Social Commerce

เพิ่มยอดขายให้แบรนด์ยุคใหม่ด้วยพลังแห่ง Social Commerce

Digimusketeers, 6 September 2022

หลังจากการมาของเทรนด์ Ecommerce ในช่วงไม่กี่ปีตั้งแต่มีโควิด-19 จนถึงตอนนี้ที่ส่งผลให้มันกลายเป็นช่องทางหลักในการช้อปของผู้บริโภคก็ทำให้เกิดตลาดสาขาย่อยไปอีกเยอะไปหมด ไม่ว่าจะเป็น E-marketplace อย่าง Shopee หรือ Lazada ก็ยังมีอีกตลาดใหม่ที่ชื่อ Social Commerce ด้วยที่มาแรงมากในขณะนี้ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่บรรดาแบรนด์หรือนักการตลาดให้ความสนใจไม่แพ้เทรนด์อื่น และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นในอนาคตจนอาจกลายเป็นอีกหนึ่งตลาดใหญ่พอ ๆ กับ Ecommerce เลยก็ว่าได้ 

วันนี้ผู้เขียนเลยขอเอาเรื่องราวเกี่ยวกับ Social Commerce มาแชร์ให้ฟังว่ามันคืออะไร แตกต่างกับตลาดอื่นในสายนี้อย่างไร นอกจากนี้ยังรวบรวมทั้งข้อดี และทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับการทำ Social Commerce ให้แบรนด์ได้ยอดขายแบบปัง ๆ กันด้วย ไปอ่านกันต่อเลย อ่านให้จบนะ ความรู้แน่น ๆ แน่นอน

 

Social Commerce คือ

Social Commerce คืออะไร

Social Commerce เป็นกระบวนการซื้อขายที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียทั้งหมด เรียกว่าครบจบในช่องทางนี้ได้เลย ซึ่งก็จะมีให้เลือกหลากหลายทั้ง Facebook, Instagram, Twitter, Youtube, TikTok หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ถ้ายังไม่เห็นภาพก็จะยกตัวอย่างเช่น Instagram ที่เริ่มเปิดทดลองระบบชำระเงินบนแอปฯ เพื่อลดการออกจากแอประหว่างช้อปของผู้ใช้งาน หรือ Line ที่เพิ่มฟีเชอร์ MyShop ให้ผู้ใช้งานซื้อสินค้าและชำระเงินในแอปฯ ได้เลย โดยจะมีการแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามนี้

1. Peer-to peer Commerce : การซื้อขายระหว่างคนกับคน ไม่ใช่แบรนด์หรือธุรกิจ B2C ไม่ว่าคนขายจะผลิตสินค้าเองหรือไม่ได้ผลิตเอง แต่นำสินค้ามาขายต่อก็ตาม 

2. Conversational commerce : การซื้อขายที่เกิดขึ้นผ่านแชทบนโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ที่รวมทั้งแชทส่วนตัว แชทระหว่าง Live หรือแชทที่คุยกับคนขายก่อนตัดสินใจซื้อทาง Line ที่เห็นมาจากโซเชียลมีเดียช่องทางอื่นด้วย

3. Group buying : การรวมกลุ่มซื้อสินค้ากับพ่อค้าแม่ค้า หรือแบรนด์ เหมือนกับการไปเดินประตูน้ำ หรือสำเพ็งชนิดเดียวกันเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ได้ราคาพิเศษ

ความต่างระหว่าง Social Commerce กับ ECommerce

อย่างที่บอกว่า Social Commerce คือการซื้อขายที่เกิดขึ้นและจบบนโซเดชียลมีเดีย แต่ ECommerce คือการซื้อขายที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของแบรนด์นั้น ๆ

 

ข้อดี Social Commerce

ข้อดีของการใช้ Social Commerce

ข้อมูลจาก Priceza พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีค่าเฉลี่ยการซื้อขายบนตลาด Social Commerce มากที่สุดในโลก จากธรุกิจออนไลน์มากถึง 95% ในปีที่ผ่านมา โดยแยกเป็นแต่ละแพลตฟอร์มเหล่านี้ Facebook 58%, Line 35%, IG 32% และ Twitter 11% จะเห็นว่าตลาดนี้เติบโตมาก ไปดูข้อดีอื่น ๆ กัน

ปิดจุดบอดการซื้อขายบนโซเชียลมีเดียได้

หนึ่งข้อดีของการใช้ Social Commerce นั้นก็คือสามารถปิดจุดบอดของการซื้อขายเดิม ๆ บนโซเชียลมีเดียได้ แถมยังตอบโจทย์กว่าในบางเคสด้วย จากเดิมที่โซเชียลมีเดียถูกแบรนด์ใช้ในการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคเป็นทุนเดิม ซึ่งพอมี Social Commerce เข้ามาทำให้มีการซื้อขายที่จบในที่เดียวได้เลยก็เป็นอะไรที่สะดวกสบายกับผู้ใช้งานมาก ๆ 

สร้างปฎิสัมพันธ์การลูกค้าได้

การซื้อขายผ่าน Ecommerce หรือ Marketplace ลูกค้าและแบรนด์มีปฎิสัมพันธ์กันน้อยมาก เวลาจะซื้อสินค้า เคยเป็นใช่ไหมล่ะ? แต่ยังมีข้อสงสัย ลองทักแชทร้านในแอปฯ ถามไป กว่าร้านจะมาตอบก็นานมาก Social Commerce จึงทำให้ลูกค้าและร้านค้ามีสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างกันได้มากกว่า ถามปุ๊ปตอบปั๊บ รวมถึงการคอมเมนต์ รีวิวสินค้าจากผู้ใช้ด้วยที่ดีกว่าตลาด Ecommerce

ตอบโจทย์กับการปรับตัวของแพลตฟอร์ม

เพราะการปรับตัวของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้งหลายที่ส่งผลให้ นั้นตอบรับการตลาด Social Commerce มากขึ้น เช่น การปรับหน้าฟีดของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้คล้ายกับ TikTok หรือการนำ AI มา Personalized หาคอนเทนต์ในแบบที่ผู้ใช้งานชอบมาแสดงให้เห็นบ่อย ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานอยู่ในแพลตฟอร์มนานขึ้น ซึ่งมันทำให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นด้วยนะ

ลดความยุ่งยากในการซื้อ

แต่ก่อนเวลามีการซื้อขายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียนั้นต้องเสียเวลาหลายขั้นตอนกว่าจะไปถึงมือผู้ซื้อได้ ไหนจะการสลัปแอปฯไปมา เช่น คุยแชทใน Facebook แล้วสลับไปเข้าแอปฯ ธนาคารเพื่อโอนเงิน แล้วก็สลัปไปแอปฯ เดิมเพื่อเช็กเลขบัญชีว่าถูกไหม มันเลยมีโอกาสที่ผู้บริโภคจะเปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้ากลางคันเพราะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ ไม่เหมือนกับการซื้อขายยุคนี้ที่มี Social Commerce เข้ามา

ไม่มีหน้าร้านก็ทำเงินได้

ปัจจุบันแบรนด์ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องพึ่งหน้าร้านอีกต่อไปแล้ว เพราะคนหันมาช้อปออนไลน์เป็นหลักมากกว่า แล้วยังสะดวกขึ้นเมื่อมีเทรนด์ Social Commerce เข้ามาเพิ่ม ต่างจากเมื่อก่อนที่พวกเขายังไม่วางใจที่จะมีแค่ร้านในช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว ต้องมีหน้าร้านไว้ให้อุ่นใจก่อน

อยู่ในแหล่งที่มีผู้ซื้อมากที่สุด

อย่างที่บอกในข้อแรกว่าโซเชียลมีเดียเป็นแหล่งรวมผู้บริโภค ซึ่งพวกเขาก็มักจะใช้มันซื้อขายออนไลน์อยู่แล้ว เมื่อ Social Commerce ทำให้ซื้อขายในช่องทางนี้ได้ด้วยแล้วก็ยิ่งช่วยให้มีการซื้อมากขึ้น เพราะทำง่ายขึ้น เลื่อนฟีดไปมาเจอร้านถูกใจ เข้าไปอ่านคอมเมนต์ อ่านรีวิวแล้วอยากซื้อก็กดซื้อในนี้ได้เลย

 

วิธีใช้ Social Commerce

วิธีใช้ Social Commerce ให้ยอดขายพุ่ง

ค้นหาความต้องการของลูกค้า

หาให้ได้ว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร ลองใช้กลยุทธ์ Customer centric ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางก่อน แล้วลองนำมาต่อยอดที่ Social Commerce ได้ เอามาปรับใช้ พัฒนาคอนเทนต์และสินค้าของแบรนด์ให้ตรงกับความต้องการ ความสนใจของลูกค้ามากขึ้นได้ 

ยิ่งง่ายก็ยิ่งขายได้

การใช้ Social Commerce นั้นช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้านั้นง่ายอยู่แล้วในปัจจุบัน ไม่แนะนำให้ชักชวนลูกค้าเข้าไปซื้อสินค้าในช่องทางอื่นต่อให้ยุ่งยาก หรือลำบากเข้าไปอีก ในเมื่อสามารถซื้อขายบนโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว 

ติดเทรนด์อยู่ตลอด

การเพิ่มโอกาสให้ขายสินค้าบนตลาด Social Commerce คือการขยันสร้างคอนเทนต์ที่ตามเทรนด์อยู่เสมอ ทำให้แบรนด์ Active อยู่ตลอด ไม่ให้หายไปจากหน้าฟีด ยิ่งเป็นลูกค้าที่สนใจอยู่แล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนชั่งใจ พอเห็นบ่อย ๆ ก็อาจจะตัดสินใจซื้อเลยก็ได้

แนะนำเพิ่มเติม

ถ้าจะให้ดีก็แนะนำให้เพิ่มระบบแนะนำสินค้าอื่นในเครือที่ลูกค้าอาจจะสนใจไปด้วย หรือสินค้าใกล้เคียง เป็นเซตคู่พิเศษ 

 

ช่องทางการขายบน Social Commerce ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะกับผู้บริโภคยุคนี้มาก ๆ ใครทำธุรกิจอยู่ต้องลองเปลี่ยนมาใช้ช่องทางนี้ดูนะ อาจจะเวิร์กกับคุณก็ได้

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก