Data Processing

Data Processing คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

Digimusketeers, 23 June 2023

จากบทความก่อนที่เราให้ความรู้เรื่อง Data Management ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับ Data Processing กันบ้าง เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันที่คนทำธุรกิจต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นองค์กรใหญ่ ซึ่งเรื่องของ Data ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญของคนทำธุรกิจในยุคออนไลน์แบบนี้ด้วย ข้อมูลของผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับธุรกิจ ไปทำความเข้าใจกับ Data Processing กันเลยว่าคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำธุรกิจ

 

Data Processing คือ
Data Processing คืออะไร

 

เรารู้กันอยู่แล้วว่า Data คือข้อมูลที่เป็นข้อมูลดิบ ซึ่งจะต้องถูกนำมาแปลงเป็นข้อมูลที่ใช้งานได้ก่อนที่องค์กรจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูลหรือการประมวลผลข้อมูลที่เรียกว่า Data Processing นั่นเอง มันคือการประมวลผลข้อมูลที่เปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงความต้องการ ครอบคลุมทั้งในส่วนของการเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึก การจัดเก็บ การวางโครงสร้างและการนำข้อมูลมาใช้ เพื่อให้สามารถนำไปประมวลผล ซึ่ง Data Processing นั้นต้องอาศัยทีม Data Science ที่เชี่ยวชาญมาดูแล เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลและมัการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ

 

Data Processing กับการทำธุรกิจ

 

Data Processing นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการจัดการข้อมูล โดยต้องผ่าน 3 ขั้นตอนคือ การนำเข้าข้อมูล (Input) การประมวลผลข้อมูลด้วยมนุษย์หรือซอร์ฟแวร์คอมพิวเตอร์ (Process) และนำส่งข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ (Output) ซึ่งในแต่ละขั้นตอนก็จะมีขั้นตอนที่แยกย่อยแตกต่างกันออกไป ทั้งเครื่องมือที่ใช้หรือรูปแบบข้อมูลที่ต้องการ เช่น การประมวลผลอาจจะต้องมีการคำนวณหรือจัดเรียงลำดับข้อมูลเพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับงานในด้านต่าง ๆ

ดังนั้น Data Processing จึงเป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจต้องทำความเข้าใจ ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหน เพราะในแต่ละวันก็มีข้อมูลเข้ามาในระบบตลอดเวลาที่มีทั้งข้อมูลสำคัญและข้อมูลที่ไม่สำคัญ หากไม่มีการทำ Data Processing เข้ามาช่วยก็อาจจะทำให้เปลืองงบประมาณยิ่งกว่าเดิม และยังเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เข้ามาและซับซ้อนอีกด้วย หากคุณติดตั้งระบบประมวลเองก็อาจต้องใช้เงินลงทุนสูง การจ้างทีมที่สามารถติดตั้งและดูแลระบบได้เลยจะคุ้มกว่า

การทำ Data Processing

ขั้นตอนของการทำ Data Processing

 

  1. รวบรวมข้อมูล

เป็นขั้นตอนแรกสุดเลยก็คือการรวบรวมข้อมูล โดยจะเป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึง Data Lakes หรือข้อมูลทั้งหมดที่มีการนำมาจากต้นทางโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปของข้อมูลและ Data Warehouse หรือข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมเอาไว้เฉพาะข้อมูลที่สัมพันธ์กัน ทั้งหมดทั้งมวลนี้มาจากการเก็บข้อมูลที่ถือว่ามีความน่าเชื่อถือ และสามารถที่จะนำไปประมวลผลต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพสูงสดเท่าที่จะทำได้

  1. เตรียมและคัดกรองข้อมูล

ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาคัดกรองเพื่อเอาเฉพาะข้อมูลที่ดีและเหมาะสมมากที่สุดในการนำไปใช้ในการประมวลในขั้นตอนต่อไป โดยหลังจากที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจะเป็นการจัดเตรียมข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล (Data Processing) ที่จะเป็นการมองหาข้อมูลที่ผิดพลาดหรือเสียหาย และกำจัดข้อมูลเสีย มีความซับซ้อน ขาดหายหรือไม่ถูกต้องให้ออกไป จากนั้นเมื่อล้างข้อมูลดิบและจัดเรียงข้อมูลเสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการจัดเตรียมข้อมูล โดยที่จะต้องมั่นใตแล้วว่าข้อมูลที่คัดไว้เป็นข้อมูลคุณภาพสูง เหมาะต่อการนำไปวิเคราะห์ก่อนจะนำเข้าระบบประมวลผลนั่นเอง

  1. การป้อนข้อมูล

หลังจากที่เราจัดเตรียมและคัดกรองข้อมูลแล้ว ข้อมูลก็จะถูกป้อนไปยังปลายทาง ไม่ว่าจะเป็น CRM หรือคลังข้อมูลอื่น ๆ ก่อนจะแปลเป็นภาษาที่เครื่องสามารถอ่านและเข้าใจได้ โดยรูปแบบของการป้อนข้อมูลนั้นจะเป็นการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เครื่องสแกน หรือแหล่งป้อนแหล่งอื่น

  1. การประมวลผลข้อมูล

หลังจากที่ป้อนข้อมูลแล้วก็จะมาถึงขั้นตอนถัดนั่นก็คือขั้นตอนของ Data Processing โดยระบบจะทำการรันประมวลผลข้อมูลจาการใช้อัลกอริทึมทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในการประมวลผลเป็นหลัก เพื่อสร้างผลลัพธ์ให้ตรงกับความต้องการนั้น ๆ ซึ่งรายละเอียดอาจจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลและวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้งาน

  1. การตีความข้อมูล

พอประมวลผลข้อมูลแล้ว เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ต้องผ่านขั้นตอนการตีความก่อน เพื่อช่วยให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างดี ซึ่งการตีความข้อมูลจะถูกตีความออกมาในรูปแบบของกราฟ เอกสาร รูปภาพ วิดีโอและอื่น ๆ เพื่อให้สามารถอ่าน จัดเก็บ ใช้งานและประมวลผลเพิ่มได้ในครั้งต่อไป

  1. การจัดเก็บข้อมูล

ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วไปใช้ทันทีหรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคตก็ตาม โดบผู้ที่ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลนั้นจะต้องจัดเก็บไว้อย่างเหมาะสมและมีการป้องกันข้อมูลเหล่านั้นเอาไว้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจัยสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลก็คือการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและดึงข้อมูลที่ต้องการมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว



คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก