Call To Action

มัดรวมทริคออกแบบ Call To Action ให้คนอยากคลิกมากที่สุด

Digimusketeers, 7 September 2022

คนที่อยู่ในวงการโฆษณา (Marketing) ต้องรู้จัก ‘Call to Action’ อย่างแน่นอน คงต้องเคยเห็นหรือรู้จักกันมาบ้าง แต่ใครที่พึ่งเป็นมือใหม่เข้ามาสายนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า Call to Action คืออะไร เกี่ยวข้องและมีประโยชน์เกี่ยวกับการตลาดอย่างไร ทำไมถึงต้องมี Call to Action แล้วมันช่วยเพิ่มยอดขาย ได้จริงหรือไม่ ไปดูคำตอบกันเลย เราได้อธิบายและรวบรวมเคล็ดลับการทำ ไว้ที่นี่หมดแล้ว

 

Call to Action คืออะไร

Call to Action คืออะไร ?

Call to Action (CTA) คือคำหรือประโยคที่แบรนด์ใช้กระตุ้นให้ผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์และผู้ที่เข้ามาเห็นเกิดความสนใจ จนเกิดการ Take Action หรือมี Engagement พูดสั้น ๆ ว่าเป็นการส่งสารอีกรูปแบบหนึ่งของแบรนด์กระตุ้นให้ผู้ให้เห็นตอบสนองกลับมา ซึ่ง Call to Action ถือว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญทางการตลาดเลยล่ะ และยังมีรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปปุ่ม แบนเนอร์ หรือกราฟิก โดยจะแบ่งแยกย่อยไปตามความเหมาะสมกับแพลตฟอร์มที่แบรนด์เลือกใช้ ทั้งบนโซเชียลมีเดีย บนเว็บไซต์ YouTube อีเมล รวมไปถึงสื่อออฟไลน์อย่างโบรชัวร์ก็ใช้ Call to Action ได้นะ แต่วันนี้เราจะขอเจาะจงไปที่การใช้ Call to Action ที่ใช้ในฝั่งออนไลน์มาฝากทุกคนนะ

 

ส่วนประกอบ Call to Action

Call to Action ต้องมีส่วนประกอบเหล่านี้

การทำ Call to Action นั้นถือว่ามีประโยชน์มากในการทำการตลาด เนื่องจากมันช่วยกระตุ้นความสนใจของลูกค้าได้ จึงอาจมีผลทำให้พวกเขาตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถ้าจะทำ Call to Action ให้เวิร์กก็ต้องคำนึงถึงส่วนประกอบเหล่านี้ด้วยนะ

คำ, ประโยคที่ใช้

คำหรือรูปประโยคที่จะใช้เป็น Call to Action จะต้องสั้น กระชับ ฮุค หรือก็คือต้องอ่านได้ง่ายและเร็ว แค่อ่านผ่านๆ ก็อ่านได้ ไม่ต้องใช้คำที่ยาวเวิ่นเว้อ แต่ก็ต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วน เพื่อจูงใจ กระตุ้นความรู้สึกให้ผู้รับสารได้จริง เพราะคนยุคนี้ไม่ชอบอ่านอะไรยาว ทำให้พวกเขารู้สึกเสียเวลาถ้าพวกเขาไม่ได้สนใจมันจริง ๆ 

การดีไซน์

ในเรื่องการของดีไซน์ ฟ้อนท์ที่ใช้ ขนาดและสีในการเลือกมาใช้กับ Call to Action ก็สำคัญนะ ต้องโดดเด่น สะดุดตา ต้องมีขนาดนี้ที่มองเห็นได้ได้ง่าย ๆ ออกแบบมาแล้วสีไม่จมไปด้วยกันหมด สีตัวอักษรและสีพื้นหลังต้องตัดกัน การออกแบบรูปร่างก็อาจจะมีการทำเงา หรือเสริมให้ดูมีมิติ เพื่อทำให้คนที่เห็นรู้สึกอยากคลิก หรือสามารถคลิกเพื่อไปต่อได้นั่นเอง

ตำแหน่งการวาง

ตำแหน่งที่เลือกวาง Call to Action ก็มีส่วนนะ ต้องโดดเด่น ไม่มีอะไรมาบัง มี white space หรือพื้นที่ด้านข้างเหลือให้พอเหมาะ ต้องวางบนตำแหน่งที่เห็นง่ายและชัดเจนไม่ว่าจะดูบนอุปกรณ์ไหนก็ตาม ที่สำคัญต้องไม่ลืมใส่ใจในเรื่อง User Experience ด้วย ถ้าวาง Call to Action ในตำแหน่ง Footer ก็อาจจะเห็นได้ยาก หรือวางไว้ตำแหน่งบนสุดของภาพหรือเว็บไซต์ก็เสี่ยงที่ลูกค้าจะเลื่อนผ่านไปก่อน โดยที่ยังไม่เห็นภาพว่ามี Call to Action อยู่ตรงนั้นด้วยซ้ำไป

การมี Call to Action สำรอง

การมี Call to Action ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะลูกค้าบางคนอาจมีความต้องการต่างกัน หรือมีความต้องการมากกว่า 1 อย่าง เช่น ลูกค้ากำลังต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนซื้อ หรือลูกค้าอาจต้องการดูภาพตัวอย่างก่อนดาวน์โหลด การใส่ Call to Action หลักที่มาพร้อมกับ Call to Action สำรองที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจจะช่วยได้

 

8 ทริคสร้าง Call To Action

8 ทริคสร้าง Call To Action ให้คนอยากคลิกที่สุด

ล่อใจด้วย Call To Action แบบ Promotion

เป็นทริคนี้เอามาปรับใช้ง่ายมากในการเอามาใช้ Call to Action และยังเหมาะกับการเอามายิงโฆษณาอีกด้วย เพราะเราใช้โปรโมชันมาล่อใจให้ผู้ที่เช้ามาชมเว็บไซต์ หรือคนที่เห็นคอนเทนต์ได้เห็นโปรโมชันในรูปแบบทีี่เด่นยิ่งขึ้นไปอีก เช่น “คลิกตอนนี้รับส่วนลดทันที 20%” หรือ “คลิกดาวน์โหลดพร้อมรับสิทธิพิเศษ”

ใช้กลยุทธ์ Personalized มาทำ CTA

สำหรับการทำโฆษณา คุณสามารถเลือกเจาะกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจ หรืออยู่ในพื้นที่แตกต่างกันได้ ดังนั้น Call to Action ที่อยู่ในภาพนั้นต่างกันนั้นอาจตอบโจทย์มากกว่าการใช้ CTA เดียวกันทั้งหมด เช่น Call to Action ที่ใช้สำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ กับ Call to Action ที่ใช้สำหรับกลุ่มลูกค้า เป็นต้น เพื่อให้ CTA นั้นกระตุ้นให้ผู้เห็นนั้นตอบสนองกลับมาจริง

กระตุ้นให้อยากคลิกด้วย FOMO

FOMO หรือ Fear of Missing Out คือความรู้สึกกลัวของคนที่จะพลาดอะไรบางอย่างไป โดยในเชิงจิตวิทยานี้เราสามารถใช้เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาทำตามที่ต้องการได้ หากไม่ทำจะรู้สึกพลาดสิ่งที่มีประโยชน์กับตัวเองไป ถือเป็นการเพิ่มแนวโน้มให้พวกเขารู้สึกอยากจะคลิก Call to Action ที่เราทำไว้นั่นเอง เช่น การกำหนดระยะเวลา, การแสดงจำนวนสินค้าที่เหลืออยู่, การใส่ความพิเศษ, การได้รางวัลแบบจำกัดคน หรืออื่น ๆ 

ใช้เทคนิคคลายข้อสงสัย

บางคนเหตุผลที่ลูกค้าเห็น Call to Action แล้วไม่คลิกก็อาจจะมาจากความสงสัย หรือความกังวลใจบางอย่างกับแบรนด์อยู่ก็เป็นได้ คุณสามารถใช้คำเชิงคลายความสังสัย คลายความกังวลได้ หรือบอกข้อมูลเล็กน้อยที่ช่วยให้พวกเขาคลายสงสัยไปได้ เพื่อนำพาให้ลูกค้าคลิก ต่อได้ทันที เช่น ให้ข้อมูลสั้น ๆ ว่า ‘ทดลองฟรีไม่เสียเงิน 1 เดือน’ แล้วต่อด้วย CTA ว่า ‘สมัครเลยตอนนี้’ 

ใช้ความน่าเชื่อถือ

อีกเทคนิคที่จะช่วยให้คนที่เห็น Call to Action แล้วอยากคลิกไปต่อก็คือ การรีวิว ความคิดเห็นเชิงบวกจากลูกค้าเก่าที่เคยใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์ หรือบอกว่าแบรนด์มีลูกค้ามากแค่ไหนแล้ว มีประสบการณ์มากี่ปี เพื่อมาเป็นตัวกันรันตีให้เกิดความน่าเชื่อถือในแบรนด์มากขึ้น

บอกประโยชน์แบบตรงตัว

อีกเทคนิคยอดนิยมและไม่อ้อมค้อมสำหรับการทำ Call to Action ก็คือการบอกประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับแบบตรง ๆ ว่าคลิกสมัคร หรือดาวน์โหลดแล้ว พวกเขาจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งในข้อนี้แบรนด์ต้องรู้อินไซต์ของลูกค้าก่อนว่าพวกเขาคาดหวังอะไรบ้าง พวกเขาสนใจส่วนไหน จะได้ใช้คำที่กระตุ้นความอยากคลิกได้แบบถูกจุด

กระตุ้นต่อมความอยากรู้ด้วยคำถาม

การกระตุ้นต่อมความอยากรู้ด้วยคำถาม เทคนิคนี้นิยมในการทำ Call to Action มากเช่นกัน ดึงดูดด้วยคำถามหรือปัญหาที่พวกเขาอยากรู้ นิยมใช้เพื่อให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดบางอย่างเพื่อแลกกับคำตอบที่เขาต้องการ 

กระตุ้นความสนใจด้วยคำท้าท้าย

อีกหนึ่งไอเดียในการทำ Call to Action ให้เวิร์กก็คือการใช้คำเชิงท้าทาย ให้ลูกค้าเกิดความสนใจและอยากจะเอาชนะบ้าง เป็นอีกทริคแนวจิตวิทยา เหมือนเวลาที่เรารู้สึกอยากทำบางสิ่งบางอย่างมากกว่าเดิมก็ต่อเมื่อถูกท้าท้าย และมันจะทำให้เกิดความสนใจมากขึ้น เมื่อคุณยังหาคำตอบหรือทำสิ่งนั้นยังไม่สำเร็จ

 

รู้จัก Call to Action กันมากขึ้นหรือยัง ? ถ้าเข้าใจแล้ว ลองเอาเทคนิคที่เราแนะนำในการทำ Call to Action ไปใช้กับแบรนด์ของคุณดูนะ

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก