BCG Model

BCG Model กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยั่งยืนที่ธุรกิจ SME ต้องใช้

Digimusketeers, 30 March 2023

หลายปีที่ผ่านมาสภาพแวดล้อมในประเทศไทยของนั้นเปลี่ยนแปลงทุกปี จากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นและปริมาณฝนตกต่ำลงกว่าค่าปกติ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูงขึ้น ปัญหาทรัพยากรเสื่อมโทรม ขยะล้นเมือง ซึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรรูปแบบเส้นตรง (Linear economy) นอกจากนี้ปัญหาเรื่องของขยะพลาสติก ขยะโฟมและขยะมูลฝอยติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากการสั่งอาหาร สินค้าออนไลน์ ชุดตรวจโควิดและหน้ากากอนามัยในช่วงโควิด-19 ระบาด

จากปัญหาเดิมที่ยังเพิ่มขึ้นไม่หยุด ประเทศไทยยังต้องเจอกับปัญหาทางสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถหลุดออกจากประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ไปสู่ประเทศรายได้สูงได้ จึงเกิดการผลักดันให้วงการธุรกิจ SME น้อยใหญ่ควรใช้โมเดลเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ชื่อว่า BCG Model นี้ให้มากขึ้น BCG Model คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตขึ้นควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นด้วยได้ เพราะอะไร…ไปทำความรู้จักกับ BCG Model กันเลย

 

BCG Model คือ

 

BCG Model คืออะไร ?

 

BCG Model คืออะไร

 

BCG ECONOMY MODEL เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่นำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเสริมจุดแข็งของประเทศเพื่อพลิกฟื้น เศรษฐกิจและสังคม 

ส่วนโมเดลเศรษฐกิจ หรือ BCG Model ก็คือโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 3 มิติ เศรษฐกิจชีวิภาพ (Bioeconomy) ที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้ยาวนานและคุ้มค่าที่สุดและเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อมกัน เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

โดยความหมายของตัวอักษร BCG คือดังต่อไปนี้

B = (Bioeconomy) เศรษฐกิจชีวภาพ

เศรษฐกิจชีวภาพ คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าสูงจากทรัพยากรชีวภาพ เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และวัสดุชีวภาพ โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับภาคการเกษตรและผลผลิต เพื่อสร้างรายได้ ตลอดห่วงโซ่ของการผลิต

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์และบริการจากเศรษฐกิจชีวภาพ

  • อาหารและเครื่องดื่มจากพืช เช่น น้ำนมข้าว น้ำนมถั่วเหลือง น้ำนมอัลมอนด์
  • ยาและเครื่องสำอางจากพืช เช่น สมุนไพร สารสกัดจากพืช
  • วัสดุชีวภาพ เช่น พลาสติกชีวภาพ เส้นใยชีวภาพ
  • พลังงานชีวภาพ เช่น ชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม

C = (Circular economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน

เศรษฐกิจหมุนเวียน คือการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยเน้นการลดการใช้ทรัพยากร การนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิล เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด 

ตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

  • การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อลดขยะ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถซ่อมแซมได้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
  • การใช้วัสดุรีไซเคิล
  • การรีไซเคิลและการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่

G = (Green economy) เศรษฐกิจสีเขียว

เศรษฐกิจสีเขียว คือการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานสะอาด การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการมลพิษ

ตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว

  • การใช้พลังงานสะอาด
  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • การจัดการมลพิษ
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

BCG Model ถือเป็นกลไลที่มีศักยภาพสูงที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนประเทศได้อย่างทั่วถึง สามารถกระจายและโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในบางสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ

 

 

BCG Model สำคัญอย่างไร?

ความสำคัญของ BCG Model สรุปได้ดังนี้

  1. ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างทั่วถึง BCG Model มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการ ทำให้เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
  2. สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำ BCG Model มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยให้ชุมชนเข้มแข็ง ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. สร้างให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลก BCG Model อาศัยความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของประเทศไทยเป็นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าสูง ซึ่งสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

3 องค์ประกอบของ BCG Model

1. เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) : การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรชีวภาพที่เป็นจุดแข็งของประเทศ เช่น การเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มและความหลากหลายทางชีวภาพ

2. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) : การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำและลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุดในทุกภาคส่วน เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์เต็มวงจรชีวิตหรือหมุนเวียนกลับมาใช้

3. เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญเรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น สร้างความยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจก ลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด

BCG Model พัฒนาผ่านเศรษฐกิจอะไรบ้าง ?

จะพัฒนาเศรษฐกิจ 8 สาขาที่จะช่วยเสริมจุดแข็งและยกระดับคุณภาพของประเทศไทยได้ ดังนี้

1. ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 20 ประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลก พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และจุลินทรีย์ เป็นทรัพยากรชีวภาพทรงคุณค่าและเป็นจุดแข็งของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเราตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด โดยมีสิ่งมีชีวิตประมาณ 10% ของชนิดสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่พบบนโลก ซึ่งถือเป็นทรัพยากรชีวภาพที่เป็นต้นทุนพื้นฐานสำคัญของประเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้หลายด้าน เช่น เกษตร การแพทย์ อุตสาหกรรม หรือสิ่งแวดล้อม 

2. เกษตร

การพัฒนาทางด้านการเกษตรผ่าน BCG Model คือการปรับเปลี่ยนภาคเกษตรไทยไปสู่ 3 สูง ประสิทธิภาพสูง ด้วยเทคเทคโนโลยีและนวัตกรรมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูง ด้วยระบบการผลิตที่ยั่งยืนครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย โภชนาการ สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อทำให้การเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูง ด้วยการผลิตสินค้าเกษตรพรีเมียม มีอัตลักษณ์ หลากหลายและสามารถกำหนดราคาขายได้ตามคุณภาพของผู้ผลิต 

3. อาหาร

การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยภายใต้โครงสร้าง BCG Model คือการสร้างความมั่นคงทางอาหาร มีอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังสามารถตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ได้ด้วย

4. ยาและวัคซีน

ช่วยส่งเสริมธรุกิจและบริการทางด้านยาและวัคซีนที่ดำเนินการโดยคนไทย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้วยการค้นคว้า วิจัย พัฒนาและผลิตจากในประเทศไทยเอง พร้อมกับลดการนำเข้ายาและวัคซีนจากต่างประเทศให้น้อยลง

5. เครื่องมือแพทย์

เน้นไปที่การผลิตแทนการนำเข้า โดยสร้างความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและบริการทางการแพทย์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น

6. พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ

เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและชีวมวลเพื่อนำไปสู่ความมั่งคงทางด้านพลังงาน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาเป็นวัสดุหรือสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

7. ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ใช้จุดแข็งทางธรรมชาติของประเทศไทย วัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพมาสร้างอัตลักษณ์ให้เมืองไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวคุณภาพอย่างยั่งยืน

8. เศรษฐกิจหมุนเวียน

BCG Model จะเน้นออกแบบเพื่อการปรับตัวระยะยาว โดยอนุรักษ์และเพิ่มการใช้ประโยชน์ต้นทุนทางธรรมชาติ ด้วยการควบคุมทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดและใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้สมดุลมากขึ้น ผ่านการนำมาใช้ใหม่ หรือแลกเปลี่ยนกันที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม อีกทั้งยังเกิดโอกาสใหม่ ๆ ทางด้านธุรกิจและเศรษฐศาสตร์

 

BCG Model

 

BCG Model กับธุรกิจ SME ที่ไม่ควรมองข้าม

รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เผยว่า จากการสำรวจของแบงก์ใน SME 500 รายทั่วประเทศเกี่ยวกับ BCG Model พบว่า SME 27.9% รับรู้เรื่องนโยบาย BCG Model มี 14.2% ที่เข้าใจนโยบายนี้และมีเพียง 3.2% เท่านั้นที่นำนโยบายมาใช้จริง ซึ่งสิ่งที่ SME ต้องการการสนับสนุนเพื่อนำ BCG Model มาใช้ในธุรกิจนั้นมี 3 เรื่องหลัก ๆ คือ ต้องการผู้เชี่ยวชาญ 73.24% สิทธิประโยชน์ทางภาษี 67.61% และเงินทุนสนับสนุนในช่วงเริ่มต้นในแบบร่วมจ่าย (Co-payment) 61.97% แปลว่าหากภาครัฐได้ตั้ง เป็นยโนบายหลักในการดำเนินธุรกิจของประเทศไทย ภาครัฐเองก็อาจจะต้องเข้ามามีส่วนช่วยมากกว่านี้หรือเปล่า จึงจะทำให้บรรดา SME ทั้งหลายยอมเปิดใจกับ BCG Model ง่ายมากขึ้น

SME หลายรายได้นำแนวคิด BCG Model ไปใช้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจ BCG Model นำของเสียที่เกิดขึ้นไปปรับเปลี่ยนให้สามารถนำไปสร้างมูลค่าทางธุรกิจต่อได้จนพูดได้ว่านี่คือเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจของตนเองยืนได้ด้วยขาของตัวเอง ซึ่งแนวคิดนี้ อาจเป็นทางเลือกที่ดีแบบใหม่ในการดำเนินธุรกิจ เพียงแค่จะนำไปปรับใช้แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองมากกว่า

SME ควรปรับตัวสอดรับ BCG Model ตอนไหน ?

 

BCG Model ควรปรับอย่างไร

 

กฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า หากผู้ประกอบการ SME มองว่านี่เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ควรมองข้ามก็หาวิธีปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อปรับตัวให้ได้ก่อน แต่ถ้าผู้ประกอบ SME คนไหนยังคิดว่า BCG Model ยังเป็นเรื่องที่รอได้ เพราะยังมาไม่ถึงธุรกิจตัวเอง อาจจะทำให้ปรับตัวได้ช้าหรือไม่ทันกับตลาดโลกก็ได้ เพราะตอนนี้ทาง EU ได้ออกมตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2566 นี้ ซึ่งสุดท้ายมันก็จะมีแรงผลักดันเรื่องกฎหมาย โดยเฉพาะในประเทศยุโรปหรืออเมริกาที่มีเรื่องภาษีคาร์บอนมาบังคับใช้ที่จะส่งผลกระทบกับบริษัทใหญ่ ๆ ในไทยด้วย จากนั้นจะมีบริษัทใหญ่ก็จะมาบังคับให้คู่ค้าที่เป็น SME ต้องทำตามเงื่อนไข

ทางรองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการที่อยากปรับเปลี่ยนธุรกิจสอดรับกับ BCG Model อยู่ 4 เรื่องดังนี้

1. ปรับ mindset ในการนำเอา BCG Model มาใช้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือธุรกิจสีเขียวมาใช้ ซึ่งจะสามารถนำไปต่อยอดแนวคิดในการธุรกิจต่อไปได้อีกมากมาย

2. ปรับรูปแบบธุรกิจใหม่โดบใช้แนวทาง ESG ธุรกิจจะอยู่รอดได้ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อไปต่อยอดกับการเปิดตลาดใหม่ ๆ

3. ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่ให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามานำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงาน ปรับตัวให้ทันต่อบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปเร็ว 

4. มีความสมดุลของสุขภาพธุรกิจ แนะนำให้ผู้ประกอบการมีแหล่งเงินทุนหลาย ๆ ทางเลือกเข้าไว้จะดีกว่า

 

 

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก:

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2557365

https://www.bcg.in.th

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก