Ocean Strategy

รู้จักกลยุทธ์น่านน้ำหลากสี Ocean Strategy (Red-Blue-Green-White)

Digimusketeers, 21 September 2022

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบ Ocean Strategy

หลายคนคงเคยได้ยินการวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบ Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์น่านน้ำ สามารถแบ่งได้หลายสี อาทิ Red Ocean, Blue Ocean, Green Ocean และ White Oceanทั้งนี้ ผู้บัญญัติศัพท์คำว่า Red Ocean และ Blue Ocean คือ Chan Kim & Renée Mauborgne เพื่อกำหนดขอบเขตการกลยุทธ์การตลาดแต่ละประเภท

วันนี้ดิจิมัสเก็ตเทียร์จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักทั้ง 4 น่านน้ำเหล่านี้ ว่าแตกต่างกันอย่างไร

กลยุทธ์ Red Ocean คือ

กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง หรือ Red Ocean คือการทำธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูง มีคู่แข่งจำนวนมาก และแข่งขันดุเดือด ทำให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันกันด้วยราคาเป็นหลัก พยายามลดต้นทุน เน้นขายสินค้าราคาถูก และจำนวนมาก หากมองภาพรวมเป็นเค้ก 1 ก้อน ที่ต้องแบ่ง 10 ส่วน โดยที่ลูกค้ามีจำนวนเท่าเดิม ใครๆ ก็อยากได้เค้กก้อนใหญ่ที่สุด นั่นแหละ Red Ocean 

จุดเด่นของ Red Ocean

  • แข่งขันท่ามกลางคู่แข่งมหาศาล
  • ใช้ประโยชน์จากความต้องการที่มีอยู่แล้ว
  • ให้ความสำคัญกับต้นทุนและกำไร
  • เน้นแข่งขันด้วยราคา
  • ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย โปรโมชัน ลด-แลก-แจก-แถม

เช่น สินค้าประเภท FMCG ที่มักต่อสู้กับด้วยราคาและโปรโมชัน หรือธุรกิจสายการบิน Low Cost ที่ใช้ราคาเป็นตัวดึงดูดลูกค้า ซึ่งลูกค้าในกลุ่มนี้มักจะซื้อสินค้าที่ราคาถูกที่สุด หากแบรนด์ไหนราคาถูกกว่า หรือมีโปรโมชันน่าสนใจ ก็จะซื้อทันที 

กลยุทธ์ Blue Ocean คือ

หาก Red Ocean คือกลยุทธ์ที่แข่งขันอย่างอย่างดุเดือด Blue Ocean หรือกลยุทธ์น่านน้ำสีฟ้า เป็นการทำธุรกิจที่แสวงหาความแตกต่าง ด้วยครีเอทสินค้าใหม่ขึ้นมา หรือพัฒนาสินค้าเดิมที่มีอยู่ให้มีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งจะมีคู่แข่งไม่มากเมื่อเทียบกับกลยุทธ์ในน่านน้ำอื่นๆ การจะเติบโตในกลยุทธ์ Blue Ocean ผู้ประกอบการต้องวางแผนอย่างดี รู้จักคู่แข่งและผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง เพื่อพัฒนาสินค้าที่ตรงความต้องการ และเหนือคู่แข่ง

จุดเด่นของ Blue Ocean

  • บุกตลาดใหม่ที่คู่แข่งน้อย
  • ไม่ต้องโฟกัสคู่แข่ง แต่ต้องพัฒนาหรือต่อยอดสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
  • สร้างความต้องการใหม่
  • มุ่งเพิ่มมูลค่าสินค้า
  • พยายามลดต้นทุน

เช่น Nintendo บริษัทผู้ผลิตเกมคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ของโลกที่เปิดตัว Nintendo Wll ในปี 2549 ซึ่งใช้นวัตกรรมเข้ามาพัฒนาเครื่องเล่มเกมให้ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ด้วยการใช้กลยุทธ์บลูโอเชี่ยนเข้ามาลดต้นทุน และสร้างแตกต่างไปพร้อมๆ กัน

เมื่อบริษัทต้องการลดต้นทุน สิ่งแรกที่ทำคือ การตัดบางสิ่งบางอย่างออก ทาง Nintendo จึงได้ยกเลิกฟังก์ชันการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และดีวีดี ลดคุณภาพการประมวลผลและกราฟิก และในเวลาเดียวกัน Nintendo ได้เปิดตัวจอยเล่นเกมแบบไร้สายเพื่อสร้างความแตกต่างกับสินค้าที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น และสร้างความต้องการใหม่ขึ้นมา ลองนึกๆ ดูซิว่า ปกติเราก็เล่มเกมกับจอยที่มีสาย แต่เมื่อ Nintendo ออกสินค้าใหม่ จอยไร้สาย ก็ทำให้อยากได้ขึ้นมาทันที ทั้งๆ ที่ของเดิมก็ยังใช้งานได้ดีอยู่

กลยุทธ์ Green Ocean คือ

ทั้ง 2 กลยุทธ์ข้างต้นจะเน้นที่การขาย ส่วน Green Ocean หรือกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว จะเน้นที่ความยั่งยืน และสร้างภาพลักษณ์องค์กร 

และเมื่อมองจากเทรนด์ความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ที่มักเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือดีต่อโลกใบนี้ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า, แก้วกาแฟย่อยสลายได้ – หลอดกระดาษ, เสื้อผ้าที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล หรือเครื่องสำอางที่ไม่ทดลองกับสัตว์ เป็นต้น

Green Ocean อาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่แข่งขันกันรุนแรงในด้านราคาหรือโปรโมชั่น แต่เป็นการแข่งขันในแง่ภาพลักษณ์องค์กร ด้วยการสร้างความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จริงๆ แล้ว Green Ocean ถือเป็นการทำ CSR รูปแบบหนึ่ง ที่สร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภครู้ว่าองค์กรมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และไม่ได้มุ่งหวังที่ผลกำไรอย่างเดียว

ธุรกิจที่ต้องการนำกลยุทธ์ Green Ocean มาใช้ นั้นต้องมองอย่างรอบด้าน และไม่ได้จำกัดแค่การทำ CSR อย่างเดียว แต่ยังนำมาใช้ได้อีกหลายส่วน อาทิ Green Design, Green Logistics, Green Marketing เป็นต้น

โดยรวมแล้วกลยุทธ์ Green Ocean สามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่ต้องการเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และตอบแทนสังคม

Disposable paper coffee cup and green leaf. Ecology concept

จุดเด่นของ Green Ocean 

  • เป็นธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดสนใจสิ่งแวดล้อม
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กร
  • เน้นการสร้างรายได้จากการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์กลยุทธ์
  • สามารถทำธุรกิจได้ปกติ โดยที่ทำ CSR ร่วมด้วย

กลยุทธ์ White Ocean คือ

เมื่อเปรียบเทียบกับทั้ง 4 กลยุทธ์ White Ocean หรือ กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว เป็นกลยุทธ์ที่ทุกองค์กรควรมีมากที่สุด เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจ ทั้งการมีจริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณ ซื่อสัตย์ และสุจริต

โดยสิ่งเหล่านี้มักถูกบรรจุอยู่ในวิสัยทัศน์ หรือพันธกิจขององค์กรอยู่แล้ว เป็นแนวคิดการทำงานและการหารายได้บนพื้นฐานความดี 

จุดเด่นของ White Ocean 

  • สะท้อนวิสัยทัศน์ขององค์กร
  • เน้นความยั่งยืน
  • เป็นธุรกิจไม่มุ่งหวังผลกำไร เน้นให้ประโยชน์ต่อสังคม
  • Gen Y และ Gen Z ที่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม

หนึ่งในแบรนด์ที่มีแนวคิดชัดเจนในการใช้กลยุทธ์ White Ocean นั่นคือ แบรนด์รองเท้ารักษ์โลก TOMS ที่มีแผนธุรกิจ One For One ภายใต้แนวคิด Buy 1 Give 1 โดยเมื่อลูกค้าซื้อรองเท้า 1 คู่ แบรนด์จะบริจาคอีกคู่ให้คนยากจน หรือคนที่ขาดแคลน

ปัจจัยที่ทำให้ TOMS ประสบความสำเร็จกับโมเดลธุรกิจนี้มาจากการทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการทำความดี ซึ่งแตกต่างจากการทำ CSR ทั่วไป ที่องค์กรจะได้ภาพลักษณ์อย่างเดียว แต่ TOMS ทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมด้วย

ข้อมูลจาก 

https://yonderconsulting.com/3-examples-blue-ocean-strategy/

https://adaddictth.com/knowledge/Green-Ocean-VS-White-Ocean

http://www.greenoceansociety.com/

facebook.com/TheDigitalTips

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก