคชั่น ให้คนดูใช้ฟีเจอร์อย่างเพลย์ลิสต์ได้เลย
  • เพิ่มการ์ดและซีนท้ายไปยังวิดีโอคอนเทนต์อื่นๆ
  • เพิ่มลิงก์ในการรับชม วิดีโออื่นๆ หรือให้กด Sub ช่องของคุณ
  • ตัวอย่าง End Scene

9. ตอบกลับคอมเมนต์

เช่นเดียวกับการใช้งานโซเชียลมีเดียแพล็ตฟอร์มอื่นๆ Youtube เองก็ต้องการสร้างเอ็นเกจเมนต์ไม่แพ้กัน การที่มีคนมาแสดงความคิดเห็นบนชาแนลหรือบนคอนเทต์ของคุณนับเป็นสัญญาณที่ดี ดังนั้น ควรหาเวลาในการตอบคอมเมนต์เหล่านั้นด้วย ถ้าตอบได้ครบทุกอันเลยยิ่งดี เพราะนั่นจะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับผู้ติดตามของคุณด้วย

10. โปรโมทช่องของคุณ

ลงมือทำเยอะแยะมากมาย จะไม่โปรโมทช่องตัวเองได้อย่างไร แน่นอนว่าการทำคอนเทนต์ที่ดีสำคัญ แต่สุดท้ายแล้วจะพึ่งแต่ออแกนิกอย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องโปรโมทเข้ามาช่วยด้วย ดังนี้

  • ลงโฆษณา – ถือเป็นการโปรโมทช่องที่ไวและง่ายที่สุด พูดง่ายๆ ว่าซื้อแอดส์บูสต์คอเทนต์สักหน่อย
  • เพิ่มช่องทาง – นอกเหนือจาก Youtube สามารถเพิ่มคอนเทนต์ลงบนช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้
  • สร้างเครือข่าย – ทำการครอสโอเวอร์ หรือฟีเจอร์ริ่งกับชาแนลอื่นๆ เพื่อให้คนรู้จักคุณมากขึ้น ผ่านช่องของคนอื่นได้ ขยายฐานแฟนให้มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเริ่มไปทำตรงนี้ อาจจะต้องรอเวลาให้คุณเพิ่มเป็นที่รู้จักกว่านี้อีกสักหน่อย

ทั้งหมดนี้เป็น 10 ขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณสามารถเริ่มได้เลยทันที ซึ่งอย่าลืมว่าความสำเร็จไม่มีทางลัด จะไปถึงเป้าหมายได้ คุณต้องคิดและวางแผนให้ดี แต่มากไปกว่านั้นก็คือต้อง “ลงมือทำ” ด้วยจึงจะบรรลุผล.

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก