กลยุทธ์ตั้งราคา Pricing Strategies in Marketing

7 กลยุทธ์การกำหนดราคาที่ธุรกิจควรรู้กับ Pricing Strategies in Marketing

Digimusketeers, 28 December 2023

ราคาตัวเลขที่มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจของลูกค้าว่าจะซื้อ หรือ ไม่ซื้อ แน่นอนว่าในด้านการตลาด การกำหนดราคาเป็นส่วนสำคัญ หากตั้งในตัวเลขที่เหมาะสมก็สามารถเพิ่มรายได้และกำไรของธุรกิจได้ อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ธุรกิจเสียเปรียบต่อคู่แข่ง หรือสูญเสียลูกค้าไปได้ Pricing Strategies in Marketing คือกลยุทธ์การตลาดกำหนดราคาที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ เพื่อให้ได้ซึ่งตัวเลขราคาที่เหมาะสมกับสินค้า ตลาด และเป้าหมายของธุรกิจ ในบทความนี้เรามี 7 กลยุทธ์การกำหนดราคาที่ธุรกิจควรรู้ ดังนี้

 

 

ประเภทของ Pricing Strategies in Marketing มีอะไรบ้าง

Pricing Strategies in Marketing คือการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสมกับเป้าหมายของธุรกิจ เพื่อสร้างผลกำไร เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง กลยุทธ์การกำหนดราคามีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน และนี่คือ Pricing Strategies in Marketing ทั้ง 7 รูปแบบ มีอะไรบ้าง 

1. กลยุทธ์การกำหนดราคาตามต้นทุน (Cost-based pricing)

กลยุทธ์การกำหนดราคาตามต้นทุนคือการกำหนดราคาของสินค้า โดยอ้างอิงจากต้นทุนที่ใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้า แล้วเพิ่มเปอร์เซ็นต์กำไรที่ต้องการไปยังต้นทุนนั้น กลยุทธ์นี้มีข้อดีคือ ง่ายต่อการคำนวณ ควบคุมต้นทุนได้ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้มีข้อเสียคือไม่คำนึงถึงความต้องการและความพร้อมจ่ายของลูกค้า และไม่สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้

2. การตั้งราคาตามมูลค่า (Value-based pricing)

กลยุทธ์การกำหนดราคาตามค่าประโยชน์คือการกำหนดราคาของสินค้า โดยอ้างอิงจากความคุ้มค่าที่ลูกค้ารับได้จากสินค้านั้น กลยุทธ์นี้เหมาะกับธุรกิจที่มีความแตกต่างและจุดเด่นที่ชัดเจน ซึ่งมีข้อดีคือสามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าหรือบริการ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้มีข้อเสียคือยากและซับซ้อนในการวิเคราะห์ค่าประโยชน์ของลูกค้า และอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันของสินค้าที่มีราคาถูกกว่า

 

กลยุทธ์ตั้งราคาตามคู่แข่ง

 

3. กลยุทธ์การกำหนดราคาตามคู่แข่ง (Competition-based pricing)

กลยุทธ์นี้ว่ากันด้วยเรื่องของ สงครามราคา เน้นท้าชนคู่แข่งโดยเฉพาะ ซึ่งราคาจะอ้างอิงจากราคาของสินค้าคู่แข่งในตลาด ข้อดีคือ สามารถปรับตัวตามสภาวะของตลาด ง่ายต่อการตัดสินใจ และสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดได้ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้มีข้อเสียคือไม่สามารถสร้างความแตกต่างของสินค้าได้ และอาจทำให้ราคาของสินค้าลดลงเป็นการแข่งขันราคา

4. การตั้งราคาตามกำไร (Profit-based Pricing)

คือกลยุทธ์การกำหนดราคาที่มุ่งเน้นการสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจเป็นหลัก โดยการตั้งราคาให้สูงกว่าต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อสร้างกำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กลยุทธ์นี้มีข้อดีคือช่วยให้ธุรกิจควบคุมกำไรได้ และสามารถปรับราคาขายได้ตามเป้าหมายกำไรที่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้มีข้อเสียคือไม่คำนึงถึงความต้องการ ความพร้อมจ่าย และการแข่งขันของลูกค้า และอาจมีความยากในการประมาณการปริมาณการขายได้

5. การตั้งราคาตามกลุ่มเป้าหมาย (Target-based Pricing)

คือกลยุทธ์การกำหนดราคาที่มุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ โดยการตั้งราคาให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และความสามารถในการจ่ายของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งข้อดีคือ ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ รวมถึงสามารถทำให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ แต่ก็มีข้อควรระวังว่าอาจจะทำให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดหากกลุ่มเป้าหมายมีขนาดเล็ก เนื่องจากกลยุทธ์นี้เหมาะกับธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน โดยผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการกำหนดราคา อาทิ

5.1 กลุ่มเป้าหมาย

เจ้าของธุรกิจควรทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น รายได้ ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ เพื่อกำหนดราคาที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม

5.2 ความสามารถในการจ่าย

อาจจะต้องประเมินความสามารถในการจ่ายของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำหนดราคาที่ไม่สูงเกินไปจนเกินความสามารถของกลุ่มเป้าหมายที่จะจ่าย

5.3 ปัจจัยอื่น ๆ 

เช่น การแข่งขันในตลาด ความต้องการและอุปทานของตลาด

6. การตั้งราคาตามโปรโมชั่น (Promotional Pricing)

คือการตั้งราคาให้ต่ำกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการลดราคา การให้ส่วนลด การให้ของแถม การให้สิทธิ์พิเศษ หรือการขายสินค้าแบบมีเงื่อนไข กลยุทธ์นี้มีข้อดีคือสามารถดึงดูดลูกค้า เพิ่มยอดขาย และเพิ่มความประทับใจให้กับแบรนด์ได้ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้มีข้อเสียคืออาจทำให้ลดกำไรลง ลดคุณค่าของสินค้าลง หรือทำให้ลูกค้ารอเวลาซื้อสินค้าตอนมีโปรโมชั่นเท่านั้น

เนื่องจากกลยุทธ์นี้คือการกำหนดราคาเพื่อมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นยอดขาย ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

6.1 เป้าหมายในการกระตุ้นยอดขาย

ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดเป้าหมายในการกระตุ้นยอดขายให้ชัดเจน เช่น ต้องการเพิ่มยอดขาย 50% หรือ ต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ 10% เป็นต้น

6.2 ประเภทของโปรโมชัน

ผู้ประกอบการจะต้องเลือกประเภทของโปรโมชันที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น โปรโมชั่นลดราคา โปรโมชันแลกซื้อ โปรโมชันแถม เป็นต้น

6.3 ระยะเวลาของโปรโมชัน

การกำหนดระยะเวลาของโปรโมชันก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการเองด้วยเหมือนกันว่าระยะเวลาของโปรโมชันนี้ จะสั้น หรือ ยาว

6.4 กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด

เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงโปรโมชันต่าง ๆ ได้ตรงตามเป้าหมาย เจ้าของธุรกิจจะต้องวางแผนการสื่อสารการตลาดให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ถึงโปรโมชัน

 

ซึ่งการตั้งราคาตามโปรโมชั่นเป็นกลยุทธ์การกำหนดราคาที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถกระตุ้นยอดขายได้ โดยผู้ประกอบการจะต้องกำหนดเป้าหมายในการกระตุ้นยอดขายให้ชัดเจน เลือกประเภทของโปรโมชันที่เหมาะสม กำหนดระยะเวลา และวางแผนการสื่อสารการตลาดให้มีประสิทธิภาพ

 

 

7. กลยุทธ์การกำหนดราคาแบบเร่งด่วน (Urgency Pricing)

ไวกว่าก็คว้าไป ใช้ได้กับกลยุทธ์นี้ กล่าวคือเป็นการกำหนดราคาของสินค้าหรือบริการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อในทันที ณ เวลานั้น และสินค้ามีจำนวนจำกัด อีกทั้งยังช่วยให้ธุรกิจสามารถเจาะตลาดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อดีคือสามารถเพิ่มยอดขายได้ในระยะสั้น และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้มีข้อเสียคืออาจทำให้ลูกค้ารู้สึกถูกหลอกหรือไม่ไว้วางใจ หากไม่มีการจัดการกับการคาดหวังของลูกค้าได้ดี

 

ตั้งราคาขายด้วยการวิเคราะห์จาก CRM

 

การตั้งราคาขายด้วยการใช้ CRM ทำอย่างไร 

นอกเหนือจาก 7 กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เราได้นำเสนอไปแล้ว การใช้ CRM (Customer Relationship Management) สำหรับตั้งราคาขาย มีให้เลือกหลากหลายโปรแกรม โดยโปรแกรมเหล่านี้จะมีคุณสมบัติที่ช่วยธุรกิจในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าและข้อมูลตลาด เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนี่คือตัวอย่างโปรแกรม CRM สำหรับตั้งราคาขาย

1. Salesforce

เป็นโปรแกรม CRM ระดับองค์กรที่ได้รับความนิยมสูงที่มีฟังก์ชันการตั้งราคาขายที่ครบถ้วน โดยสามารถสร้างราคาขาย ใบเสนอราคา ใบสั่งขาย และใบกำกับภาษีได้ โปรแกรมนี้ยังมีการวิเคราะห์การขาย และ การปรับราคาขายอัตโนมัติได้

2. Zoho CRM

เป็นโปรแกรม CRM ระดับ SME ที่ได้รับความนิยมสูง มีฟังก์ชันที่ช่วยในการตั้งราคาขาย เช่น การแบ่งกลุ่มลูกค้า การติดตามพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า การติดตามราคาของคู่แข่ง เป็นต้น

3. Wisible

เป็นโปรแกรม CRM สัญชาติไทย เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและสตาร์ทอัพ มีฟังก์ชันที่ช่วยในการตั้งราคาขาย เช่น การแบ่งกลุ่มลูกค้า การติดตามพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า การติดตามราคาของคู่แข่ง เป็นต้น

4. Getmycrm

เป็นโปรแกรม CRM ที่มีฟังก์ชันการตั้งราคาขายที่ง่ายและสะดวก โดยสามารถกำหนดราคาขาย ออกเอกสารประกอบการขาย เช่น ใบเสนอราคา ใบสั่งขาย ใบกำกับภาษี เป็นต้น โปรแกรมนี้ยังมีการวิเคราะห์การขาย การเปิดโอกาสทางการขาย และการคัดกรองข้อมูลลูกค้าได้

 

นี่เป็นเพียงแค่บางส่วนของโปรแกรม CRM สำหรับตั้งราคาขาย อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องการให้ CRM คำนวณราคา ควรพิจารณาเลือกใช้จากขนาดของธุรกิจ เนื่องจากโปรแกรม CRM แต่ละตัวมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน การเลือกโปรแกรม CRM ที่เหมาะกับขนาดของธุรกิจจะช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

 

และนี่คือเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Pricing Strategies in Marketing ซึ่งการเลือกกลยุทธ์การกำหนดราคาที่เหมาะสมกับธุรกิจ จะช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังต้องการที่ปรึกษาด้านการตลาด เพื่อช่วยให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จัก เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ ที่ Digimusketeers เองก็มีบริการ บริการลงโฆษณาออนไลน์เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ (Performance Media Buyer) โปรโมตธุรกิจของคุณให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มยอดขายด้วยการลงโฆษณาออนไลน์ สร้างโอกาสให้ธุรกิจ หรือแบรนด์มียอดขายที่เพิ่มมากขึ้น สร้างการรับรู้ ให้ธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณ เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างตรงกลุ่ม ด้วยการลงโฆษณาผ่าน Facebook Ads Tiktok Ads Google Ads เพิ่มยอดขายด้วยการลงโฆษณาออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญฟรี

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก