12 e-commerce trends 2023

12 E-Commerce Trends 2023 ที่แบรนด์ควรจับตามากที่สุด

Digimusketeers, 13 March 2023

ปี 2023 ธุรกิจในตลาด E-Commerce จะกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากและยังคาดว่า E-Commerce Trends อาจจะมาแรงและน่าจับตาสุด ๆ อีกด้วย นักการตลาดและแบรนด์ไม่ควรพลาด วันนี้เรารวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำการตลาดมาฝาก ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้จะพูดถึง 12 E-Commerce Trends ปี 2023 ว่ามีอะไรบ้าง และจะส่งผลต่อทิศทางของวงการธุรกิจ E-Commerce อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องไหน ไปอ่านต่อกันเลย

 

E-Commerce Trends

E-Commerce Trends ตลาดเติบโตชะลอตัว แต่ยังคงแข่งขันสูง

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เกี่ยวกับ E-Commerce Trends มองว่า มูลค่าตลาด B2C E-Commerce ปี 2565-2566 จะเติบโตชะลอลง หลังจากที่เร่งตัวสูงด้วยอัตราเลขสองหลักในช่วงโควิด-19 ซึ่งในปี 2566 คาดว่าตลาดอาจจะขยายตัวราว 4-6% กินส่วนแบ่งต่อตลาดค้าปลีกรวม 16% ซึ่งต่ำสุดเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวเฉลี่ยถึง 26% ต่อปีเลยทีเดียว โดยผู้ใช้บริการ E-Commerce รายใหม่น่าจะเป็นช่วงอิ่มตัวหลังจากที่เข้ามาจำนวนมากช่วงโควิด บวกกับค่าครองชีพและราคาสินค้าปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจึงเป็นการกดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคให้มีการใช้จ่ายอย่างจำกัด

แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคนั้นได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายด้าน เช่น เงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงหรือภาวะสงคราม แต่มูลค่าตลาด E-Commerce ก็ยังคงเติบโตขึ้นแม้จะชอตัวลงก็ตาม ส่งผลให้มองว่าการเติบโตของตลาดนี้ หลัก ๆ น่าจะไม่ได้เกิดจากค่าใช้จ่ายภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการปรับพฤติกรรมการซื้อจากหน้าร้านมาอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ และเพราะการซื้อของออนไลน์นั้นราคาถูกและคุ้มค่ากว่า สะดวกไม่ต้องเสียเวลาเดินทางอีกด้วย

ข้อมูลจากโพลล์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (Nov 22), นั้นบอกว่าสินค้าที่ขายดีที่สุดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในปี 2019, 2021 และ 2023 คือสินค้าสุขภาพและความงาม รองลงมาคือสินค้าแฟชั่น เป็นสินค้าที่ยอดขายอยู่ในกลุ่มเติบโตแบบจำกัด และสินค้าของใช้ส่วนตัว อาหารสด อาหารแห้ง เป็นกลุ่มเติบโตสูง

 

12 E-Commerce Trends 2023

12 E-Commerce Trends ที่นักการตลาดต้องจับตา 

คุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเพย์ โซลูชั่น จำกัด ได้ให้ข้อมูลเรื่อง ‘เจาะลึกเทรนด์อีคอมเมิร์ซไทย 2023 ซูเปอร์แอปและออดีมานด์คอมเมิร์ซแข่งเดือด’ ในงาน Bok Teer-Beer Talk : Special Edition ซึ่งทางเราได้เอาข้อมูลที่คุณป้อมพูดถึงในส่วนของแนวโน้ม E-Commerce Trends ของไทยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านแพลตฟอร์มการให้บริการ เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสใหม่ ๆ ที่คนทำธุรกิจต้องเตรียมแผนกลยุทธ์ด้านดิจิทัลเอาไว้ ออกมาเป็น E-Commerce Trends 12 นี้

มูลค่าตลาดออนไลน์ขยับขึ้น ตอบรับการฟื้นตัวอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

หลังโควิดซา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวมากขึ้น มูลค่าการค้าออนไลน์ก็กลับมาขยับอีกครั้ง จากรายงานมูลค่า E-Commerce ในช่วงปี 2563 โดย ETDA ตัวเลขลดลงประมาณ 6.68% สาเหตุหลักมากจากตัวเลขของ E-Commerce ประเทศไทย มาจากการท่องเที่ยว การเดินทาง สายการบินและการผลิตต่าง ๆ เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิดจึงส่งผลกระทำให้ภาพรวม E-Commerce ของไทยมูลค่าลดลง ดังนั้นพอไทยเริ่มเปิดประเทศ ตัวเลขมูลค่าตลาด E-Commerce จึงกลับมาขยับขึ้นอีกครั้ง คาดว่าปี 2566 นี้ ข E-Commerce ของไทยจะกลับมาเป็นบวกเต็มที่มากขึ้น ประกอบกับโมเมนตัมของธุรกิจเข้าสู่ออนไลน์เต็มรูปแบบมากขึ้นช่วงหลังโควิด เลยทำให้ตัวเลข E-Commerce ไทยขยับขึ้น

สงคราม E-Marketplace กำลังจะจบลง

E-Commerce Trends คือต่อมาคือสงครามของ E-Marketing กำลังจะจบลง สังเกตจากค่ายใหญ่อย่าง Shopee หรือ Lazada เริ่มเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ของตัวเองแล้ว จากที่เน้นการเติบโตของธุรกิจ โดบการใช้ทุ่มเงินทุนของตัวเองให้เติบโต ตอนนี้เริ่มเดินหน้ามุ่งทำกำไรอย่างชัดเจน 

ตัวอย่างเช่น ปกติจะมีการโปรโมตแคมเปญ 11.11, 12.12 แบบยิ่งใหญ่มาก แต่ช่วงสิ้นปีที่แล้วแคมเปญนี้จางมาก และลดงบบริษัทในการทำโฆษณาลงอีกด้วย หันมาโฟกัสการสร้างรายได้มากขึ้นอย่างการเก็บเงินจากร้านค้าและลูกค้า รวมถึงปรับค่าบริการสูงขึ้น หรือ Shopee ที่เน้นทำกำไรเช่นกัน มีการลดพนักงาน ปิดบริการสาขาบางประเทศที่ทำกำไรไม่ดี และยังคงกำเนินนโยบายเชิงรุกต่อเนื่อง โดยที่ผู้บริหารจะไมมีการรับเงินเดือนจนกว่าสถานกาณ์ทางการเงินจะดีขึ้น รวมไปถึงงบการตลาดก็ปรับลดลงเหมือน Lazada เช่นกัน

ร้านค้าจีนบุกไทยแบบเต็มสูบ

อีก E-Commerce Trends ที่น่าจับตามาก ๆ คือจีนกำลังเข้ามาบุกตลาดออนไลน์ไทยแบบเต็มสูบแล้ว เพราะมีผู้ให้บริการนำสินค้าจากจีนเข้ามาจำนวนมาก เพราะ Infrastructure ของจีนเชื่อมต่อไทยอย่างต่อเนื่องทุกทางจึงเอื้อต่อการส่งสินค้าเข้ามาในไทยได้รวดเร็ว แถมบางรายก็มีบริการ Warehouse ด้วย และยังเริ่มใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางการขายสินค้าจาก Warehouse ในไทยส่งตรงถึงผู้บริโภค 

ซึ่งรูปแบบจีนที่บุกตลาดไทยนั้นมีทั้งที่ถูกกฎหมาย เสียภาษีและมีแบบผิดกฎหมายที่รวมถึงช่องทางออนไลน์ที่ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ ส่วนนี้ส่งผลให้มีต้นทุนถูกลง ราคาสินค้าจึงไม่แพง

On-Demand Commerce สงครามการค้าออนไลน์กำลังจะมา

เป็นการแข่งขันในแบบ Platfrom จัดส่งอาหารที่ต้องเริ่มเปลี่ยนตัวเองให้เป็นมากกว่า Food Delivery เป็น Beyond Food ซึ่งปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการหลายรายที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น จากธุรกิจส่งอาหารหรือเรียกรถก็เริ่มเพิ่มบิรการอื่นเข้ามาด้วย เช่น Grab Mart, Grab Home หรืออื่น ๆ ที่ช่วยขยายฐานบริการ E-Commerce ซึ่งเราจะเห็นบริการที่เพิ่มขึ้นในปีนี้แน่นอน

DFS (Digital Financial Service) กำลังบุก

DFS คือบริการการเงินทางออนไลน์ เช่น Virtual Bank ที่เห็นข่าวกันช่วงนี้ก็ใช่นะ ปัจจุบันผู้ให้บริการจะไม่ใช่แค่ธนาคารอีกต่อไป แต่จะมีอย่างการให้บริการรับชำระเงิน บริการเงินกู้ออนไลน์ ประกันออนไลน์ ดูแลสินทรัพย์ออนไลน์ไปจนถึงบริการโอนเงินออนไลน์และโอนเงินข้ามพรมแดน แนวโน้มการใช้บริการเหล่านี้เริ่มเติบโตมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ E-Commerce ประเทศไทยเติบโตขึ้นไปด้วย

การแข่งขันของ Short Video Commerce

E-Commerce Trends ที่เรียกได้ว่าเป็นสงครามในตอนนี้ก็คือ Short Video Commerce กำลังดุเดือดสุด ๆ ทั้ง TikTok, YouTube, Instagram และ Facebook หรือแม้แต่ Line ก็ร่วมลงสนามนี้ด้วยเช่นกัน แพลตฟอร์มต่าง ๆ จะไม่ได้เน้นให้บริการเฉพาะ Short Video เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ต้องมีบริการอื่นของ E-Commerce ร่วมด้วย เช่น เปิดร้านค้า

โฆษณาออนไลน์มีทางเลือกมากขึ้น

แต่เดิมแล้วการทำโฆษณาออนไลน์ที่อยู่ในตัวเลือกอันดับต้น ๆ จะเป็น Facebook Ad แต่ตอนนี้ผู้โฆษณานั้นหันไปทางเลือกอื่นมากขึ้น เพราะการโฆษณาผ่าน Facebook นั้นได้ผลลัพธ์น้อยลง ในขณะที่คู่แข่งอย่าง TikTok ได้พัฒนารูปแบบการโฆษณาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นก็คือแบรนด์และผู้โฆษณาเริ่มเปลี่ยนช่องทางโฆษณาไป TikTok มากขึ้น รวมถึงสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองเพื่อเป็นช่องทางเสริมให้ลูกค้าขายของได้มากกว่าเดิม

Affiliate Marketing การตลาดผ่านการบอกต่อ

การตลาดผ่านการบอกต่อกำลังเป็นเทรนด์ที่มีการเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะคนที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์เริ่มมีฐานลูกค้าของตัวเองมากขึ้นผ่านโซเชียลมีเดียที่ช่วยสามารถรีวิวสินค้าไปยังกลุ่มเพื่อนและคนที่ติดตามได้ แถมยังได้ส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากสินค้าที่นำมารีวิวให้แบรนด์ด้วย ซึ่งช่องทางยอดนิยมในการทำการตลาดนี้คือ TikTok ที่เริ่มผลักดัน Affiliate Marketing นอกจากแพลตฟอร์มนี้ ก็ยังมี Lazada และ Shopee ที่เริ่มหันมามีการตลาดบอกต่อด้วย

การมาของ MarErce

MarErce หรือ มาร์เอิร์ซ คือการผสมผสานระหว่างอีคอมเมิร์ซและมา์เทค จากเมื่อก่อนคนทำการตลาดก็จะเน้นไปทางการตลาด ส่วนคนที่ขายของออนไลน์ก็จะเน้นเรื่องการขาย แต่ในอนาคตมันจะเปลี่ยนไปนั่นคือการมาของ MarErce นั่นเอง จะเริ่มมีแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่แค่ทำการตลาดเท่านั้น แต่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เกิดทั้งออเดอร์ การซื้อขาย หลังจากเกิดการขาย ฝั่งมาร์เทคจะนำเทคโนโลยีน้อนกลับไปทำ CRM เพื่อให้ลูกค้าที่เคยซื้อกลับมาซื้อซ้ำอีกในครั้งต่อไปนั่นเอง มันจะเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจที่การตลาดกับการค้าขายจะรวมเข้าด้วยกัน

สงคราม E-Commerce ระหว่างค่ายใหญ่

ค่ายใหญ่ที่ว่านี้ก็คือ Facebook, Line และ TikTok สงครามกำลังเดือดขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นได้ว่าทุกค่ายเริ่มปรับแพลตฟอร์มให้รองรับและส่งเสริม E-Commerce มากขึ้น เพื่อกันไม่ให้ลูกค้ากระโดดไปใช้บริการของคู่แข่ง เช่น

 – Facebook : Facebook Shop, Facebook Live, Facebook Marketplace

 – Line : Line OA, Line Shop, Line Pay

 – TikTok : Video, TikTok Ads, TikTok Shop

ซึ่งการเกิดขึ้นเหล่านี้จะเป็นคลื่นสำคัญที่จะทำให้เกิด E-Commerce บนแพลตฟอร์มใหญ่มาเพิ่มมากขึ้น

การขาดดุลดิจิทัลของประเทศไทย

มีการคาดการณ์ว่า กรมสรรพากรอาจเก็บภาษีมูลค้าเพิ่มจากแพลตฟอร์มต่างชาติได้เกือบหมื่นล้านเมื่อครบปี ทำให้มูลค่าการซื้อขายบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของคนไทยอาจสูงเกือบราว 2 แสนล้านบาท ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการส่งออกข้าวในปี 64 และสูงกว่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปปี 64 ด้วยซ้ำ ภาครัฐต้องเข้ามาตรวจสอบว่าประเทศไทยมีการขาดดุลทางการค้าดิจิทัลอย่างไร และมากขนาดไหน เพื่อไปประกอบการวิเคราะห์เรื่องการขาดดุลในระบบเศรษฐกิจของประเทศ

D2C (Direct to Consumer) จะฆ่าตัวกลางทางการค้า

E-Commerce Trends D2C การขายตรงไปยังผู้บริโภคจะเป็นการตัดตัวกลางออกไปจากวงจร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับโรงงานผู้ผลิตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อโรงงานเริ่มขายสินค้าออนไลน์ให้ผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้มากขึ้นจะส่งผลกระทบไปถึงธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่น เพราะคนรุ่นใหม่ซื้อสินค้าออนไลน์เกือบจะเป็นปกติแล้ว และซื้อจากร้านค้าท้องถิ่นน้อยลง ตัวกลางทางการค้าอาจเสียโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก