cute marketing

Cute Marketing กลยุทธ์การตลาดแห่งความน่ารักจะพิชิตใจเธอเอง

Digimusketeers, 7 March 2023

จากการสำรวจของนักการตลาดทำให้เห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มักตกเป็นทาสของ ‘ความน่ารัก’ เห็นอะไรน่ารักมันอยู่ไม่ได้ อยากได้มาครอบครอง ยิ่งเป็นสินค้าที่ชื่นอยู่แล้ว ยิ่งอยากซื้อไปกันใหญ่ ซึ่งสินค้าหรือบริการที่ดึงเอาความน่ารัก นุ้บนิ้บ ตะมุตะมิ มาใช้ประโยชน์คือแบรนด์ที่ใช้กลุยทธ์ที่เรียกว่า ‘Cute Marketing’ นักการตลาดหลายคนคงเคยได้ยินหรือรู้จักกลยุทธ์มาบ้างอย่างแน่นอน เพราะก็มีหลายแบรนด์ที่ใช้กัน ส่วนใครที่ยังไม่รู้จัก ไปทำความรู้จักพร้อมกันกับเรา เพราะบทความนี้เราจะมาแชร์กลยุทธ์นี้ให้ฟังกันว่าคืออะไร ใช้อย่างไร มีข้อดีตรงไหนบ้าง รวมไปถึงตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์การตลาด Cute Marketing ด้วย ไปอ่านกันเลย 

 

Cute Marketing

Cute Marketing กลยุทธ์ที่มีแต่ความน่ารัก

Cute Marketing การตลาดแห่งความน่ารัก จริง ๆ แล้วจะไปตรงกับคำนิยามในงานวิจัยหนึ่งที่ชื่อว่า ‘HULIQ’ บอกว่า เป็นการวางกลยุทธ์การตลาดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย Soft Power อย่างหนึ่งที่ดึงดูดใจคนได้ดีมาก ๆ และยังกระตุ้นภาพจำทางการตลาดของสินค้าหรือบริการได้ด้วย 

จึงไปสอดคล้องกับผลการศึกษาหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เวลาที่คนเราเห็นอะไรที่มันน่ารัก สมองจะประมวลผลสิ่งที่อยู่ตรงหน้าว่านี่คือ ความน่ารัก แล้วจะหลั่งสารแห่งความสุขอย่าง โดฟามีนและออกซิโทซินที่ทำให้อารมณ์ดีที่ส่งผลให้คุณเกิดความรู้สึกอยากได้มากขึ้น นักการตลาดเลยใช้สิ่งนี้มาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดให้แบรนด์เพื่อเพิ่มยอดขายกันมากมาย

แล้วยังเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์ส่วนใหญ่คือ Gen Z และกลุ่มมิลเลนเนียลที่มักพ่ายแพ้ให้ความน่ารัก แต่มันก็มักจะมีความสงสัยหนึ่งตามมาคือ ทำไมเรามักเห็นการใช้ Cute Marketing ในแถบเอเชียมากกว่าในโซนยุโรป นั่นก็เพราะ อุปนิสัยของคนเอเชียนั้นมีส่วนทำให้วิธีคิดมีความละเอียดอ่อนมากกว่า

 

Cute Marketing

สร้างมาสคอตหรือคาแรคเตอร์ให้แบรนด์แบบ Cute Maketing

Hand Drawn illustrations

การใช้ลายเส้นแบบคนวาดหรือที่เรียกว่า Hand Drawn illustrations เป็นคาแรคเตอร์ให้กับแบรนด์ก็ถือเป็นหนึ่งทริคที่ช่วยให้เข้ากับคอนเซปต์ Cute Marketing มากขึ้น เนื่องจากลายเส้นแบบคนวาดมันมีความน่ารักอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว แถมยังดียูนีคไม่เหมือนใครอีกด้วย เพราะเป็นลายเส้นของใครของมัน

สัดส่วนเน้นความโต

ลองเน้นสัดส่วนที่ใช้แค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของคาแรคเตอร์หรือมาสคอนแบรนด์ให้มีความโตเข้าไว้ เพิ่มความน่ารักมากขึ้นแน่นอน ได้ทั้งหัวโตหรือตาโตก็ได้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ Cute Marketing แน่นอน

ตัวกลมโตน่ารัก

รูปทรงก็มีส่วนและมีผลต่อความรู้สึกของผู้เห็นได้ โดยเฉพาะรูปทรงแบบกลมโตจะช่วยให้ภาพลักษณ์คาแรคเตอร์ของแบรนด์น่ารักขึ้น น่าเอ็นดู น่าหยิก น่าฟัด

ปากต้องยิ้ม

การออกแบบมาสคอตหรือคาแรคเตอร์ประจำแบรนด์ให้มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจมใสจะใช้สร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ที่ดูเป็นมิตร เป็นกันเองเข้าถึงได้และดูสอดคล้องกับกลยุทธ์ Cute Marketing อีกด้วย

โทนสีพาสเทลหรือเอิร์ธโทน

เรื่องของโทนสีสำคัญมากอย่างหนึ่งเลยนะ และส่งผลถึงภาพลักษณ์และตัวตนของแบรนด์อีกด้วย ดังนั้นโทนสีที่จะใช้ในตัวคาแรคเตอร์แบรนด์อาจจะต้องใช้สีที่สอดคล้องกับตัวตน ภาพลักษณ์ที่แบรนด์ต้องการเป็นด้วย แต่ถ้าอยากเน้นให้คาแรคเตอร์เข้ากับ Cute Marketing ควรจะใช้โทนสีพาสเทลหรือเอิร์ธโทน ให้ดูน่ารัก สดใส

สัตว์ช่วยเพิ่มความน่ารักคูณสอง

จากงานวิจัยหลายชิ้นมักบอกว่า สัตว์ เช่น สุนัข แมว เป็นสัตว์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะสุนัขพันธ์ลาบราดอร์ หากแบรนด์ใช้กลยุทธ์ Cute Marketing ลองเอาน้องหมา น้องแมว หรือน้องอื่น ๆ ที่ดูน่ารักมาเป็นตัวคาแรคเตอร์ประจำแบรนด์ดูนะ

ข้อดีของการทำ Cute Maketing

สร้างภาพลักษณ์เป็นมิตร เข้าถึงง่าย

การที่แบรนด์เลือกใช้กลยุทธ์ Cute Marketing นี้จะทำให้ผู้บริโภคนั้นจดจำได้ผ่านความน่ารัก และยังช่วยส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูเป็นมิตร เข้าถึงง่าย เป็นกันเอง

เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลายกลุ่ม

เพราะ ‘ความน่ารัก’ เป็นความชอบที่ไม่ได้อยู่แค่คนกลุ่มน้อย หรือเป็นความชอบเฉพาะกลุ่ม ใคร ๆ ก็ชอบอะไรที่มันน่ารัก การใช้ Cute Marketing จึงช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายขึ้น ทุกเพศและทุกช่วงวัย นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงได้หลายช่องทางด้วย ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และยังสามารถไปต่อในระดับ Global ได้อย่างแน่นอน

ต่อยอดสินค้าใหม่ได้ตลอด

หากแบรนด์ไหนมีการสร้างคาแรคเตอร์ขึ้นมา สามารถใช้คาแรคเตอร์นั้นไปต่อยอดเป็นสินค้าไลน์ใหม่ หรือสินค้าคอลแลคชันพิเศษที่จะช่วยเพิ่มยอดขายได้มหาศาล โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลก็ยิ่งจะช่วยให้ขายดิบขายดีเป็นพิเศษ

 

Cute Marketing

ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์ Cute Maketing 

ญี่ปุ่น เจ้าแห่งความน่ารัก

ใครที่เป็นชอบญี่ปุ่นน่าจะรู้ดีว่านี่คือประเทศที่เป็นเจ้าแห่งความน่ารัก ทั้งการ์ตูน มาสคอต แบรนด์ โฆษณาที่มักจะใช้ความน่ารักมาพิชิตใจผู้บริโภค ใครไปเที่ยวญี่ปุ่นบ่อยก็น่าจะเคยเห็นงานอีเวนต์ ร้านอาหาร สินค้าหรือบริการที่มักจะมีมาสคอตเป็นตัวน่ารักนุ้บนิ้บ เรียกว่าเป็นประเทศที่แบรนด์ใช้กลยุทธ์ Cute Marketing เยอะมาก ๆ เช่น Hello Kitty และพองเพื่อนที่อยู่ในเครือ Sanrio 

ซึ่งมีสินค้าเป็นข้าวของเครื่องใช้มากมายที่เน้นให้ความน่ารัก น่าซื้อ ใครเห็นเป็นต้องโดนตก หรือจะเป็นเจ้าหมีคุมะมง ตัวมาสคอตสีดำแก้มแดง เป็นผู้อำนวยการด้านความสุขแห้งจังหวัดคุมาโมโตที่โด่งดังไปทั่วโลกจากคลิปที่เป็นไวรัลในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีแมวที่เป็นอีกสัญลักษณ์ความน่ารักของประเทศญี่ปุ่น มีแต่คำว่าน่ารักเต็มไปหมด

Gucci

แบรนด์หรูระดับ Hi-End อย่าง Gucci ก็ยังเคยใช้กลยุทธ์ Cute Marketing โดยได้ออกสินค้าคอลเลคชันที่ทำร่วมกับโดราเอมอน กลายเป็นกระแส Talk of the Town ไปช่วงหนึ่งเลยในวงการแฟชัน และยังดังไปถึงแฟนโดรามอนทั่วโลกด้วยเพื่อบุกตลาดเอเชีย ดึงความทรงจำวัยเด็กของผู้มีกำลังซื้อยุคใหม่อย่าง Gen X และ Gen Y เรียกยอดขายได้เพียบ 

Mini Cooper

แบรนด์รถยนต์ค่ายหรูอย่าง Mini Cooper ที่มีการออกแบบรถยนต์เน้นความทะทัดรัด รถไซซ์จิ๋วที่คนชอบความน่ารักมักจะโดนตก ต่างจากรถค่ายอื่นที่ไม่ได้เน้นเรื่องความน่ารัก 

Scott

แบรนด์ทิชชู Scott ที่ใช้รูปน้องหมาพันธ์ลาบราดอร์เป็นคาแรคเตอร์หลักของสินค้า ดูน่ารักน่าเอ็นดู ซึ่งมันเป็นสัญลักษณ์แห่งความสดใส อ่อนนุ่ม แบรนด์จึงเลือกใช้น้องนั่นเอง

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก