Web Developer เป็นอาชีพที่มีความสำคัญในการพัฒนาและดูแล Website ให้กับทุกองค์กร ถ้าขาดตำแหน่งนี้ไป อาจส่งผลต่อการสร้างและพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ดังนั้นหลาย ๆ บริษัทจึงต้องการWeb Developer เป็นจำนวนมากจนกลายเป็นอาชีพยอดฮิตในสายไอทีนั่นเอง
โดยวันนี้เราจะมาแนะนำอาชีพ Web Developer ให้ทุกคนรู้จักกันว่าคืออะไร สำคัญอย่างไร มีกี่ประเภท?
Web Development คืออะไร?
“Web Development” คือกระบวนการที่สำคัญในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ โดยใช้ภาษาโปรแกรมและเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การวางโครงสร้าง การออกแบบ การพัฒนาเว็บ ไปจนถึงดูแลระบบเว็บไซต์หลังจากที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว
รวมถึงการเลือกนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด และการออกแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว การตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะพึงพอใจกับเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ดังนั้นหากต้องการให้การทำธุรกิจออนไลน์ประสบความสำเร็จ จะขาด Web Development ไปไม่ได้เลย
ทำไม Web Development จึงมีความสำคัญ?
ในปัจจุบันเป็นยุคของโลกดิจิทัลออนไลน์ จึงไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า Web Development เป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงและใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น แต่ทั้งนี้ Web Development ยังมีความสำคัญอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้อีก เช่น
- เว็บไซต์เป็นตัวบ่งบอกความน่าเชื่อถือของธุรกิจ สร้างเอกลักษณ์แบรนด์และดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้สนใจธุรกิจของคุณ
- รองรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจของคุณปรากฏในผลการค้นหาของลูกค้ามากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีโอกาสในการสร้างธุรกิจได้มากขึ้น
- ระบบหน้าบ้านและหลังบ้านของเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าใช้งานได้อย่างสบายใจ รวมไปถึงทำให้ลูกค้ารู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการได้มากขึ้น
- เว็บไซต์ที่มีคุณภาพจะรวบรวมและประเมินพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น
ประเภทของ Web Developers มีอะไรบ้าง?
Web Developers คือผู้ที่มีกำหนดรูปแบบการทำงานของเว็บไซต์ตามที่ต้องการ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. Front End Development
ทำหน้าที่พัฒนาและดูแลส่วนของหน้าบ้านของเว็บไซต์ ส่วนที่ผู้ใช้งานเห็นและโต้ตอบกับเว็บไซต์ เช่น รูปแบบการแสดงผลข้อมูล การออกแบบเมนู และแบนเนอร์ ซึ่งใช้ภาษา HTML, JavaScript, และ CSS เป็นหลัก
2. Back End Development
เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและดูแลส่วนของระบบหลังบ้าน ซึ่งไม่ปรากฏต่อผู้ใช้งาน แต่มีบทบาทสำคัญในการจัดการข้อมูล การเชื่อมต่อฐานข้อมูล และการทำงานของเว็บไซต์ ภาษาที่ใช้เป็นหลักได้แก่ PHP, Ruby, และ Python
3. Full Stack Development
เป็นคุณสมบัติที่รวมทั้ง Front End และ Back End มารวมกัน สามารถทำงานทั้งสองส่วนได้ และใช้ภาษาโปรแกรมของทั้ง Front-End Development (เช่น HTML, CSS, JavaScript) และ Back-End Development (เช่น PHP, Ruby, Python) จุดเด่นของ Full-Stack Development คือความเชี่ยวชาญในภาษาการทำงานหลักของโปรแกรม ทำให้สามารถทำงานทั้งสองส่วนได้เป็นอย่างดี ซึ่งจำเป็นต้องมีความชำนาญสูง
5 ขั้นตอนการทำ Web Development ทำตามนี้ เว็บไซต์ดี มีคุณภาพ
การทำ Web Development ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. วางแผนการทำงาน
การวางแผนการทำงานเสมือนการกำหนดเส้นทางให้งานเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องและไม่ออกนอกเส้นทาง สำหรับสร้างเว็บไซต์ก็เช่นกัน โดยการวางแผนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ทำงานเข้าใจว่าต้องการทำอะไรบ้าง โดยหลักการวางแผน มีดังนี้
1.1 กำหนดช่วงเวลาในการสร้างเว็บไซต์
การกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำงานช่วยให้ทุกคนเข้าใจว่าต้องการทำงานในเวลาใดถึงเวลาใด
1.2 ตั้งทีมงานในการสร้างเว็บ
การรวบรวมทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้าน HTML, ผู้ออกแบบกราฟิกและการใช้งาน (UI/UX), และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
1.3 กำหนดงบประมาณ
การวางแผนงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ทราบว่ามีต้องใช้ทรัพยากรเท่าใดในการพัฒนาเว็บไซต์ เช่น งบประมาณในการจ้างงาน การซื้ออุปกรณ์ หรือการทำการตลาด
1.4 อุปกรณ์เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการทำงาน
การเตรียมอุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็นในการทำงาน เช่น ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็นไว้ในคอมพิวเตอร์ และการเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน
1.5 บันทึก วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค
การบันทึกปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน มีประโยชน์ในการวิเคราะห์และหาทางแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดขึ้นปัญหาในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. รวบรวมและวิเคราะห์โครงสร้าง
การรวบรวมและวิเคราะห์โครงสร้าง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสร้างเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา หัวข้อ และภาพต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
3. ออกแบบและสร้างเว็บไซต์
หลังจากเตรียมข้อมูลที่จำเป็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถัดไปคือขั้นตอนการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ โดยใช้ภาษา HTML และทำการออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ให้มีความสวยงาม ใช้งานได้สะดวก ซึ่งอาจจะร่างรูปแบบของเว็บไซต์ลงบนกระดาษ เพื่อมให้องเห็นภาพรวมก่อน โดยขั้นการออกแบบมีอยู่ด้วยกัน 2 ขั้นตอน ได้แก่
3.1 การทำ Wireframing
Wireframing เป็นการวางแผนผังโครงสร้างพื้นฐานของเว็บไซต์ เพื่อให้ทุกคนในทีม เช่น ผู้เขียนโปรแกรมและผู้ใช้งานเข้าใจตรงกันว่าแต่ละส่วนของเว็บไซต์จะอยู่ที่ไหนและมีลักษณะอย่างไร
3.2 การออกแบบ UI (User Interface)
การออกแบบ UI เป็นการออกแบบที่เน้นให้ผู้ใช้งานเข้าถึงและใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก ซึ่งจะเน้นไปที่การออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ เช่น การจัดวางภาพ ปุ่ม สี ขนาดตัวอักษร เป็นต้น โดยควรออกแบบให้มีความสวยงามและใช้งานง่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์การใช้งานที่ดี
4. พัฒนาและเว็บไซต์
เมื่อเราออกแบบและสร้างเว็บไซต์เสร็จแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการทดสอบและปรับแต่งเว็บไซต์ เพื่อให้มั่นใจว่าเว็บไซต์สามารถแสดงผลได้ดี ซึ่งจะใช้การทดสอบแบบออฟไลน์ เพื่อทดสอบขนาดตัวอักษร ขนาดภาพ และสีว่าเหมาะสมและเข้ากับการใช้งานหรือไม่
5. เผยแพร่ข้อมูลที่ต้องการผ่านเว็บไซต์เก็บข้อมูลและพัฒนาเว็บ
หลังจากเว็บไซต์ถูกสร้างขึ้นและพัฒนาเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้ผู้คนทั่วไปได้รู้จักและเข้าถึงข้อมูลของเราได้
ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์จะต้องทำการจดทะเบียนโดเมนเนม และเช่าพื้นที่เว็บโฮสติ้งก่อน เพื่อที่จะสามารถอัพโหลดเว็บไซต์ลงอินเตอร์เน็ตได้ จากนั้นคอยเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นบนเว็บไซต์ เพื่อประเมินผู้ใช้งาน และพัฒนาเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
คำว่า ” Web Developers ” นั้นหมายถึงผู้ที่เข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามความต้องการผ่านการเขียนโค้ด ซึ่งในแต่ละบริษัทได้มีการแบ่งรายละเอียดงานของตำแหน่งนี้ออกเป็นหลายส่วนแตกต่างกันไป
ในปัจจุบัน Web Developers ถือเป็นอาชีพที่หลายบริษัทต้องการมากที่สุด เนื่องจากทุกบริษัทจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้าทันโลก Digital หากบริษัทไหนมี Developer ที่เก่ง ก็ถือว่ามีอาวุธชั้นดีไว้ใช้ต่อสู้และแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งในสายงานดิจิทัลได้เปรียบกว่านั่นเอง
ขอบคุณเนื้อหาจาก:
https://criclabs.co/post/what-is-web-development
https://blog.skooldio.com/type-of-developer/#_Developer-2
https://www.asearcher.com/content/ทำความรู้จัก-web-developer-คืออะไร-พร้อม-10-ทักษะที่จำเป็น