13 ขั้นตอนตรวจสอบเว็บไซต์

13 ขั้นตอนตรวจสอบเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ ไต่อันดับ SEO ให้ดีขึ้น

Digimusketeers, 14 December 2022

หลายคนทำเว็บไซต์ของตัวเองมาก็พักหนึ่งแล้ว ทำไมเว็บไซต์ถึงไม่ติดอันดับในหน้าแรกของ Google สักที ลองคิดดูแล้วหน้าเว็บไซต์ก็ดีไซน์ เนื้อหาก็เยอะ มันขาดอะไรไปหรือเปล่านะ ? ไม่มั่นใจว่าเว็บไซต์ของตัวเองไม่ดีตรงไหน…ทำไมอันดับ SEO ถึงแย่ แล้วแถมยังยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ก็ลดลงฮวบอีกด้วย คุณจะตรวจสอบเว็บไซต์อย่างไรดี เพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น ควบคู่ไปกับการได้อันดับ SEO ที่ดีมีประสิทธิภาพ เราเลยรวบ 13 ขั้นตอนตรวจสอบเว็บไซต์มาให้ทุกคนได้ลองเช็กตามกันไม่ยาก แต่ก่อนอื่นต้องรู้จักการตรวจสอบ SEO และความสำคัญก่อน

ทำไมต้องตรวจสอบ SEO

เพราะการตรวจสอบ SEO หรือตรวจสอบเว็บไซต์จะช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์โดยรวมที่คุณสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงให้เว็บไซต์มีคุณภาพ ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านได้ถูกจุดมากกว่าการมานั่งคิดเอาเอง ซึ่งควรทำการตรวจสอบอยู่เสมอและปรับปรุงทุกครั้งที่เจอข้อผิดพลาด อย่างน้อยให้ได้ไตรมาสละ 3 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ของคุณตกอันดับบน Search Result

 

13 ขั้นตอนตรวจสอบเว็บไซต์

13 ขั้นตอนตรวจสอบเว็บไซต์

1. UX/UI เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน

Google ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะมีการนำ User Experience (UX) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การวัดคุณภาพของ SEO ด้วยแล้วนะ นั่นเท่ากับว่าหากเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณดีมากแค่ไหน แต่ UX/UI ห่วย Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์นั้นไม่มีประสิทธิภาพพอ ไม่ควรจะเอามาขึ้นโชว์บนหน้าแรกของการค้นหา ดังนั้นคุณต้องตรวจสอบเว็บไซต์ให้ดีทั้งคุณภาพด้านเนื้อหาและเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานหรือไม่ เช่น ดีไซน์ปุ่มหรือ Pop up ที่เด่นดึงดูดใจ แต่ก็ไม่สร้างความรำคาญตา, ดีไซน์การวางภาพและตัวอักษรที่ไม่แน่นเกินไปจนดูรกไปหมด, การเรียงลำดับเนื้อหา การเล่าเรื่องที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนให้ผู้ใช้เกิดความสับสน และอื่น ๆ 

2. บทความเขียนถูกต้องตามหลัก SEO

ในส่วนของการเขียนบทความลงบนเว็บไซต์ ไม่ใช่แค่การมีความยาวที่มากพอและเล่าเรื่องได้ดี แต่ยังต้องเขียนถูกต้องตามหลักของ SEO ด้วย ลองตรวจสอบเว็บไซต์ดูว่าแต่ละบทความของคุณมีการใส่ Title Tag, Meta Description, Alt text หรือใส่ H1-H3 ได้ถูกต้องหรือเปล่า คำที่ใช้นั้นดึงดูดใจคนอ่านและมี Focus Keyword อยู่ในนั้นด้วยหรือไม่ เพราะองค์ประกอบเหล่านี้สำคัญมากและจะขาดไม่ได้เลยถ้าอยากให้เว็บไซต์ของคุณได้อันดับ SEO ที่ดีจนไปโผล่ในหน้าแรก เวลามีคนค้นหา

3. เช็ก Keyword Cannibalization

Keyword Cannibalization คือการเพิ่มคีย์เวิร์กเดียวกันเข้าไปในหลาย ๆ หน้า ต้องตรวจสอบเว็บไซต์ดูให้ดีว่ามีซ้ำกันหรือไม่ เพราะยิ่งใส่คีย์เวิร์ดเดิมซ้ำ ๆ ในหลายหน้ายิ่งทำให้ Search Engine สับสน ไม่ได้ส่งผลดีนะ อาจทำให้มีการแข่งกันเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้อันดับ SEO ของเว็บไซต์แย่ ควรปรับเปลี่ยนให้คีย์เวิร์ดแต่ละหน้าแตกต่างกันและสอดคล้องกับเนื้อหาที่แสดงในหน้านั้นเป็นดีที่สุด

4. Page Speed ไม่โหลดนานเกินไป

Page Speed คือความเร็วในการโหลดเข้าหน้าเว็บไซต์นั้น ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ คลิปวิดีโอหรือแอนิเมชันต่าง ๆ ลองนึกดูว่าถ้าคุณอยากให้เว็บไซต์ไหนสักที่หนึ่ง แต่เว็บนั้นโหลดช้ามาก คุณจะรู้สึกเบื่อไหมล่ะ? ยิ่งเว็บไซต์โหลดเร็วก็ยิ่งส่งผลดีทั้งต่อ User และการทำ SEO โดยตรง ซึ่งปกติแล้วค่าเฉลี่ยของการโหลดไม่ควรเกิน 2.5 วินาที 

สิ่งที่ส่งผลให้เว็บไซต์ช้าลงจะมีอยู่ 4 ปัจจัยคือ

 – รูปภาพ, วิดีโอมีขนาดใหญ่เกินไป

 – Server hosting ไม่ดี 

 – ใช้ Plug-In เยอะเกินไป

 – Script Code ที่มีมากเกินไปก็ทำให้เว็บไซต์ช้าลงด้วย

ไปดูทริคการปรับ Page Speed เว็บไซต์ให้โหลดไวกว่าเดิมที่นี่ คลิก

5. แก้ปัญหาการจัดทำ Index

รู้ไหมว่าแม้ Google จะส่ง Bot เข้ามาเก็บข้อมูลแต่ละหน้าของเว็บไซต์เรา แต่ก็ไม่ได้เข้ามา Index (การจัดทำดีชนีของหน้าเว็บไซต์) ได้ทุกหน้านะ ดังนั้นถ้าอยากให้ SEO อยู่ในอันดับที่ดีก็ต้องทำให้หน้าที่ไม่ถูก Index มีน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งส่วนมากหน้าที่ไม่ถูก Index มักจะเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น เช่น คีย์เวิร์ดซ้ำกันหลายหน้า, ขาด Internal Link และอื่น ๆ 

วิธีแก้ก็คือเข้าไปที่ Google Search Console เพื่อตรวจสอบเว็บไซต์ว่ามีหน้าไหนยังไม่ได้ Index หรือไม่ แล้วเช็กดูวันที่ Bot เข้ามารวบรวมข้อมูลครั้งสุดท้าย ถ้ายังไม่เกิน 1 อาทิตย์ให้รอก่อน เพราะบางครั้ง Bot นั้นใช้เวลารวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้ช้า แต่ถ้านานเกิน 1 อาทิตย์แล้วก็ลองไปแก้ไขเนื้อหา แก้ URL และเปลี่ยนวันที่ในการเผยแพร่หน้าเว็บไซต์นั้นด้วย

6. Keyword ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

หนึ่งปัจจัยที่สำคัญของการได้ SEO อันดับต้น ๆ ก็คือการเลือกคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม เป็นคำที่คนมักใช้ค้นหาเยอะและบ่อยจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณถูกพบเห็นได้ง่ายเมื่อติดหน้าแรก ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม Brand Awareness ให้กับเว็บไซต์ รวมไปถึงเพิ่ม Traffic ในการคลิกเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยวิธีตรวจสอบ Keywords ในเว็บไซต์นั้นสามารถดูได้จาก 3 องค์ประกอบนี้เลย

 – คีย์เวิร์ดที่เลือกมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวเว็บไซต์หรือไม่ ?

 – คีย์เวิร์ดที่เลือกต้องมีปริมาณ Search Volume มากพอที่จะเอามาใช้ สามารถวิเคราะห์คู่แข่งโดยใช้ Tools หา Keyword ที่เหมาะสมในการทำ SEO เช่น SEMRush, KWFinder, Ahrefs และอีกมากมาย

 – คีย์เวิร์ดที่ใช้นั้นต้องไม่มีการแข่งขันที่สูงมากจนเกินไป

7. เว็บไซต์เป็น Mobile Friendly

จากรายงาน Digital Stat 2022 ของ We Are Social เกี่ยวกับการใช้มือถือของคนไทยบอกว่าคนไทยมีโทรศัพท์มือถือสูงถึง 136.5% เป็นอันดับที่ 18 ของโลก ซึ่งคนไทยที่มีมือถือเข้าถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย 3G,4G และ 5G 100% แล้ว

ตอนนี้ใคร ๆ ก็ใช้สมาร์ทโฟนเป็นหลัก เหมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ที่ชีวิตขาดไม่ได้ และยังทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือเยอะขึ้น แบรนด์ควรตรวจสอบเว็บไซต์ว่ามีความเป็น Mobile Friend มากแค่ไหน เพราะ Google คิดเป็นหนึ่งปัจจัยสำหรับการทำ SEO ด้วย เว็บไซต์ควรให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน 

8. วิเคราะห์ยอดเข้าชมแบบออแกนิก

ยอดเข้าชมออแกนิกเป็นยอดการเข้าชมแบบไม่เสียค่าโฆษณา เป็นปัจจัยสำคัญที่เจ้าของเว็บไซต์ควรเอามาวิเคราะห์คุณภาพเว็บไซต์ตัวเองและความนิยมในการเข้าชมเว็บไซต์ ในขณะเดียวกันก็ช่วยวัดคุณภาพของคอนเทนต์ในเว็บไซต์ได้ด้วย ยิ่งคนเข้าเยอะก็แสดงว่าเว็บไซต์ของคุณมีเป็นที่สนใจของผู้บริโภค โดยวิธีที่จะช่วยเพิ่มยอดเข้าชมแบบนี้คือวิเคราะห์คีย์เวิร์ดเราและคู่แข่ง แล้วค่อยปรับเพิ่มคำหลักให้มีจำนวนและตำแหน่งที่เหมาะสม รวมถึงอย่าลืมตรวจสอบชื่อ URL และส่วนของ Meta Description ให้สั้นกระชับและเข้าใจง่ายในเวลาอันสั้น 

9. ตรวจสอบ Broken Links

ลองตรวจสอบเว็บไซต์ให้ดีว่าเว็บไซต์ของคุณมีลิงก์เสียหรือเปล่า ซึ่งลิงก์เสียส่วนใหญ่มักเกิดจากการอัปเดตเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา หรือมีหน้าเว็บที่ถูกลบ เว็บไซต์หรือบทความที่มีลิงก์เสียจะส่งผลต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่อาจทำให้พวกเขารู้สึกไม่เชื่อใจจนกดปิดหรือออกจากเว็บไซต์ไป แน่นอนว่ามันส่งผลเสียต่ออันดับ SEO โดยตรง เพราะ Google จะอาศัยลิงก์เหล่านี้สำหรับ PageRank และ anchor text อาจทำให้ Google หาไม่เจอ

อีกกรณีหนึ่งคือ Backlink ที่เคยใช้อาจกลายเป็นเว็บไซต์ที่โดเมนหมดอายุหรือมีการสแปม หากอยากลบลิงก์ออกก็สามารถทำ Disavow Link ใน Google search Console ก็ได้ แต่ก่อนทำก็ต้องมั่นใจว่าลิงก์นั้นเสียหรือแย่จริง เพราะหลังจากทำ Disavow Link ไปแล้ว ค่า SEO ที่เคยได้อาจหายไป

10. เพิ่ม Schema Markup

Schema Markup เป็นโค๊ดชุดหนึ่งที่อยู่ใน Page Source สามารถนำเข้ามาใส่ในเว็บไซต์เพื่อช่วยให้ทาง Google Bot เจอชุดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเนื้อหานั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น Rich Snippet ที่โผล่ขึ้นมาอันดับแรกเวลาเราเข้าไปค้นหาสิ่งที่ต้องการใน Google หรืออธิบายง่าย ๆ ว่าเพิ่มเพื่อช่วยให้ Google เข้าใจว่าเว็บไซต์เราคืออะไรได้เร็วขึ้น

โดย Schema ที่สามารถพบเจอได้บ่อย มีทั้งหมด 5 ประเภท

 – Article ที่เหมาะสำหรับบทความ

 – Breadcrumb สำหรับหน้าที่มีเพจย่อยเยอะ

 – local business สำหรับให้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ

 – Product สำหรับหน้าสินค้า โดยจะแสดงราคาและแจ้งว่าสินค้ามีในสต๊อกหรือไม่

 – Review จะเป็นการให้คะแนนรีวิว เป็นดาว 5 คะแนน และให้คะแนนแบบเรทติ้ง

11. วิเคราะห์งานของคู่แข่ง

ช่วยให้คุณอาจเล็งเห็นโอกาสที่จะไต่อันดับเว็บไซต์ให้สูงกว่าคู่แข่งได้ โดยใช้ปัจจัยเหล่านี้ตรวจสอบเว็บไซต์ เช่น คีย์เวิร์ดคู่แข่ง, จำนวนและคุณภาพของ Backlink, การมีส่วนร่วมกับสื่อออนไลน์, ความเร็วของเว็บไซต์ เป็นต้น โดยสามารถวิเคราะห์คู่แข่งได้ผ่าน Tools เหล่านี้ Ubersuggest หรือ SuproutSocial 

12. ตรวจสอบ Site Structure

Site Structure คือโครงสร้างเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยแต่ละหน้าของเว็บไซต์ เป็นการจัดระเบียบเว็บไซต์ให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง ช่วยให้ Google เข้าใจและหาข้อมูลต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น ส่งผลให้อันดับ SEO ดีขึ้น โดยโครงสร้างเว็บไซต์จะแสดงข้อมูล 2 ส่วนคือ ส่วนหนึ่งคือบอกว่าแต่ละหน้านำเสนอเนื้อหาอะไร หัวข้ออะไร และส่วนที่สองเป็นส่วนที่แสดงว่าแต่ละหน้าเชื่อมโยงกันอย่างไร

13. ทำ Backlinks ที่มีคุณภาพ

การทำ Link Building คือการทำให้เว็บไซต์อื่นลิงก์มายังเว็บไซต์เรา ซึ่งจะต้องเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ไม่ใช่เว็บเทา มีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับเว็บไซต์เรา และเป็นเว็บไซต์ที่มีการเปิดใช้งานจริง โดยการทำ Link Building จะเรียกว่า Backlinks ที่สามารถแบ่งเป็น 2 แบบคือ Do Follow : เว็บที่แทรก Hyperlinks มายังเว็บไซต์เราและส่งค่า SEO มาให้เรา กับ No Follow : เว็บที่แทรก Hyperlinks มายังเว็บไซต์เรา แต่ไม่ส่งค่า SEO มาให้

ซึ่งการทำ SEO คุณควรจะมีทั้ง 2 แบบผสมกันบ้าง ดูเป็นธรรมชาติไม่ดูเป็นการจงใจทำ SEO เกินไป นอกจากนี้ยังมีประเภทของ Backlinks อีกหลายแบบที่ควรใส่ใจ เช่น Natural-Editorial : Backlinks แบบไม่เสียเงินซื้อ เกิดจากเว็บไซต์อื่นให้เครดิตเป็นเว็บไซต์เรา มีคุณภาพ / Manual Link Building : Backlinks ที่เราทำเอง เขียนเอง แนบลิงก์เอง เอาไปโพสเอง และ Non-Editorial : Backlinks ที่เราจะใส่ในช่อง Comment ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ รูปแบบนี้ Google ออกมาบอกว่าไม่ช่วยด้าน SEO และยังเสี่ยงต่อการถูกมองเป็นสแปมด้วย

 

ใครที่มีเว็บไซต์ของตัวเอง เอา 13 ขั้นตอนนี้ไปตรวจสอบเว็บไซต์ ของตัวเองได้เลย จะช่วยให้เว็บไซต์มีคุณภาพและไต่อันดับ SEO ดี ๆ ได้แน่นอนถ้าทำถูกต้องตามหลักที่เราแนะนำไป

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก